ส่งมอบ “คุณค่า” เพื่อสะท้อนสู่ “มูลค่า”...วิถีแบรนด์ของ BEM

การวัดมูลค่าแบรนด์ ถ้าเป็นการวัดมูลค่าโดยใช้ความรู้สึกหรือการตัดสินใจของตัวบุคคลอาจทำให้เกิดปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่านั้น แต่หากเป็นการวัดมูลค่าในเชิงปริมาณ ซึ่งใช้หลักการตลาด การเงิน และการบัญชี มาบูรณาการและได้มูลค่าแบรนด์ที่เป็นตัวเงิน คงจะพอทำให้เห็นภาพได้ว่าแบรนด์นี้แข็งแกร่งเพียงใด เช่นเดียวกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ที่ล่าสุดคว้ารางวัล Thailand’s Top Corporate Brand 2023 มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดด้วยมูลค่า 89,418 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากเวที “ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands” จัดขึ้นโดยหลักสูตรปริญญาโท ด้านการจัดการแบรนด์และการตลาด ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสื่อในเครือผู้จัดการ ตัวเลขมูลค่าแบรนด์ดังกล่าวจะสะท้อนการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว 

นายอัลวิน จี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มพร้อมส่งมอบบริการที่ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ขณะเดียวกันยังมีกิจกรรมที่สร้างความสุขให้กับการเดินทางของผู้ใช้บริการ 3 ด้าน นั่นคือ Happy Journey : Health & Safety เน้นเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย, Happy Living Society : Society and communities อยู่ร่วมกับสังคมและชุมชนรายรอบเส้นทางอย่างมีความสุข และ Happy Planet : Environment and Climate Action กิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยกิจกรรมเหล่านี้ถูกออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่พนักงานผู้เป็นต้นทางของความสุข เพื่อมอบความสุข ความปลอดภัยในการเดินทางแบบไม่สิ้นสุด และเป็นการเดินทางสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

“ภายใต้การผสานอัตลักษณ์ BEM ให้ออกมาเป็นกิจกรรมรูปแบบต่างๆ นั้น เป็นการสร้างคุณค่า    แล้วส่งต่อไปยังผู้ใช้บริการให้ได้รับรู้ได้ถึงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตลอดจนความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริง ในการมอบบริการและประสบการณ์เดินทางที่ดี ซึ่งแนวคิดและกระบวนการเหล่านี้เมื่อนำไปผนวกกับตัวเลขจากงบการเงินของบริษัท ภายใต้เครื่องมือ Corporate Brand Success (CBS) Valuation ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาการขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดด้านการตลาด การเงิน และการบัญชีเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถคำนวณมูลค่าแบรนด์องค์กรออกมาเป็นตัวเลขทางการเงินโดยไม่มีความลำเอียง ถือเป็นความภาคภูมิใจของ BEM อย่างมากที่ได้มายืนอยู่บนเวทีนี้ติดต่อกันถึง 4 ปีซ้อน และทุกปีก็นำข้อมูลที่ได้กลับไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพราะแบรนด์ขององค์กรนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืน”

หลังจากนี้เส้นทางของ BEM ยังคงเดินหน้ามอบความสุขและประสบการณ์ที่ดีให้กับทุกชีวิตในเมืองต่อไป ภายใต้แนวทางการดำเนินงานที่จะดูแลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยมีประเด็นความยั่งยืนเป็นกุญแจสำคัญเพื่อการอยู่ร่วมกับสังคม ชุมชน และดูแลสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพ สมกับนิยามการเดินทาง...Happy Journey with BEM เดินทางร่วมกันสู่เป้าหมายที่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BEM ร่วมกับ กทพ. เพิ่มช่อง Easy Pass เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทาง

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เปิดช่อง Easy Pass เพิ่มอีก 1 ช่องทาง

เปิด 4 ท่า...ท้ามนุษย์ตึง หมั่นทำ!! ก่อนกลายเป็นโรคเรื้อรัง

บ่อยครั้งที่ชาวออฟฟิศมักจะทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ ทุกวันจนเป็นความเคยชิน จนเมื่อวันหนึ่งพบว่า คอ ไหล่ บ่า หลัง มีอาการปวดรวดร้าว

BEM มอบรางวัลกิจกรรม BEM Art Contest ครั้งที่ 1

นางสาวจิรนันท์ วรจักร ผู้ช่วยผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) (ที่ 2 จากขวา) เป็นประธานมอบรางวัลและใบประกาศนียบัตรในการแข่งขัน การประกวด “BEM Art Contest ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567 ภายใต้ Concept “20

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี

'ดร.สามารถ' แพร่บทความ บทเรียนสูญ 1.3 แสนล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ต้องมีผู้รับผิดชอบ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บทเรียนที่ต้องเรียน" มีเนื้อหาดังนี้

'ศาลปค.สูงสุด' ชี้ขาดแล้ว รฟม.เดินหน้าเซ็นสัญญา BEM ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562