วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022 เด็กและเยาวชนไทยอายุ 9-18 ปี ร้อยละ 26 เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ และร้อยละ 11 เคยถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์ เด็กประถมศึกษาตอนปลายร้อยละ 12 เคยมีประสบการณ์ถูกตีสนิทโดยมีเจตนาเพื่อละเมิดทางเพศ (ผลสำรวจมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทยปี 2022)

นอกจากนั้น ผลสำรวจมูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่าเด็กและเยาวชนอายุ 12-17 ปี ร้อยละ 9 เคยถูกแสวงประโยชน์และละเมิดทางเพศออนไลน์ ได้รับข้อความภาพทางเพศโดยไม่ยินยอม และถูกข่มขู่เพื่อให้มีกิจกรรมทางเพศ  ผู้ถูกละเมิดทั้งหมดมีเพียงร้อยละ 1-3 เท่านั้นที่แจ้งเรื่องต่อตำรวจ กว่าครึ่งหนึ่งไม่เล่าเรื่องการถูกละเมิดให้คนอื่นได้รับทราบ และกลุ่มนี้ร้อยละ 47 ไม่ทราบว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ใด อีกทั้งผู้ละเมิดเป็นบุคคลใกล้ชิด เด็กและเยาวชนเผชิญความท้าทายในการรับมือและเปราะบางต่อภัยคุกคามอย่างยิ่ง

ปัญหาความวุ่นวายของโลกออนไลน์ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของคนในสังคมไทย จึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อีกต่อไป

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ Data Hatch จัดกิจกรรมThaiHealth WATCH The Series  2024 เล่นให้เป็นเรื่อง ครั้งที่ 1 ตอน “เล่นเรื่องรุ่น” :  ความวุ่นของโลกหลายใบบนโจทย์ของคนต่างรุ่น เพื่อต่อยอดขยายผลการรับรู้ต่อผู้นำการสื่อสาร ในประเด็นครอบครัวข้ามรุ่น ปัญหาเด็กและครอบครัวไทยในสองแพร่ง เด็กและเยาวชนเติบโตในครัวเรือนเปราะบางทับซ้อนและยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤต ครอบครัวที่รายได้น้อย เงินออมต่ำ หนี้สินท่วม บั่นทอนขีดความสามารถของเด็กและเยาวชนที่จะเติบโตและเติมเต็มความฝันท่ามกลางโลกที่ท้าทายได้ เงินไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคสำคัญที่จะจบการศึกษา เยาวชนมีงานที่ดีและสอดคล้องกับความฝันได้ยากขึ้น เด็กและเยาวชนไม่ได้รับการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอย ปิดโอกาสทางการศึกษาและเผชิญปัญหาความเครียดและซึมเศร้า เข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งเผชิญความรุนแรงในชีวิตประจำวันในรูปแบบซ่อนเร้นมากขึ้น

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดเผยเรื่องของคนต่างรุ่นกับความวุ่นวายของโลกหลายใบว่า “แม้คนต่างรุ่นจะใช้เครือข่ายทางสังคมที่แตกต่างกันและมีความไม่เข้าใจกัน แต่จุดร่วมสำคัญของคนต่างรุ่นมีปัญหาเดียวกันคือ การประเมินความน่าเชื่อถือของข่าวสาร ทางออกคือเราต้องพยายามสร้างพื้นที่ในโลกออนไลน์ให้เกิดการโต้เถียงด้วยเหตุผลมากขึ้น ลดข้อความเสียดสี ล้อเลียน หรือตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง เพื่อให้บรรยากาศในการถกเถียงเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับทุกคนในกลุ่ม”

ความสำคัญของครอบครัวข้ามรุ่นในสังคมต่างวัย นิยามครอบครัวแตกต่างกันไป เมื่อสังคมไทยเปลี่ยนแปลงหลังโควิด พ่อแม่ที่เคยทำงานนอกบ้านต้องเปลี่ยนเป็น Work  from home ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ได้พูดคุยและมีกิจกรรมร่วมกัน ส่งผลให้วิธีคิดเปลี่ยนไป ไม่อยากทำงานนอกบ้าน อยากทำงานออนไลน์มีเวลาให้คนในครอบครัวมากขึ้น

นายฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB และศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) เปิดเผยว่า 101 PUB ทำงานกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส.มากว่า 2  ปี ในการแก้ไขปัญหาพ่อแม่และเด็กในเบื้องต้นเพื่อการปรับตัวไปพร้อมกัน พบปัญหาสังคมไทยเหลื่อมล้ำในทุกมิติติดอันดับTop 10 ของโลก ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งสูงสุดในโลก ถ้าเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียน ไทยติดอันดับเกือบรั้งท้ายความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รองจากประเทศกัมพูชา โดยเฉพาะนโยบายเศรษฐกิจการซื้อสินค้าเป็นการกระจายให้กลุ่มที่ร่ำรวยยิ่งขึ้นไปอีก เงินต่อเงินส่งผลให้เศรษฐกิจเหลื่อมล้ำมากขึ้นอีก ความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของไทย ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกเรียนได้ตามความต้องการ สังคมไทยยังไม่เอื้ออำนวยในการสร้างเด็กที่มีคุณภาพเพื่อแข่งขันบนโลกไร้พรมแดน คนไทยที่มีฐานะที่ดีจะส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่ยังเป็นเด็กเพื่อสร้างโอกาสที่ดีสำหรับอนาคต

“อำนาจไม่เท่ากันนำไปสู่ความขัดแย้ง คนมีอำนาจต่อรองไม่เท่ากัน รู้สึกว่าถูกกีดกันในทุกมิติ เมื่อสังคมเหลื่อมล้ำ  ความมั่งคั่งกระจุกตัว กลุ่มคน 1% ครองความมั่งคั่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ (ร้อยละ 44.4) ขณะที่กลุ่มยากจนที่สุดร้อยละ 50 ถือครองรวมกันเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น เกิดเป็นคำถามจากคน 40% ว่ามีคนอีกกลุ่มที่รวยกว่าเรา 10% เขาร่ำรวยมาจากไหน? คน 1% มีความมั่งคั่งเหลื่อมล้ำ ทำให้สังคมไม่ตอบโจทย์ นำไปสู่ปัญหาคนอีกกลุ่มหนึ่งเข้าไม่ถึงปัจจัยสี่” 

การเปิดเวทีนำเสนอข้อมูล “ช่องว่างระหว่างวัย ภาพสะท้อนความห่างกันทางอำนาจของคนต่างรุ่น” เป็นการมองที่แตกต่างกันไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก แต่จะทำอย่างไรให้ผู้คนทำความเข้าใจในบริบทของความแตกต่าง และสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย ทำช่องว่างระหว่างวัยให้เป็นพื้นที่ของการพูดคุย ยอมรับความแตกต่างทางสังคมให้ทุกคนมีโอกาส.


 คน 7 Gen ในบ้านหลังเดียวกัน

1.Gen Greatest (อายุ 100 ปีขึ้นไป) (เกิด พ.ศ. 2444-2467) เกิดในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คนรุ่นนี้เป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

2.Gen Silent (เกิด พ.ศ. 2468-2488) (อายุ 79-99 ปี) กลุ่มคนที่เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  มีชีวิตความเป็นอยู่ยากลำบาก ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ  เคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก จงรักภักดีต่อนายจ้างและประเทศชาติสูงมาก เคารพกฎหมาย

3.Gen B หรือ Baby Boomer (เกิด พ.ศ.  2486-2503) (อายุ 64-81 ปี) เป็นกลุ่มคนที่ได้รับอิทธิพลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เติบโตท่ามกลางความยากลำบาก จึงให้คุณค่ากับการทำงานหนัก อดทนเพื่อประสบความสำเร็จ มีชีวิตเรียบง่ายผสมผสานความอนุรักษนิยมและความทันสมัย รักครอบครัวและมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับครอบครัว

4.Gen X (เกิด พ.ศ. 2504-2524) (อายุ 43-63 ปี) ได้รับอิทธิพลจาก Gen B มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อดทน ให้ความสำคัญกับ work-life-balance ทั้งเรื่องการทำงานและครอบครัว คน Gen นี้แต่งงานช้า รักอิสระ มีความต้องการเป็นนายตัวเองสูง

5.Gen Y (เกิด พ.ศ. 2525-2548) (อายุ 19-42 ปี) เติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจเฟื่องฟูและเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างสูง มีความมุ่งมั่นสามารถทำงานหลายสิ่งในเวลาเดียวกันได้ ไม่ค่อยอดทนและไม่ชอบเสี่ยง

6.Gen Z (เกิด พ.ศ. 2549-2552) (อายุ 18-15 ปี) เติบโตในยุคที่มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวก  รับข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เปิดกว้างทางความคิดและยอมรับความแตกต่างได้เป็นอย่างดี    7.Gen Alpha (เกิด พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน) (อายุ 14 ปี-วัยแรกเกิด) เป็นคนรุ่นลูกของ Gen Y และ Gen Z เกิดมาในยุคอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิต  คิดและมีพฤติกรรมที่อยากประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย นิยมความรวดเร็วทันใจ อยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น มีความคิดเชิงวัตถุนิยม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี