เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs สสส. สานพลังภาคี พัฒนานวัตกรรมหลักสูตร ห้องเรียนพ่อแม่ สามเหลี่ยมสมดุล “วิ่งเล่น กินดี นอนพอ” นำร่อง 43 โรงเรียนสังกัด กทม.-สช.-สพฐ ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่า 1 ใน 10 ของเด็กไทย อายุ 6-14 ปี มีน้ำหนักเกินและอ้วน หรือคิดเป็น 15.5% ในขณะที่ ผอมและเตี้ย พบ 5.5% และ 3.2% ตามลำดับ สาเหตุหลักเกิดจากพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ที่สำคัญพบการกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เด็กไทย 72% กินผัก ผลไม้ไม่เพียงพอตามเกณฑ์แนะนำ เกินครึ่งกินขนมกรุบกรอบมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และร้อยละ 71.3 ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ซึ่งเสี่ยงเป็นไม่ติดต่อ (NCDs) โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ถึงขั้นเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

“พฤติกรรมของเด็กส่วนหนึ่งจากผู้ใหญ่ที่ขาดโอกาสการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ดี สสส. เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น สานพลังภาคีเครือข่าย พัฒนาหลักสูตรห้องเรียนพ่อแม่ สามเหลี่ยมสมดุล “วิ่งเล่น กินดี นอนพอ” สร้างสมดุลให้สมวัย พื้นที่การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กและเยาวชนอย่างถูกต้อง ซึ่ง 3 สิ่งนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสุขภาพกายใจของเด็ก โดยนำร่องบรรจุหลักสูตรห้องเรียนพ่อแม่ในโรงเรียน 43 โรงในสังกัด กทม. สช. สพฐ. ใน 4 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค เน้นสร้างกลไกการเชื่อมโยงโรงเรียนสู่บ้านและชุมชน คาดการณ์ว่ามีผู้ปกครองที่สนใจเข้าร่วมกว่า 300 คนทั้งนี้ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th หรือ https://activekidsthailand.com/ และไลน์ @เครือข่ายพันธมิตร” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า การกิน เล่น นอน เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต แต่เชื่อมการดำเนินชีวิตด้วยการมีวินัยและบริหารจัดการไม่ให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างรู้เท่าทัน (health literacy) และยังเสริมพลังบวกด้วยพลังของการเป็นต้นแบบที่ดีของครอบครัวรวมทั้งการให้กำลังใจกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีได้ ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องเข้าใจเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะไม่ใช่ผ้าขาว แต่เป็นผ้าสีพื้นตามพื้นฐานอารมณ์ของตนเอง อย่าเลี้ยงลูกแบบเปรียบเทียบคนอื่น กิจกรรมที่ทำก็เป็นกิจกรรมในวิถีชีวิต ตามบริบท เพียงแต่พ่อแม่ก็ต้องทำไปด้วยกันเรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกันกับลูก

นายบรรพจน์ พลสง ผู้ปกครองเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดศรีนวลธรรมวิมล สังกัด กทม. กล่าวว่า หลักสูตรห้องเรียนพ่อแม่นี้ ได้มีโอกาสเข้าร่วมกับ สสส. มา 1 ครั้ง ได้นำมาปรับใช้กับลูกสาว โดยเฉพาะการทำอาหารร่วมกัน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ลูกสาวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกินผักทุกมื้อ เติมโตสมวัยตามเกณฑ์ ได้รางวัลชนะเลิศประกวดนางนพมาศ ในช่วงเทศกาลลอยกระทงที่ผ่านมา ที่สำคัญคือช่วงปิดเทอมจะนอนดึก ก็นำองค์ความรู้ที่ได้มาฝึกเรื่องการนอนให้ลูก ทำให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น สามารถชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดวาดภาพของโรงเรียน ในการนี้ ทางโรงเรียนได้นำมาอบรมให้กับผู้ปกครองเป็นครั้งแรก ถือเป็นการส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องสามเหลี่ยมสมดุล วิ่งเล่น กินดี นอนพอ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างสมดุลให้สมวัยวงกว้างมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ไขคำตอบ..ออกกำลังกายเป็นนิจ ตัวช่วยอายุยืนยาวห่างไกล NCDs

อุบัติการณ์โรคในยุคนี้ปรากฏว่า "โรคไม่ติดต่อ (NCDs)" กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คิดเป็น 75% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด หรือเกือบ 4 แสนคนต่อปี