กรมส่งเสริมการเกษตรหนุนเกษตรกรใช้วิธีคลุมดินรักษาความชื้นหน้าดินในฤดูแล้ง

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพอากาศในประเทศไทยมีสภาพร้อนแล้งและอบอ้าวมากขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตรในทุกภูมิภาค เนื่องจากพืชทุกชนิดต้องการน้ำและธาตุอาหารในการเจริญเติบโต ดังนั้นเกษตรกรรุ่นใหม่หลายคนจึงนิยมใช้วิธีรักษาความชื้นในหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดินมีความแห้งจนเกินไป และหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากคือการคลุมดิน หรือ ห่มดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในการทำการเกษตร เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ ทางมะพร้าว หรือทางใบปาล์ม เพื่อให้หน้าดินไม่แห้ง และรักษาความชื้นได้นาน จนเกิดการย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า หนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ทางใบปาล์มคลุมดินในพื้นที่ภาคใต้ คือนายโสฬส เดชมณี เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์ม ในตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้ใช้ทางใบปาล์มที่ถูกตัดในสวนมาใช้คลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน จนเกิดการย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน มีบทบาทสำคัญต่อการหมุนเวียนธาตุอาหาร และจะค่อย ๆ ปลดปล่อยให้กับพืช ทำให้พืชใช้ธาตุอาหารได้ในระยะยาว ช่วยให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชได้มากขึ้น ไม่ถูกชะล้าง และลดการสูญเสียของธาตุอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

“อยากให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการคลุมดิน ซึ่งสามารถใช้วัสดุจากการทำเกษตรได้หลายอย่าง เพราะนอกจากจะรักษาความชื้นในดินให้ได้นานแล้ว ยังป้องกันการเกิดวัชพืชได้อีกด้วย เนื่องจากเมื่อวัชพืชไม่ได้รับแสง ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นหากเกษตรกรใช้วิธีคลุมหน้าดินจากวัสดุเหลือใช้ในการทำการเกษตร ก็สามารถลดค่าปุ๋ย และค่ากำจัดวัชพืชได้ไปในตัว โดยไม่ได้ลงทุนเพิ่ม แค่รู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมภายในสวน หรือแปลงเกษตร ก็สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี”นายรพีทัศน์ กล่าว

ด้านนายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ในตำบลศรีวิชัย กล่าวถึงรายละเอียดในการใช้ทางใบปาล์มคลุมดินว่า จะตัดทางใบปาล์มรอบใหญ่ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้วิธีวางทางใบแบบเต็มพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ราบ และวางทางใบขวางระหว่างแถวปาล์มบริเวณที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินโดยจะนำโคนทางใบกองรวมกันไว้ระหว่างแถวต้นปาล์ม แล้วใช้เฉพาะส่วนที่เป็นใบปาล์มปูให้เต็มพื้นที่ หรือปรับเปลี่ยนวิธีการวางทางใบปาล์มได้ตามสภาพพื้นที่และความเหมาะสมในสวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สิ้นสุดฤดูแล้ง 30 เม.ย. รองโฆษกฯ เผยสถานการณ์น้ำภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี

​'คารม' เผยสถานการณ์น้ำภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีจำนวน 55% ของความจุเก็บกัก หรือปริมาณ 45,940 ล้าน ลบ.ม ระบุประเทศไทยสิ้นสุดฤดูแล้ง 30 เม.ย นี้

กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี

กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนต้นพันธุ์เบญจมาศสะอาด ส่งเสริมสมาชิกแปลงใหญ่ จ.อุบลฯ

แปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด จ.อุบลราชธานี ขยายพื้นที่ปลูกเบญจมาศมากขึ้น หลังตลาดอีสานขยายตัว ทำให้ต้องการต้นพันธุ์ดีจำนวนมาก ด้านกรมส่งเสริมการเกษตรโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5

ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลโรงเข้ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ

กรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศรายชื่อศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2566 โดย ศจช. ตำบลโรงเข้ จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ศจช. ดีเด่น

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมยินดี ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนนาหนองไผ่คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ

กรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศรายชื่อศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2566 โดย ศดปช. ตำบลนาหนองไผ่ จ.สุรินทร์ ได้รางวัลดีเด่นระดับประเทศ รับเงินรางวัล 50,000 บาท

แปลงใหญ่ข้าวศรีดอนมูลเตรียมยกระดับเป็นศูนย์ผลผลิตและจำหน่ายเมล็ดข้าวคุณภาพครบวงจร

กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนแปลงใหญ่ข้าวศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล จังหวัดเชียงราย ใช้เครื่องจักรการเกษตรลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพ แปรรูป และลดเวลาทำงาน พร้อมอัดฟางก้อนขาย และใช้ประโยชน์ด้านเกษตร