เครื่องฆ่าเชื้อโรค-กลิ่นอับหมวกกันน็อก นวัตกรรมสุขภาพขับเคลื่อนสู่การใช้จริง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร ของทีมเยาวชนจากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Prime Minister’s Award for Health Promotion  Innovation 2021 ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ..วันนี้กลายเป็นความจริง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้แล้ว โดยความร่วมมือของ สสส. สานพลังร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมจากไอเดียของเด็กอาชีวะจนเป็นผลสำเร็จ เตรียมหารือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร นำร่องในการตั้งจุดบริการหมวกนิรภัยสะอาดทั่วกรุงในเดือนกรกฎาคมศกนี้ 

ในโอกาสที่ สสส. สานพลังคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีสู่สังคม” ยกระดับนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ ผ่านความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้ และความชำนาญการของคณะฯ นำร่องพัฒนานวัตกรรม ที่ Innogineer Studio คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล  ศาลายา เมื่อปลายเดือนมกราคม 2567 น.ส.ภาสวรรณ สังฆสุบรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์กิจการสร้างสุข สสส. เปิดเผยว่า สสส. มุ่งดำเนินงานในบทบาทธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีความคล่องตัว เปิดกว้างในการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนทำงานเพื่อสังคม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต มีสุขภาวะที่ดี และปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ในขณะที่มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่บ่มเพาะผลิตนักคิด นักนวัตกรที่มีใจในการสร้างแรงบันดาลใจ กล้าที่จะ Start from Zero จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยใช้มุมมองทางด้านการตลาด ผลงานวิจัยที่พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปใช้ในโมเดลภาคอุตสาหกรรม

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในหมวกนิรภัยเสริมสร้างสุขภาวะของผู้ขับขี่จักรยานยนต์และผู้โดยสาร ของทีมเยาวชนจากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ Prime Minister’s Award for Health Promotion Innovation 2021 ของ สสส.นี้ สสส.จะนำร่องหุ่นยนต์ 5  เครื่อง โดยเข้าไปในโรงเรียนของศูนย์เด็กเล็กเพื่อเด็กได้รับการบ่มเพาะช่วยรณรงค์ให้ทุกคนในครอบครัวสวมหมวกกันน็อก เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน มอบหมายให้ รศ.กฤษฏา จับมือคุยกับนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. เพื่อใช้กับศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ กทม.  และเข้าไปในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากตำรวจก็ต้องสวมหมวกกันน็อกทุกวัน คาเฟทีเรีย ครัวโรงงาน ศูนย์การค้า โรงพยาบาล นิคมอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งดำเนินงาน คาดว่าจะเห็นผลในเดือน ก.ค. และกำหนดเป็นแผนงานในปี 2568 ทั้งนี้ สสส.จะประสานงานกับสำนัก 9  เข้าไปใช้ในกลุ่มเปราะบาง

“สสส.เห็นความสำคัญของปัญหาการใส่หมวกนิรภัยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มุ่งเป้าแก้ไขปัญหาสุขภาวะด้านการป้องกันเชื้อโรค ลดกลิ่นอับจากหมวกนิรภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ สร้างความมั่นใจต่อประชาชน เพิ่มอัตราการสวมหมวกนิรภัยลดปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในสังคม เตรียมขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรม จัดตั้งจุดวางเครื่องฆ่าเชื้อโรคในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ สู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไปให้เกิดเป็นรูปธรรมภายในปี 2567” น.ส.ภาสวรรณเปิดเผย

น.ส.ภาสวรรณชี้แจงว่า สิ่งที่เราทำร่วมกับ สสส. เพื่อต่อยอดการรณรงค์ใช้สวมหมวกกันน็อกที่สะอาดปลอดกลิ่นอับ เป็นการสร้างความตระหนักรู้เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ 10% จะให้กับกลุ่มอาจารย์และนักศึกษาที่เป็นต้นคิดนวัตกรรมประดิษฐ์นี้

รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มุ่งสร้างธุรกิจเอสเอ็มอีและเพิ่มพื้นที่สร้างเสริมสุขภาพ ให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาได้พัฒนานวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99% ควบคุมระยะห่าง กำหนดความเร็วแม่นยำ ทำงานอัตโนมัติแทนมนุษย์ได้ 24 ชม. เช่น เครื่องอบฆ่าเชื้อใบปริญญาบัตร โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หุ่นยนต์ได้ช่วยปฏิบัติงานทางการแพทย์ในโรงพยาบาลสนาม นำไปสู่ความมั่นคงทางสุขภาพ การสร้างความร่วมมือกับ สสส.ครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการบ่มเพาะนวัตกรสุขภาพ ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงสร้างนวัตกรรมสุขภาพที่มีคุณภาพ ใช้งานได้จริง เป็นประโยชน์กับประชาชนให้ใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ

“โลกต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ โครงการวิจัยฆ่าเชื้อโรคด้วยหุ่นยนต์เคลื่อนที่ สร้างพื้นที่ปลอดไวรัสแบคทีเรียได้อย่างทั่วถึง ทำงานแทนมนุษย์ได้ 24 ชั่วโมง ลดภาระแรงงานคนทำงานหนักในโรงพยาบาล คลินิก สนามบิน Community Mall โรงเรียนนานาชาติ” รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ เปิดเผย

ชุด PPE (Personal Protective Equipment) สวมใส่ในโรงพยาบาล โรงงาน ไซต์งานก่อสร้าง หน้ากาก Face Shield สามารถนำมาใช้ซ้ำได้อีกด้วยนวัตกรรม UVC  Moving CoBot รวมถึงเสื้อสูท เป็นการต่อยอดความคิดในการใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคนจากช่วงโควิด ในช่วงที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชทานปริญญาที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร ม.มหิดล ศาลายา ทำเป็นตู้กระจกปลอดเชื้อ ใช้หุ่นยนต์ทำความสะอาด และยังนำไปใช้ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช ตลอดจนห้องเรียน ห้องทำฟันของคนไข้ หุ่นยนต์ทำงานช่วงเวลากลางคืนเวลาไม่มีผู้คนที่จะสูดกลิ่น ทำให้เกิดความปลอดภัย รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำภายในบ่อปลา บ่อกรองสามารถใช้ UV ส่องแสงฆ่าเชื้อโรคได้

“ต่อไปจะพัฒนา Clean Surface ใช้กับอุปกรณ์สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ คลินิกและสถานศัลยกรรมความงาม ให้หุ่นยนต์ทำงานช่วงกลางคืนฆ่าเชื้อโรคทุกชนิด จะส่งผลให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่ดี เจ็บป่วยน้อยลงด้วย เป็นการรองรับโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้เป็นอย่างดี การใช้ Telemedicine ตรวจวัดระดับอุณหภูมิคนไข้ หุ่นยนต์ส่งยาเคลื่อนที่ไปตามห้องคนไข้ที่ติดเชื้อ” รศ.ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ กล่าวถึงแผนงานในอนาคต

นายประดุจเทพ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อน สาธิตการนำนวัตกรรม UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99% ควบคุมระยะห่าง กำหนดความเร็วแม่นยำ ในการตั้งเวลาอัตโนมัติฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่นอับภายในหมวกกันน็อก ทำให้มีกลิ่นสะอาดสดชื่น เหมาะสมกับการสวมใส่เพื่อความปลอดภัย พร้อมกับเล่าถึงขั้นตอนการทำงานที่นำไปใช้กับเครื่องมือที่ใช้ในการทำฟันเพื่อความสะอาดและอนามัยส่วนบุคคลด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี