NSM เปิดเวทีให้นักวิจัยระดับนานาชาติแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ในการสัมมนาวิชาการนานาชาติพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จัด “การสัมมนาวิชาการนานาชาติพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” (The 4th International Symposium on Natural History Museum : Era of Ecosystem Restoration) ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการให้บริการด้านวิชาการ ยกระดับการจัดการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานวิจัยและงานสื่อสารวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา เผยแพร่ และเก็บรักษาองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาต่อไป โดยงานจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2566 ณ ห้องแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “กระทรวง อว. ตระหนักถึงความสำคัญในด้านการเผยแพร่องค์ความรู้ การส่งเสริมงานวิจัยต่าง ๆ การจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติฯ ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือจากหลายภาคส่วนในการสร้างเวทีให้นักวิจัยมาเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านธรรมชาติวิทยา ตลอดจนเป็นการสร้างพันธมิตรในการจัดการข้อมูลความรู้และสื่อสารงานวิชาการทั้งระหว่างบุคคลและหน่วยงาน การสัมมนาฯ ไม่เพียงแต่เป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้จากงานวิจัยต่อสาธารณะแล้ว แต่ยังเป็นเวทีสำหรับนักธรรมชาติวิทยารุ่นใหม่ทั้งในและต่างประเทศได้มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้งานวิจัยเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยได้ยกระดับองค์ความรู้ของนักวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก และผลงานวิจัยเหล่านี้สามารถนำไปต่อยอดได้ อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทยต่อไป”

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “NSM ถือเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจสำคัญคือการเป็นศูนย์กลางของการศึกษาวิจัย รวบรวมวัสดุอุเทศ เผยแพร่ความรู้และจัดแสดงนิทรรศการด้านธรรมชาติวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ อพวช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ทางวิชาการด้านธรรมชาติวิทยา รวมถึงการสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านธรรมชาติวิทยา จึงได้ดำเนินการจัด “การสัมมนาวิชาการนานาชาติพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ครั้งที่ 4: วาระแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศ” (The 4th International Symposium on Natural History Museum : Era of Ecosystem Restoration) ขึ้น โดยปีนี้ผู้ให้ความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานมากกว่า 150 คน โดยมีการนำเสนอผลงาน ภาคบรรยายทั้งหมด 58 เรื่อง จาก 10 ประเทศ โดยแบ่งเป็น 11 กลุ่มย่อย และภาคโปสเตอร์ 23 เรื่อง จาก 4 ประเทศ”

นอกจากนี้ การสัมมนาฯ ยังเปิดโอกาสให้นักธรรมชาติวิทยารุ่นเยาว์ได้มานำเสนอผลงานวิจัยของตนเองอีกด้วย โดยผลงานที่น่าสนใจ ได้แก่ การระบุสัตว์คล้ายไดโนเสาร์ในจิตรกรรมฝาผนังวัดอุโบสถพระแก้วมรกต โดย ด.ช.ศรัณย์ภัทร อุ่ยละพันธุ์ โรงเรียนนานาชาติฮีทฟิลด์ และลักษณะภายนอกของมดง่ามในประเทศไทยและลาว โดยนายสหรรษภูมิ บุญช่วยเหลือ โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญมหาวิทยาลัยบูรพา ผลงานของนักธรรมชาติวิทยารุ่นเยาว์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวและความสนใจในสาขาธรรมชาติวิทยาของเยาวชนไทย ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต

พร้อมกันนี้ยังมีการบรรยายพิเศษจากผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติวิทยา อาทิ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566  โดย คุณมะเดี่ยว วรพจน์ บุญความดี นักธรรมชาติวิทยาผู้หลงใหลการฟังเสียงธรรมชาติ เจ้าของเว็บไซต์ ไพรสาร หรือ Praisan.org เป็นเว็บไซต์รวบรวมเสียงธรรมชาติจากระบบนิเวศ 12 แห่งทั่วไทย บรรยายในหัวข้อ “Praisan (ไพรสาร): The Power of Natural Soundscapes” ที่จะมาชี้ชวนให้เงียบเสียงเราลง เพื่อสดับตรับฟังเสียงของธรรมชาติรอบตัว ชวนตั้งคำถามว่ามีเสียงใดที่หายไปหรือ และเราควรทำอย่างไรไม่ให้สรรพเสียงของธรรมชาติเงียบไป และในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 โดย ผศ.น.สพ. ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หัวหน้าหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อ “พญาแร้งไทย : จากอดีตสู่อนาคต Red-headed Vulture: population recovery in Thailand” ที่จะชวนปลุกให้สังคมหันมาสนใจและทำความเข้าใจเกี่ยวกับนกนักล่า จากวิกฤตประชากรที่ลดลงอย่างน่าใจหาย นำไปสู่การฟื้นฟู ดูแล อนุรักษ์ให้พวกมันยังคงอยู่ในธรรมชาติต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

NSM ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ

เมื่อ 25 เม.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเปิดงาน Kind + Jugend ASEAN 2024 งานแสดงสินค้าแม่และเด็กระดับนานาชาติ โดยมี นายแมธเธียส คูเปอร์ กรรมการผู้จัดการและรองประธาน โคโลญเมสเซ่

NSM จัดแข่ง SiT Talks 2024 เฟ้นหาเยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มาเล่าวิทย์ให้ว้าวใน 3 นาที

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมแสดงความยินดี พร้อมเป็นประธานมอบรางวัลการแข่งขัน “SiT Talks: Science inspired by Teen 2024” รอบชิงชนะเลิศ

NSM แสดงความยินดี กับ “นางสาวปาณิสรา วงศ์ทวีพิทยากุล” คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากเวทีนักสื่อสารวิทย์ระดับโลก “FameLab International 2023”

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวปาณิสรา วงศ์ทวีพิทยากุล

NSM ขนขบวนความสนุกรับซัมเมอร์ ในงาน Future Summer Carnival

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์คและสเปลล์ ชวนน้องๆ เยาวชนไปสนุกกับกิจกรรม SUMMER PLAY สนุกคิดส์ รับปิดเทอม ในงาน Future Summer Carnival ตื่นตาตื่นใจไปกับการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย

NSM ผนึกพันธมิตร ขนทัพนิทรรศการและกิจกรรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทยเข้าร่วมงาน “วันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” ครั้งแรกของราชอาณาจักรกัมพูชา

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM พร้อมพันธมิตร ประกอบด้วยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) แ