“ศุภมาส” หนุนอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ สร้างผู้ประกอบการเชื่อมระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อม พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.กระทรวง อว. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ โดยมี รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ และคณะผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานให้การต้อนรับ โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ นำผลงานมาจัดแสดง โดยนางสาวศุภมาส ให้ความสนใจเดินชมและพูดคุยกับผู้ประกอบการอย่างเป็นกันเองพร้อมกับสนับสนุนผลิตภัณฑ์ สร้างความประทับใจให้กับผู้ประกอบการที่มาต้อนรับ

ผศ.คำรณ กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ มีภารกิจหลักที่สำคัญ คือ การสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการหรือภาคเอกชน โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนผลักดันผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ที่ผ่านมา อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ภายใต้การดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้ให้ความสำคัญและพัฒนาผู้ประกอบการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคใต้และของประเทศไทย โดยการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมยางพารารุ่นใหม่ โดยเน้นเรื่องของความยั่งยืนและเน้นทำตลาดโลก พร้อมทำวิจัยร่วมกับเอกชนขนาดใหญ่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพารา นอกจากนี้ ก็ให้ความสำคัญและพัฒนาผู้ประกอบการฮาลาลมาโดยตลอด ผ่านระบบและกลไกหลักของอุทยานวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เช่น โครงการสร้างผู้ประกอบการมุสลิมรุ่นใหม่ โดยดึงอัตลักษณ์จากผลิตภัณฑ์ บริการ และอุตสาหกรรมเด่นในพื้นถิ่นมาพัฒนาให้มีความพร้อมผ่านการวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โครงการ Islamic Art ศิลปะอิสลาม สุนทรียะ เสน่ห์ และแรงบันดาลใจ เพื่อพัฒนาและให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ นักออกแบบ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ “ศิลปะอิสลาม” ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์

“อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฮาลาลของประเทศ โดยในปี 2567 จะมุ่งเน้นการขับเคลื่อน “อุตสาหกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก” เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการฮาลาลที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก” ผศ.คำรณ กล่าว

ด้านนางสาวศุภมาส กล่าวว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้ มีจุดเด่นเรื่องของการเชื่อมโยงอัตลักษณ์พื้นที่ โดยเฉพาะอย่างอย่างการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ยางพารา และมีการส่งเสริมนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฮาลาล รวมถึงมีการส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และทางรัฐบาลก็มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกิดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่การเป็นประตูเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง และการค้าของประเทศ ซึ่งอุทยานวิทยาศาสตร์ จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บนฐานนวัตกรรม และกลไกสำคัญในการพัฒนา หลังจากนี้ตนจะผลักดันอย่างเต็มที่ ให้อุทยานวิทยาศาสตร์มีบทบาทนำในการจัดทำแผนพัฒนาระเบียงระเบียงเศรษฐกิจในภาคใต้และภาคอื่น เพื่อกระจายความเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความเลื่อมล้ำ สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยในทุกพื้นที่และตนจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยในเดือน ธ.ค.นี้จะไปอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ

เมื่อ 25 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่

“ศุภมาส” จับมือเยอรมนีลงนามปฏิญญายกระดับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของ 2 ประเทศครอบคลุม 10 กิจกรรม

เมื่อวันที่ 24 เม.ย.น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี