ร่วมมือสร้างภูมิคุ้มกัน..ข่าวลวง คนไทย "แชมป์เอเชีย" ถูกหลอก

สสส.-ภาคี โคแฟค-กทม. เปิดเวทีสัมมนาวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2 เม.ย.ของทุกปี Everyone is a  fact checker ตรวจสอบข่าวเช็กให้ชัวร์ก่อนเผยแพร่ สร้างพื้นที่สื่อออนไลน์ปลอดภัย สานพลังสังคมสร้างสุขภาวะที่ดี ไทยขึ้นแท่นเหยื่อข่าวลวงติดอันดับ 1 ของเอเชีย และ 1 ใน 10 ของโลก ผู้สูงอายุเชื่อสนิทใจ 85%  มิจฉาชีพโทร.-ส่งข้อความหลอกคนไทย 79 ล้านครั้ง พุ่งสูงขึ้น 18%  เชิญชวนใช้เครื่องมือดิจิทัล

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 ในโอกาสวันตรวจสอบข่าวลวงโลก 2567 (International Fact-Checking Day 2024) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีโคแฟค ประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดงานสัมมนาระดับชาติ ภายใต้หัวข้อ “Cheapfakes สู่  Deepfakes: เตรียมรับมืออย่างไรให้เท่าทัน” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล (International  Fact Checking Network - IFCN) กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปีเป็น “วันตรวจสอบข่าวลวงโลก” หวังกระตุ้นให้คนทั่วโลกตื่นตัว ตรวจสอบข้อมูลบนโลกออนไลน์ก่อนส่งต่อ และเข้าใจอันตรายที่เกิดขึ้นจากข่าวลวง

ทั้งนี้ จากรายงานประจำปี 2566 ของฮูสคอลล์ (Whoscall) แพลตฟอร์มระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จักและป้องกันสแปม พบว่าปี 2566 คนไทยโดนหลอกจากสายโทร.เข้าและส่งข้อความหลอกลวง 79 ล้านครั้ง  เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มี 66.7 ล้านครั้ง คิดเป็นเพิ่มขึ้น 18% โดยเฉลี่ยคนไทย 1 คน ได้รับเอสเอ็มเอสหลอกลวง 20.3 ข้อความ ถือว่าไทยถูกหลอกลวงมากเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ทั้งนี้ งานสัมมนาระดับชาติที่จัดขึ้น สสส.หวังสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะในประเด็นการตรวจสอบข้อมูล ก่อนเชื่อหรือแชร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล ประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ และรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงการตรวจสอบข้อมูล นำไปสู่การสร้างสังคมสุขภาวะให้ยั่งยืนของประเทศไทยต่อไป

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวในวันเปิดงานว่า “ขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจกันเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นเกราะป้องกันข่าวลวง 1 April’s fool  day เพื่อตรวจสอบข่าวที่ถูกต้อง ทุกวันนี้มียุทธศาสตร์การขายตรงใช้โทรศัพท์หลอกลวงเอาเงิน เหยื่อไม่ทันเกมหลงเชื่อโอนเงินให้ โดยมิจฉาชีพเจาะเข้าไปถึงตัวเหยื่อที่อ่อนแอมีภูมิต้านทานต่ำ”

“ขณะนี้เรามี COFACT 2563 สร้างภาคีเครือข่ายขึ้นมาเพื่อช่วยตรวจสอบข่าว เพราะขณะนี้ประเทศไทยติดอันดับถูกหลอกลวงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย มีการใช้ sms หลอกลวงสูงถึง 79 ล้านครั้ง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัย เป็นความสูญเสียถึง 3 หมื่นล้านบาท สสส.หนุนภาครัฐจัดการปัญหา ประชาชนทุกภาคส่วน นักวิชาการ มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคมลุกขึ้นมาร่วมมือกันทำงานจิตอาสา เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่เข้มแข็งให้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานร่วมกัน”

ผู้จัดการ สสส.ตอกย้ำว่า สสส.วางเป้าหมายพัฒนานิเวศสื่อสุขภาวะที่ส่งผลต่อค่านิยมและพฤติกรรมการใช้สื่อเพื่อสุขภาวะ เสริมทักษะรู้เท่าทันสื่อ และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดสื่อสุขภาวะและปกป้องผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกช่วงวัย จากผลการดำเนินงานของ โคแฟค ประเทศไทย  ที่ สสส.ร่วมผลักดันสนับสนุนให้ โคแฟคเป็นพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงบนสื่อออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2563-2567  โคแฟคได้บริการตรวจสอบข่าวลวง 7,672 บทความ ช่วยปกป้องคนไทยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพผ่านการอบรมตรวจสอบข้อมูลกว่า 5,000 คน สสส.มุ่งหวังให้ทุกคนเป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ มีความสามารถในการตรวจสอบข่าวได้ด้วยตนเอง จนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังตรวจสอบข้อมูล และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาช่วยกันตรวจสอบข่าวลวงได้ โดยเชื่อว่า “Everyone is a fact checker” นพ.พงศ์เทพเปิดเผย พร้อมมอบข้อเตือนใจ  อย่าเพิ่งเชื่อ อย่าเพิ่งแชร์ อย่าเพิ่งโอน ถ้าโอนเงินไปแล้วเอากลับคืนมาไม่ได้

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทช่วยให้การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันสะดวก รวดเร็ว และง่ายขึ้น ไม่ว่าจะด้านการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ทุกคนสามารถเป็นผู้ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลบนโลกออนไลน์ได้ง่ายๆ แต่ความเสี่ยงต่อการถูกหลอก สร้างความเข้าใจผิด ความเกลียดชัง ถูกหลอกให้ลงทุนและโอนเงินออกจากบัญชีก็เกิดขึ้นให้เห็นทุกวัน กทม.ให้ความสำคัญการป้องกันภัยคุกคามจากออนไลน์ทุกรูปแบบ จึงร่วมกับ สสส.เร่งสร้างการรับรู้ภัยอันตรายที่เกิดจากข่าวลวง ข่าวปลอม ซึ่งเครือข่าย “โคแฟค ประเทศไทย” จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ให้คนในสังคมได้ตรวจสอบข้อมูลข่าวหลอกลวงที่เกิดขึ้นร่วมกัน และขยายผลความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือได้อย่างเท่าทัน

ประชาชนรับฟังข่าวจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ถ้ามีเบอร์โทรศัพท์แปลกๆ โทร.เข้ามาไม่ต้องรับสาย เป็นการป้องกันตัวเอง ทุกวันนี้ กทม.มีช่องทางในการสื่อสารที่เข้าถึงได้หลายรูปแบบ ข่าวลวงเสมือนกันโรคโควิด เราต้องหามาตรการป้องกันด้วยการล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขณะเดียวกันก็ต้องสวมหน้ากากอนามัย ไม่ให้ข่าวปลอมแพร่กระจายไปยังคนอื่นได้ รวมทั้งการฉีดวัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิต้านทานเชื้อโรค ถ้าคนเรามีภูมิต้านทานที่ดีแล้ว ข่าวปลอมก็ทำอะไรเราไม่ได้ กทม.ฝึกทักษะตรวจสอบข้อมูลให้มากขึ้นด้วย

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค  (ประเทศไทย) ชี้แจงว่า คนไทยถูกมิจฉาชีพใช้ชีปเฟกหลอกลวงมากกว่าดีปเฟก สอดคล้องกับสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  รายงานว่า ตั้งแต่ 1 มี.ค. 2565 - 15 มี.ค. 2567 มีประชาชนแจ้งความทางออนไลน์มากกว่า 400,000 คดี สูงสุด 3 ประเภทที่มักโดนหลอก ได้แก่ 1.ถูกหลอกให้ซื้อสินค้าหรือบริการ (ไม่เป็นขบวนการ) 2.หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 3.หลอกให้กู้เงิน

โคแฟคก่อตั้งเข้าปีที่ 5 ตรวจสอบข่าวการเมือง ข่าวการหลอกลวงของมิจฉาชีพ ซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 1 ในการใช้ Line Chat เพื่อแจ้งข่าวลวง ปีนี้จึงบูรณาการภาครัฐและเอกชนอบรมสร้างทักษะการตรวจสอบข้อมูลในยุคเอไอทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วม 2,500 คน  และสร้างคอนเทนต์ในอินฟลูเอนเซอร์สายตรวจสอบข่าว และพัฒนาให้เกิดศูนย์ตรวจสอบข่าวลวงภูมิภาคกว่า 7 แห่ง อาทิ อีสานโคแฟค มหาวิทยาลัยบูรพา สามจังหวัดชายแดนใต้ และจะเปิดรับภาคีใหม่มาทำกิจกรรมตรวจสอบข่าวและสร้างพลเมืองทุกคนให้เป็น Fact Checker ต่อไป และสุดท้ายขอชวนประชาชนทุกคนฝึกตรวจสอบข่าว เช็กให้ชัวร์ก่อนเผยแพร่ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยเฉพาะในยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง สามารถเข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์ cofact.org

“เราต้องช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกันให้คนไทยมากขึ้น เสมือนหนึ่งการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องอาศัยทุกภาคส่วน รวมทั้งการใช้ Google ตรวจค้น เหยื่อส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ มิจฉาชีพทุกวัยทุกการศึกษาจึงเป็นจุดอ่อนที่จะเข้าถึงตัวเหยื่อ ทางแก้ไขและป้องกันอย่าตื่นตระหนก งานข่าวเป็นเสาหลักสำคัญของอุตสาหกรรม มิฉะนั้นจะทำให้สูญเสียรายได้ที่ผ่านมา Cheapfakes สูญเสียเงิน 3 หมื่นล้านบาทเพราะเชื่อฟังข่าวเท็จ เพียงภาพตัดต่อคนที่มีชื่อเสียงหลอกว่าเป็นคนนั้นๆ ส่วน Deepfakes ใช้ AI มีบทบาททำงานในเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น เสียงที่เปล่งออกมาคล้ายตัวจริง ดังนั้นต้องศึกษาอย่างละเอียด การใช้ Google AI ช่วยทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักในการแยกแยะข้อมูลเพื่อการใช้งานด้วย”

การผลิตข่าวข้อมูลให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้รับการยอมรับทางสากล เห็นพ้องต้องกันกับผู้เชี่ยวชาญ การสร้างจรรยาบรรณนักข่าวเป็นตัวเสริมในโครงสร้างการทำงานขององค์กร มีความโปร่งใส มีเครื่องหมายรับรอง jti สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนองค์กรสื่อในประเทศไทย เมื่อผ่านการประเมินผลงานอย่างมีประสิทธิภาพนี้เป็นการทำงานร่วมกับประเทศออสเตรเลีย สหรัฐฯ CBC องค์การสื่อภาครัฐประเทศแคนาดา”

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สสส. เปิดเผยถึง Cheap  Fakes ถึง Deep Fakes การตรวจสอบ-รู้เท่าทันว่า สสส.มีความห่วงใยสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ทำให้คนกลุ่มหนึ่งเข้าไม่ถึงการให้บริการด้านสุขภาวะทางกาย  จิตวิญญาณ การหลอกลวงได้สร้างความทุกข์อย่างมหาศาล มีคนไร้เดียงสาจำนวนหนึ่งต้องพลอยตกเป็นเหยื่อของการโกหกหลอกลวงโดยเฉพาะ มนุษย์ปุถุชนมีกลุ่มคนโลภ อยากสวย อยากหายป่วย บางครั้งไม่มีเงินรักษาโรคมะเร็ง เมื่อได้รับคำแนะนำให้กินน้ำอุ่นแช่มะนาวฝานจะช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งโดยไม่ต้องรักษา ก็เชื่อทันที ทดลองทำดูเพราะไม่เห็นว่าจะเสียหายแต่อย่างใด แทนที่จะหายป่วยหาย กลายเป็นจนมากขึ้น ดังนั้นการรวมตัวกันในภาคประชาสังคมในทุกระดับพื้นที่ นานาชาติ เพื่อรับมือกับข่าวปลอมจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

'เศรษฐา' ต่อสาย นายกฯกัมพูชา ช่วยปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ภายใน 60 วัน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีโพสต์ข้อความผ่าน X ระบุว่า “ผมได้โทรศัพท์หารือท่านนายกรัฐมนตรี ฮุน มาแนต ของกัมพูชา ในประเด็นการปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเรามีความเห็นตรงกันที่จะ

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ