เปิดผลสำรวจวาเลนไทน์ 67 พบยาเสพติดนำโด่ง 58.7% ปัจจัยกระตุ้นรักเป็นพิษ “สุรา-การพนัน” พฤติกรรมทำให้รักเป็นพิษมากที่สุดคือ “นอกใจ” คำพูดฮีลใจดีที่สุด “เหนื่อยมั้ย”

มูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) จัดกิจกรรมรณรงค์เนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์ ประจำปี 2567 “Love is not toxic รักไม่เป็นพิษ”โดยมีการเสวนา เรื่อง “สัญญาณเตือน...ก่อนรักเป็นพิษ และการจัดการความสัมพันธ์” นอกจากนี้ยังมีการแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เยาวชนรวมพลังร่วมปกป้องสังคม ลดความเสี่ยงปัญหาความรักที่นำไปสู่ความรุนแรง

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า เนื่องในวันแห่งความรัก สสส. ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสานพลังให้ทุกคนอยู่ร่วมในสังคมด้วยความความรักเกื้อกูลกัน สื่อสารการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ไม่เป็นพิษ (Toxic) และรู้จักสัญญาณเตือนที่อาจจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ทั้งความคิด คำพูด พฤติกรรม ที่สำคัญคืออยู่ให้ห่างจากปัจจัยกระตุ้นรักที่เป็นพิษ ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด พนัน จากข้อมูลของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล รวบรวมข่าวความรุนแรงในครอบครัวที่เผยแพร่ผ่านสื่อ ปี 2565 มีถึง 1,131 เหตุการณ์ เพิ่มจากปี 2564 กว่า 3 เท่า โดยมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้น 347 ข่าว คิดเป็น 30.7% และยาเสพติด 272 ข่าว คิดเป็น 24% ขณะที่เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง สำรวจเยาวชนอายุ 13-25 ปี รวม 2,000 คน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วงต้นเดือนก.พ. 2567 พบปัจจัยร่วมที่เข้ามามีส่วนทำให้คู่รักเปลี่ยนไป อันดับ 1 ยาเสพติด อันดับ 2 การพนัน และ อันดับ 3 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

“แม้ว่าผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบเยาวชนอายุ 15-24 ปี ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 1.9 ล้านคน หรือ 20.9% ซึ่งลดลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่เยาวชนในกลุ่มอายุนี้ยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด ขณะที่ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ปี 2564 มีเด็กและเยาวชนอายุ 15-25 ปี เล่นการพนัน 4.3 ล้านคน สะท้อนให้เห็นภาพความน่ากังวลของปัญหาเหล้า พนัน ยาเสพติดในเยาวชน ที่ชัดเจนว่าปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหา ส่งผลต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ โดยเฉพาะความรักของวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ทั้งนี้ สสส. และภาคีเครือข่าย หวังให้ประชาชนมอบความรักแก่กันอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน พร้อมใช้ชีวิตห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงทุกรูปแบบ” นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว

ด้านนางสาวปาลิณี ต่างสี ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง กล่าวว่า จากการการสำรวจความคิดเห็นเยาวชนอายุ 13-25 ปี ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 2,000 ตัวอย่าง ช่วงต้นเดือนก.พ. ปี 2567 เรื่อง Love is not toxic รักไม่เป็นพิษ พบว่าพฤติกรรมที่ทำให้รักเป็นพิษมากที่สุดคือการนอกใจ 45.55% การลดทอนคุณค่า 42.85% ใช้ความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำ 37.1% ความคาดหวัง การกดดัน 33.3% การแสดงความเป็นเจ้าของ 32.2% ความเงียบ ถามไม่ตอบ 28.8% ดื่มเหล้าเล่นพนัน ใช้ยาเสพติด 15.75% ชอบเหวี่ยงชอบวีน 15.1% โมโหร้าย ทำลายข้าวของ 14.6% ขึ้นเสียง แสดงอำนาจ ชักสีหน้าใส่ 14.6% เอาเรื่องส่วนตัวไปเล่าให้คนอื่นฟัง 7.6% ติดเที่ยวกลางคืน ปาร์ตี้ 6.45% เอาเปรียบเรื่องเงิน 5.55%เมื่อเกิดปัญหาแล้วเลือกที่จะปรึกษามากที่สุดคือ เพื่อน 62.05% พ่อแม่ คนในครอบครัว 21.6% ครู อาจารย์ 9.5% และสื่อออนไลน์ 3.75 %

“สาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงคือการควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ 42.1% การเลี้ยงดูจากครอบครัว 17.75% ประสบการณ์ชีวิต 10.7% พฤติกรรมเลียนแบบจากคนในครอบครัวที่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7.85% ความเชื่อส่วนบุคคล 6.05% จิตเวช 5.7% เกม 5% สื่อซีรีส์หนัง 3.15% ส่วนปัจจัยร่วมที่ทำให้คู่รักเปลี่ยนไปคือยาเสพติด 58.7% พนัน 48.6% เหล้า 43.35% ติดโซเชียลมีเดีย 39.35% การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ลงตัว 38.1% ติดหนี้ 34.3% เกม 32.25%” นางสาวปาลิณี กล่าว

นางสาวปาลิณี กล่าวต่อว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นพบว่ามีการโพสต์ข้อความทางโซเชียลเพื่อระบายปัญหาความสัมพันธ์ของคู่รักมากที่สุด 36.55% โพสต์เพื่อตำหนิ หรือประชด 35.6% โพสต์โอ้อวด 14.9% โพสต์เพื่อเรียกร้องความสนใจของคู่รัก 12.55% ส่วนวิธีแก้ปัญหาอันดับแรกคือ จัดการด้วยการพาตัวเองออกจากความสัมพันธ์ หรือเลิก 42.3% สร้างพื้นที่ปลอดภัย สบายใจ 34.3% หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ธรรมะ เล่นเกม 16.05% แสดงความอ่อนแอ ร้องไห้ 4.9%

“สังคมของวัยรุ่นเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ที่ Toxic น่าเป็นห่วง เพราะเป็นสัญญาณเตือนที่อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า และการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่รัก และเห็นปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามาเป็นปัจจัยร่วมที่จะทำให้ความรักเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด พนัน เหล้า ซึ่งพวกเราอาจจะต้อง รับรู้ เข้าใจปัญหา และร่วมกันหาทางออกกับปัญหาเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่า ยังมีคำพูดดีๆ ที่สามารถฮีลใจ หรือทำให้รู้สึกดีขึ้นคือ เหนื่อยมั้ย 72.2% สู้ๆ นะ คุณโอเคมั้ย 50.7% รักนะจุ๊บๆ 49.5% กอดนะ 47.85% เป็นห่วงนะ 45% กินอะไรมาหรือยัง 38.95% เงินไม่พอบอกนะ 37.1% วันหยุดนี้ไปเที่ยวไหนดี 34.75% ทำทุกอย่างเพื่อเรานะ 23.3%” นางสาวปาลิณี กล่าว

นางสาวฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ หรือ “เชียร์” นักแสดงชื่อดัง กล่าวว่า แนวคิดการพูดกับตัวเอง ใจดีกับตัวเอง ชื่นชมตัวเองให้มาก เป็นหลักการที่ดีมากช่วยให้เราสามารถก้าวข้ามอุปสรรคอย่างมีความหวังได้ จากที่คนทั่วไป เวลาที่ทำอะไรผิดพลาด หรือไม่ได้ดั่งใจ มักจะกล่าวโทษตัวเอง เช่น ตอนที่ตนไปต่างประเทศ แล้วถูกขโมยนาฬิกาซึ่งมีมูลค่าสูง แล้วเอาแต่โทษตัวเอง จะโทรไปหาที่บ้าน ยังคิดว่า ต้องถูกตำหนิกลับมาแน่ๆ แต่ในความเป็นจริง ครอบครัวกลับบอกว่า “ไม่เป็นอะไรก็ดีแค่ไหนแล้ว” ทำให้ความรู้สึกที่ดิ่งลึกแล้วกลับมาได้

นอกจากนี้ในอดีตตนเคยเจอคำพูดเชิงตำหนิรูปร่าง แล้วมีคนหัวเราะ เห็นด้วย คนที่พูด คนที่หัวเราะเขาผ่านเรื่องนี้ไปแล้ว แต่เรากลับผ่านไปไม่ได้ ทำให้ไม่มีความสุข ไม่อยากไปกองถ่าย ไม่กล้ายืนหน้า แต่ที่ผ่านมาได้เพราะสุดท้ายพยายามบอกกับตัวเองว่าเรารู้สึกไปก็เท่านั้น เราจะให้ค่ากับคนเหล่านั้นจริงๆ หรือ เพราะหากเราผ่านไปไม่ได้ก็ทำให้เราทำผลงานออกมาไม่ดี คนที่ได้รับคำตำหนิก็เป็นตัวเรา ส่วนความรักเหมือนถูกควบคุมโดยไม่รู้ตัว จากการยอมทุกอย่าง รู้ตัวอีกทีก็เสียความเป็นตัวตนแล้ว พอจะทำอะไรที่เป็นเรื่องของเราเองก็กังวลว่าจะทำได้หรือไม่ พูดได้หรือไม่ และก็ไม่กล้าเอ่ยปากว่าเราต้องการอะไร ดังนั้นการพูดคุยกับตัวเอง ชมตัวเอง รักตัวเอง เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนสังคมก็สามารถนำหลักการสื่อสารด้วยคำชม หรือแสดงความห่วงใยก่อนตำหนิ เพราะในเรื่องร้ายอาจจะยังมีเรื่องที่ดีอยู่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming