GPSC - Meranti ร่วมศึกษาการใช้พลังงานสะอาด เสริมด้วยไฮโดรเจนสีเขียว ป้อนโรงงานผลิตเหล็ก มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซ CO2

GPSC - Meranti ลงนามร่วมศึกษาพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด ป้อนโรงงานผลิตเหล็ก คาดใช้ไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ มุ่งเน้นทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และการใช้พลังงานไฮโดรเจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเหล็กคุณภาพสูง มุ่งสู่การเป็นโรงเหล็กสีเขียวแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมอุตสาหกรรม และ จีดีพีของประเทศ พร้อมศึกษาจัดตั้งบริษัทฯ ร่วมทุนด้านพลังงานในระยะยาว

นางรสยา เธียรวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์
ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า วันนี้ (14 มิถุนายน 2566) GPSC ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท มีเรนติ สตีล จำกัด (Meranti Steel Pte.Ltd.)ผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของประเทศสิงคโปร์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด และระบบบริหารจัดการด้านพลังงานเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเหล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย Meranti มีแผนที่จะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตเหล็กคุณภาพสูงในไทย เน้นใช้พลังงานสะอาด ทั้งในกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม โดยคาดว่าจะมีความต้องการในการใช้ไฟฟ้าประมาณ 150 เมกะวัตต์

“นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญของ GPSC และ Meranti ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมพลังงาน ที่มีการผสมผสานการใช้พลังงานหมุนเวียน และการนำพลังงานด้านไฮโดรเจนซึ่งเป็นเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคตมาเพิ่มประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุดสำหรับความร่วมมือในครั้งนี้กำหนดแผนการศึกษาโดยใช้ระยะเวลา 2 ปี และสามารถขยายได้อีก 1 ปี โดย GPSC จะเป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการและการพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดเพื่อให้การบริหารต้นทุนด้านพลังงานสามารถแข่งขันได้ในระยะยาว รวมถึงการพัฒนาโซลูชั่นด้านพลังงานที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่ายโดยในขั้นตอนการศึกษาของโครงการดังกล่าว ยังรวมไปถึงการพัฒนาความร่วมมือจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในอนาคตอีกด้วย” นางรสยากล่าว

มร. เซบาสเตียน แลนเกนดอร์ฟ (Mr. Sebastian Langendorf) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเรนติ สตีล จำกัด กล่าวว่า เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับ GPSC ผู้นำในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ในการดำเนินโครงการแห่งแรกในครั้งนี้ โดยมุ่งหวังสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทย ที่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทมีแผนในการจัดตั้งโรงงานเหล็กในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยจะมีการจัดตั้งโรงงานขนาดกำลังผลิต 2 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในครึ่งปีหลังของปี 2570 ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ประกอบกับแนวคิดนวัตกรรมพลังงานและการจัดการความยั่งยืน จะส่งผลให้โรงเหล็กแห่งนี้ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3 ล้านตันต่อปีเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สยามเทคโนโพล' เผย คนไทยส่วนใหญ่สนใจติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เหตุช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า

ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา นักวิชาการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ร่วมกับ อาจารย์วงศกร อยู่มาก หัวหน้าสาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และ ดร.ธนเสฏฐ์ อัคคัญญ์ภูดิส อาจารย์ประจำสำนักวิจัยสยามเทคโนโพล เปิดเผย ผลสำรวจเรื่อง ประชาชนสนใจโซลาร์เซลล์

DAD ศึกษาปั้น “พลังงานสะอาด” เพิ่มทางเลือกป้อนศูนย์ราชการฯ

DAD เตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ “ก๊าซไฮโดรเจน” ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ขยายผลจากพลังงานแสงอาทิตย์ หวังความคุ้มค่าในระยะยาว

ตีปี๊บแต่ไก่โห่! เศรษฐาชูผลงานประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย

นายกฯ สรุปผลสำเร็จการเดินทางร่วมประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย ไทยผลักดันความเชื่อมโยง และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และสัญญาจะร่วมมือกับภูมิภาค

มช. เปลี่ยนการเผาเป็นพลังงานสะอาด พัฒนาชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้ถ่านหิน ลดมลพิษ เพิ่มโอกาสแก่ชุมชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสาธิตวิธีการใช้เครื่องต้นแบบ Torrefactor และ Pyrolyzer นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์