ตามที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวว่า ปัญหาการวินิจฉัยว่ารัฐวิสาหกิจมิใช่หน่วยงานของทางราชการที่ดำเนินงานโดยทางราชการเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ นั้น สมควรที่รัฐวิสาหกิจจะได้รวมตัวกันขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยใหม่ให้ชัดเจนและกว้างขึ้น เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถขยายและพัฒนากิจการได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจากกฎหมายของหน่วยงานภาครัฐเป็นกฎหมายซึ่งมีศักดิ์เหนือกว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา นั้น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเรียนชี้แจงว่า การให้ความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นที่มีการหารือและตามบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีข้อสังเกตว่า สมควรมีการทบทวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจทุกฉบับเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงให้เหมาะแก่กาลสมัยตามมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ ก็จะเป็นการพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งได้อย่างเป็นรูปธรรม
จึงเรียนมาเพื่อทราบทั่วกัน
นายนพดล เภรีฤกษ์
โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ตามที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550
กุญแจสำคัญสู่ความรู้ด้านกฎหมายปกครอง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้ตราขึ้น โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการดำเนินงานทางปกครองให้เป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรม มีประสิทธิภาพ
ก้าวสำคัญของกฎหมายที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“Better Regulation for Better Life” หรือพัฒนาให้ดีเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นวิสัยทัศน์ของสำนักงานฯ ที่ได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานไปสู่ปี 2025
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
นอกจากรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งมีการวางหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว กฎหมายหลายฉบับโดยเฉพาะกฎหมายกลางต่าง ๆ อาทิ
การประชุมความร่วมมือทางด้านกฎหมายระหว่างกระทรวงร่างกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี (Ministry of Government Legislation (MOLEG)) กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกองกฎหมายต่างประเทศ ร่วมกับกองพัฒนากฎหมาย กองหลักนิติบัญญัติ
แนวคิดในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
โดยที่พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีหลักการบางประการที่ยังขาดความชัดเจน ไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป