ประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ยกวาระสุขภาพสู่ระดับโลก

มิติสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีการเปลี่ยนแปลงก้าวตามโลกสังคมเทคโนโลยี ทั้งนี้ เห็นได้จากสถานการณ์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะโรคโควิด-19 และยังต้องโฟกัสกับสภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นโลกเดือด นอกจากนี้ ยังถูกเร่งเร้าให้ใช้ Digital Technology   อีกทั้งปัญหาข่าวลวงข่าวปลอมในโลกดิจิทัล

การปรับเปลี่ยนของสังคมโลก ทำให้นักวิชาการด้านการสร้างเสริมสุขภาพไม่อาจจะยืนย่ำอยู่ที่เดิม แต่จำเป็นต้องปรับตัวทุกการเปลี่ยนแปลงที่มีการคุกคาม ส่งผลให้วิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ของคนก็ต้องเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการรับมือกับสังคมที่มีการแบ่งขั้วแบ่งค่ายกันอย่างชัดเจน มีพื้นที่เฉพาะกลุ่มของตัวเอง ช่องว่างระหว่างอายุของคนในครอบครัวมีมากขึ้น ทุกฝ่ายจำเป็นต้องปรับตัว

ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (The International Network of Health Promotion Foundations-INHPF) ร่วมประกาศ “ปฏิญญากรุงเทพฯ  (INHPF Bangkok Declaration)”  ในการประชุมเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 The 20th International Network of Health Promotion Foundations  (INHPF) Annual Meeting 2023  โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 10 ประเทศ ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเครือข่าย INHPF ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ยกระดับสร้างเสริมสุขภาพมุ่งสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม ซึ่งเรียกร้องให้องค์กรสมาชิกของเครือข่ายฯ ระดมทรัพยากรขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานสร้างเสริมสุขภาพอย่างเพียงพอและยั่งยืน สร้างความตระหนักรู้ถึงปัจจัยกำหนดสุขภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลง รวบรวมแนวปฏิบัติการเรียนรู้ร่วมกัน สร้างเสริมความรู้เท่าทันด้านดิจิทัล และเพิ่มโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลสุขภาพ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเปราะบาง ส่งเสริมความโปร่งใส ความรับผิดชอบ สร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนสานพลังความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและระหว่างประเทศ

ปฏิญญาฯ เสนอข้อเรียกร้องต่อองค์กรภายใต้สหประชาชาติให้ร่วมสนับสนุนความพยายามในการระดมทรัพยากรและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งของธรรมาภิบาลด้านสุขภาวะที่เอื้อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังเชิญชวนให้รัฐบาลประเทศต่างๆ พัฒนาแผนงานด้านสุขภาวะแบบบูรณาการ ผลักดันกฎหมาย สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างและขยายระบบสวัสดิการสังคม เร่งสร้างความก้าวหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมายโลกด้านสุขภาพ ท้ายที่สุด ปฏิญญาฯ ยังกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ส่งเสริมและขยายเครือข่ายพหุภาคี ประสานการดำเนินการข้ามภาคส่วน และส่งเสริมกลไกการเงินการคลังที่ยั่งยืนเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะในทุกระดับที่เป็นธรรมอีกด้วย

สสส.เป็นเจ้าภาพจัดประชุมเครือข่ายทั่วโลก ได้ประโยชน์ในการเรียนรู้ถึงการทำงานของประเทศอื่นๆ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประเทศสิงคโปร์ ไต้หวัน มีความก้าวหน้ากว่าไทย ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ก็สนใจแนวโฆษณาของไทย มีการ workshop Social Margeting ทั้งนี้  ประเทศสิงคโปร์สนใจที่เมืองไทยเก็บกาษีน้ำตาลได้สำเร็จ และกำลังผลักดันเก็บภาษีความเค็ม   ประเทศลาวจัดตั้ง สสส.ได้สำเร็จ แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเก็บขึ้นภาษีจากบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศลาว ทำให้ติดขัดในข้อกฎหมาย

นพ.อเลสซานโดร ดีเมโย ประธานเครือข่าย  INHPF และผู้จัดการกองทุน สสส.  แห่งรัฐวิกตอเรีย ออสเตรเลีย กล่าวว่า แนวทางนวัตกรรมที่ได้รับจากการประชุมครั้งนี้ มาจากสมาชิกเครือข่ายฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน โดยเฉพาะแนวทางการรณรงค์สังคมต่างๆ ของ สสส. ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ  การลดการบริโภคสุราและยาสูบ ในส่วนของออสเตรเลียในการลดการสูบบุหรี่ ได้เรียนรู้แนวคิดและการทำงานจาก สสส. และได้นำประสบการณ์การทำงานของไทยมาประยุกต์ใช้กับออสเตรเลีย นอกจากนี้ การที่เครือข่าย INHPF ได้ประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญากรุงเทพฯ ถือเป็นการตอกย้ำความร่วมมือระหว่าง 8 องค์กรสมาชิกจาก 6 ประเทศ เพื่อประกาศจุดยืนของเครือข่ายฯ ในการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเท่าเทียม

“รัฐวิกตอเรีย ออสเตรเลีย เป็นประเทศแห่งแรกของโลกที่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาษียาสูบ  ทำงานกับภาคพาณิชย์ ตระหนักถึงพิษภัยของยาสูบส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะนี้ 14 ปีที่บุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในชีวิต นักสูบหน้าใหม่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากถึง 3 เท่ากว่าบุหรี่ธรรมดา คนอายุน้อยไม่เคยสูบบุหรี่มวนมาก่อน การใช้บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ปอด หลอดเลือด หัวใจ อีกทั้งมีหลายรสชาติทำให้นักสูบหน้าใหม่อยากทดลอง การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้โอกาสที่มีอยู่สร้างความตระหนักรู้ จัดทำเป็นวีดิทัศน์อธิบายให้เด็กเข้าใจ คนที่เป็นภาคีสาธารณสุขได้สื่อสารถึงชุมชน”

นางสาวโอฟีนา ฟิลิโมเอฮาลา ผู้จัดการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งตองกา  (TongaHealth) แสดงความรู้สึกว่า เป็นเกียรติที่ได้เข้าร่วมประชุมสำคัญนี้ที่ประเทศไทย ในฐานะสมาชิกทาง TongaHealth พร้อมสนับสนุนทุกกิจกรรมของเครือข่ายฯ ทั้งนี้  TongaHealth เป็นองค์กรเล็กๆ จากประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก จะได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางใหม่ๆ และวิธีการจัดการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ NCDs ที่นับเป็นปัญหาใหญ่ของตองกา โดย TongaHealth มองสสส.เหมือนเป็นองค์กรรุ่นพี่ ที่คอยสนับสนุนด้านองค์ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์อยู่เสมอ ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือจาก สสส.ไทยด้านการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยง NCDs และด้านนวัตกรรมการเงินการคลัง นำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ประเทศตองกาเป็นประเทศเล็กๆ มีประชากรเพียง 1 แสนคน มองจากแผนที่โลกแทบไม่เห็น ผู้ใหญ่ 8 ใน 10 มีน้ำหนักเกิน ถ้าเราต้องบอกต่อคนอื่นให้ดูแลสุขภาพ ดูจะเป็นเรื่องขัดแย้งกับคำพูด เรามีเจ้าหน้าที่ สสส.เพียง 10 กว่าคน มีนักสื่อสารคนเดียว เรามีหมู่เกาะมากเป็นร้อยเกาะ การติดต่อสื่อสารแต่ละเกาะจึงเป็นเรื่องท้าทายเพราะอยู่ห่างไกลกัน บางเกาะใช้เวลาเดินทาง 23ชั่วโมง การติดต่อทางอินเทอร์เน็ตสะดุด เราติดต่อสื่อสารได้ 5 เกาะที่จัดตั้ง สสส. ส่วนใหญ่และประชาชนตองกาเป็นกลุ่มเปราะบาง ป่วยเป็นโรค NCDs ต้องใช้ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหา ให้เกิดความตระหนักรู้ ขณะนี้ประเทศซามัวอยู่ใกล้กับประเทศตองกา อยู่ในกลุ่มประเทศแปซิฟิกตอนใต้ มีความสนใจจะจัดตั้ง สสส. หวังว่าในอนาคตจะได้ทำงานร่วมกัน”

นายมาร์ค ทัวฮี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งแคว้น ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย - Health and Well-being Queensland,  Australia เปิดเผยว่า กองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งแคว้นควีนส์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2562 โดยเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นโดยมุ่งเน้นเรื่องการป้องกันโรคอ้วนด้วยภาวะโภชนาการที่ดี  การออกกำลังกาย และการพัฒนาสุขภาวะในภาพรวม เพื่อลดภาระของระบบสาธารณสุข ด้วยการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคร้ายแรงต่างๆ โดยได้รับแรงบันดาลใจและได้ต้นแบบมาจาก สสส. ไทย และองค์กรสมาชิกเครือข่ายอื่นๆ ที่มองเห็นความสำคัญของการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ NCDs ดังนั้นการใช้แนวคิดใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทางกองทุนฯ รู้สึกยินดีที่ได้เข้าร่วมกับเครือข่าย INHPF เพื่อร่วมกันสร้างสังคมโลกที่มีสุขภาวะที่ดี และจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไปประยุกต์ที่แคว้นควีนส์แลนด์ โดยเฉพาะในการลดปัจจัยเสี่ยงโรค NCDs

“ในฐานะที่เป็นประเทศน้องใหม่ของ INHPF เป็นความท้าทายในการทำงาน โดยเฉพาะคนในรัฐควีนส์แลนด์มีปัญหาโรคอ้วน ต้องตั้งองค์กรลดอ้วน เรียนรู้ศึกษาวิธีการในการสร้างเครือข่าย การประชุมเป็นงานท้าทายที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ นำมาใช้ให้งานประสบความสำเร็จ ด้วยการทำงานร่วมกัน”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022