วิศวะ มช.ร่วมพัฒนาพื้นที่ห่างไกล ณ โรงเรียนล่องแพวิทยา ร่วมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี มีไฟฟ้า ปลอด PM 2.5

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรม ณ โรงเรียนล่องแพวิทยา ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่วยเพิ่มพื้นที่ safety zone ปลอดฝุ่น PM 2.5 และช่วยปรับปรุงความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าในบริเวณโรงเรียน โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการจากพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่าโรงเรียนล่องแพวิทยาเป็นโรงเรียนที่มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลในบริเวณรอยต่อของ 3 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ต้องใช้เวลานานอย่างมากในการเดินทาง จึงทำให้หลายครั้งประสบปัญหาในการพัฒนาพื้นที่หลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือระบบไฟฟ้าที่ไม่สามารถใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าได้ เนื่องจากติดบริเวณพื้นที่อุทยาน จึงต้องใช้พลังงานทดแทนจากน้ำและแสงอาทิตย์ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และระบบไฟฟ้าภายในโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกอาคารหลาย ๆ ส่วนใหญ่ค่อนข้างเก่า มีความเสื่อมสภาพจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรและส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้เข้าไปปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงเรียน ทั้งหมด 23 อาคารด้วยงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัย และสอดรับการกับใช้งานร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระทรวงพลังงานจะเข้ามาติดตั้งเพิ่มเติมต่อไปอีกด้วย

และด้วยปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือที่เกิดจากการเผาช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีค่าสูงมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคณะครูและนักเรียนในระยะยาว โรงเรียนล่องแพวิทยาเป็นพื้นที่ที่บุคคลากร ครู นักเรียนใช้เป็นทั้งที่เรียนหนังสือและอยู่อาศัยเป็นหอพัก ดังนั้นการสร้างพื้นที่ปลอดฝุ่นจึงจำเป็นอย่างมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ติดตั้งเครื่องกรองฝุ่น ด้วยระบบผลิตอากาศสะอาด Positive Pressure จำนวน 37 เครื่อง ในตัวอาคารอนุบาลและหอพัก เพื่อปรับสภาพอากาศ และรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพื่อบรรเทาปัญหา ช่วยให้คุณภาพชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ การลงพื้นที่จะไม่มีความยั่งยืนเกิดขึ้นเลยหากปราศจากการมอบความรู้ เพิ่มทักษะความสามารถให้แก่คนในท้องที่ได้นำกลับไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดแผนการจัดอบรมให้ความรู้เเรื่องการดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ แก่นักเรียน และบุคลากร ให้ดูแล รักษา ซ่อมแซมได้เองเบื้องต้น พร้อมพัฒนาทักษะวิชาชีพไปในตัว เพื่อที่ว่าความรู้นี้จะติดตัว และสามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปี 2566 ไทยมีคุณภาพอากาศแย่ติด 1 ใน 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2566 ของ IQAir ระบุว่าประเทศไทยมีคุณภาพอากาศในระดับที่แย่เป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน