28 พ.ค.2567 - มีการเผยแพร่บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับให้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)ออกจากราชการไว้ก่อน หลังจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจหารือว่า นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกอบกับข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ โดยนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจ รายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใดนั้น
คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน ได้พิจารณาข้อหารือของสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีตามข้อหารือนี้ โดย สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว ตามมาตรา 106 มาตรา 108 มาตรา 119 และมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565ในวันเดียวกันกับวันที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว ออกจากราชการไว้ก่อน นอกจากนี้ ปรากฎข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามคำชี้แจงของผู้แทนสำนักเลขาธิการว่าข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจแล้ว
คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 2พิจารณาข้อหารือและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมดังกล่าวแล้วเห็นว่า ข้อหารือนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า เมื่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ต้ามมาตรา 140วรรคหนึ่ง และมาตรา 179แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ประกอบกับข้อ11 แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547 หรือไม่ และจะต้องดำเนินการเมื่อใด
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 2 เห็นว่า มาตรา 131 " วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565บัญญัติให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาหรือถูกฟ้องคดีอาญา ออกจากราชการไว้ก่อน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดในกฏ ก.ตร. ซึ่งปัจจุบัน ก.ตร. ยังไม่ได้ออกกฎ ก.ตร. ในเรื่องดังกล่าว แต่มาตรา179แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ได้บัญญัติรองรับไว้ว่า ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎ ก.ตร. ให้นำกฎ ก.ตร. ซึ่งใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ พระราชบัญญัตินี้ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินการเกี่ยวกับการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงต้องดำเนินการตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน พ.ศ.2547 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547และใช้บังคับอยู่เดิมต่อไป เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ2565
กรณี จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า ข้อ11" แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่งพักราชการ และการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน ให้ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 หรือไม่ ซึ่งมีความเห็นว่า เมื่อมาตรา14 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 บัญญัติหลักการเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้ บัญชาการตำรวจแห่ งชาติ ว่า จะต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษ ซึ่งส่งผลให้การสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อน เพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาทางวินัย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ จะไม่ต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง ตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง เนื่องจากมิใช่การพ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุ หรือพ้นจาก ราชการเพราะถูกลงโทษ ด้วยเหตุที่ การออกจากราชการไว้ก่อนมิใช่โทษทางวินัยตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565
จึงเห็นว่า ข้อ 11 " แห่งกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสั่ง พักราชการและการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนฯ มิได้ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ดังนั้น ในการสั่งให้ข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อหารือนี้จึงต้องดำเนินการตามข้อ 11 แห่งกฎ ก.ตร. ดังกล่าว กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีจะต้องนำความกราบบังคับทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับกรอบระยะเวลาที่จะต้องนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งนั้น เมื่อพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ไม่ได้บัญญัติระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการในกรณีนี้ไว้ จึงเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีที่จะต้อง พิจารณาดำเนินการด้วยความรอบคอบภายในระยะเวลาอันเหมาะสมตามควรแก่กรณีต่อไป
อนึ่ง คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 2 มีข้อสังเกตว่า ในการนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ข้าราชการตำรวจรายใดพ้นจากตำแหน่งนั้น โดยที่นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของการสั่งให้ข้าราชการรายดังกล่าวออกจากราชการไว้ก่อนอย่างรอบคอบให้เป็นที่ยุติเสียก่อน เมื่อในกรณีนี้ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ที่ใช้บังคับในปัจจุบัน
มีผลเป็นการปรับปรุงบทบัญญัติขึ้นใหม่จากที่เคยบัญญัติไว้แต่เดิมในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 หลายประการ โดยมีเจตนารมณ์สำคัญเพื่อให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจเป็นไปตาม หลักนิติธรรมและเกิดความเป็นธรรม
ดังจะเห็นได้จากคำปรารภของพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 และมาตรา 60 ที่ได้บัญญัติหลักการใหม่ให้การจัดระเบียบข้าราชการตำรวจคำนึงถึง ระบบคุณธรรม มาตรา 6 (4) บัญญัติให้การดำเนินการทางวินัยต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ รวมทั้งการบัญญัติให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม และพิจารณาเรื่องร้องเรียน ประกอบกับมาตรา 120 วรรคสี่ ได้เพิ่มหลักการใหม่นอกเหนือจาก มาตรา 131 วรรคหนึ่ง" โดยบัญญัติว่า ในระหว่างการสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวน มาเป็นข้ออ้างให้กระทบสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาจะสั่งพักราชการหรือ สั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในกรณีนี้คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมีขึ้นในวันเดียวกันกับวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการไว้ก่อนและการสอบสวนย่อมเป็นการกระทบสิทธิหลายประการของผู้ถูกสอบสวน
กรณีจึงเห็นได้ว่าการสั่งให้ข้าราชการตำรวจรายนี้ออกจากราชการไว้ก่อน หากเป็นการปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นย่อมจะทำให้การพิจารณาเหตุแห่งการกระทบสิทธิของผู้นั้นและความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการไว้ก่อนชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมายและเป็นธรรมกับผู้ถูกสอบสวนและนำความขึ้นกราบบังคมทูลตามมาตรา 140 วรรคหนึ่ง ย่อมเป็นไปได้ด้วยความชอบธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลูกชายคลั่งยาบ้าบีบคอพ่อ โดนแทงสวนดับคาบ้าน
ร.ต.ท.ทศพล ยศศรีใจ รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางปู รับแจ้งเหตุฆ่ากันตาย ในบ้านพักภายในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
ยังไร้เงา 'หยาง เจ๋อ ฉี' นายแบบจีน หลัง 'ผู้การติ๊บ' ประสานประเทศเพื่อนบ้าน
จากกรณีที่ทนายความของนายหยาง ไห่ เทา พ่อของนายหยาง เจ๋อ ฉี นายแบบชาวจีน ไปยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ช่วยเร่งรัดติดตามตัวลูกชาย
เสริมกำลังชายแดน-ตั้ง 'ฉก.โดรน' แง้มแผน ทบ. สกัดกั้นภัยคุกคาม
เป้าหมายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ขจัดปัญหาภัยคุกคามด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แรงงานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
แล้วกัน 'บิ๊กอ้วน' รับเดินตามเกมกลุ่มก่อความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้!
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเหตุระเบิดที่ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี และเหตุระเบิดล่าสุดที่ อ
ป.ป.ง. แจ้งความเอาผิด 'โจ๊ก' พร้อมภรรยา ใช้บัญชีม้าเว็บพนันจ่ายเบี้ยประกันชีวิต
พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. เปิดเผยว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้มีการตรวจสอบพบว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)