ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10) และบรรจุใหม่ใน ICD-11 ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศแทน เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิของคนข้ามเพศ และคนที่มีความหลากหลายทางเพศกลุ่มอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2565

จากรายงานการเกณฑ์ทหารของคนข้ามเพศ ต่อการระบุผลการตรวจร่างกายในประเทศไทยปี 2565 โดยมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สมาคมเพศวิถีศึกษาพบคนข้ามเพศ พบว่าส่วนใหญ่ 91% กลับไม่มีความรู้เรื่องการประกาศถอดถอนภาวการณ์ที่มีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม ส่งผลให้คนข้ามเพศคิดว่าตัวเองป่วยโรคผิดปกติทางจิต และไม่เข้ารับบริการสุขภาพเพราะไม่ต้องการตอบปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพ ส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต สะท้อนแนวโน้มกลุ่มคนข้ามเพศส่วนหนึ่งที่เข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงองค์ความรู้ ประกอบกับสถานบริการที่ให้คำปรึกษามีจำกัด และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ด้วยประเด็นปัญหาดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้สานพลัง มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ และภาคีเครือข่ายจัดเวทีเรื่อง “ผลจากการเปลี่ยนแปลงการระบุความเจ็บป่วยใน ICD-11 สู่โอกาสในการเข้าถึงบริการ : จากครอบครัวสู่ระบบบริการสุขภาพเพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ” เนื่องในเทศกาลไพรด์ (Pride Month) ตลอดเดือน มิ.ย. ที่ห้องประชุมอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลจากสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า “หมุดหมายสำคัญของคนข้ามเพศจะต้องได้รับการบริการ สุขภาพตามเจตจำนงการใช้ชีวิต ดังนั้น สสส.ประสานพลังทุกฝ่าย ฝากให้ทุกคนช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีคิด การรักษา คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงจะลดความแตกต่าง ช่วง 2 ปีของการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบจึงเป็นงานที่ท้าทาย เพราะคนที่อยู่ในระบบแพทย์แบบเก่าเป็นสิบๆ ปี ยอมรับการเปลี่ยนข้ามเพศเป็นความสวยงดงาม ผู้ให้บริการทางสุขภาพ พยาบาลปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิต"

"การจัดกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการขยายความร่วมมือ พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่สอดแทรกเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสถานศึกษา และบริการสุขภาพในสถานพยาบาลที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีของคนข้ามเพศ สร้างการรับรู้ของคนข้ามเพศและผู้จัดบริการสุขภาพ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพและการให้บริการต่างๆ  รวมถึงสร้างมาตรการหรือแนวปฏิบัติในการจัดบริการสุขภาพ ที่สอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงการระบุความเจ็บป่วยในบัญชีจำแนกโรคสากล ICD-11 ต่อไป ทั้งนี้ สปสช.เปิดให้สิทธิประโยชน์ในการผ่าตัดแปลงเพศ เพราะปกติค่าใช้จ่ายในการแปลงเพศมีสนนราคาสูงมาก” สสส.เปิดเผย

ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ และรองคณบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมานั้นการผ่าตัดแปลงเพศให้ฮอร์โมนมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่สามารถเบิกจ่ายในระบบ สปสช.ได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพครอบคลุมแพทย์เชิงพาณิชย์ภาคเอกชน ถ้าหากนำเข้าสู่ระบบการบริการภาครัฐตั้งแต่ต้นจะลดภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างดี เพราะทุกวันนี้คนที่เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศจะไปทำกับคลินิกเถื่อน หรือทำกับแพทย์กระเป๋า เมื่อไม่ได้มาตรฐานเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ ก็ต้องกลับมารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐ พบเป็นข่าวคนข้ามเพศเข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศแล้วเสียชีวิตไม่ถึง 10 รายที่มีการรายงานเข้ามายังมูลนิธิฯ เพราะเข้าสู่ระบบการรักษาภาครัฐช้าเกินไป ยังไม่นับรวมเมื่อมีการติดเชื้อส่งผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ ต้องเปลี่ยนแปลงอาชีพ

“การส่งเสริมสุขภาพทางเพศด้วยการแปลงเพศตามสภาพที่ตนเองต้องการ คนที่แปลงเพศจะต้องมีเงินเพื่อเปลี่ยนแปลงเพศสภาพจากชายเป็นหญิง ทำศัลยกรรมหน้าอกใช้ฮอร์โมนเพื่อเปลี่ยนเพศและต้องกินยาฮอร์โมนตลอดชีวิตเพื่อกดฮอร์โมนเดิมให้ต่ำลง เพิ่มฮอร์โมนหญิงเข้าไปแทนที่ เปลี่ยนเสียง ใช้เงิน 6-9 แสนบาท ถ้าเปลี่ยนจากหญิงเป็นชายต้องใช้เงินมากกว่าชายเป็นหญิงถึง 2 เท่า เพราะกลไกของร่างกายมีความซับซ้อนมากกว่า สมัยก่อนไม่มีแพทย์โดยตรงที่จะให้ฮอร์โมนในระดับที่ปลอดภัย เพราะให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ส่งผลกระทบต่อร่างกาย ช่วงหลังจึงส่งแพทย์ไปเรียนต่อเฉพาะทางโดยตรงที่สหรัฐฯ อังกฤษ ปัจจุบันมี รพ.ที่รับรักษาคนไข้ที่ผ่านการแปลงเพศแล้วที่ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.จุฬาฯ รพ.ธรรมศาสตร์ เพราะส่งแพทย์ไปเรียนโดยตรง”

กิจกรรมครั้งนี้เน้นสร้างการรับรู้ในตัวตนให้กลุ่มคนข้ามเพศ และหน่วยงานผู้จัดบริการสุขภาพ รวมถึงเกิดมาตรการหรือแนวปฏิบัติร่วมกันในการจัดบริการสุขภาพที่มีความสอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก โดยใช้หลักการไม่ระบุว่า คนที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นหรือมีภาวะของความผิดปกติทางจิต หรืออาการเจ็บป่วยอีกต่อไป ที่สำคัญเป็นพื้นที่ให้กลุ่มคนข้ามเพศได้ส่งเสียงสะท้อน จากสถานการณ์การตีตราว่าป่วยโรคจิตผิดปกติ และครอบครัวที่มีสมาชิกคนข้ามเพศได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาและความต้องการบริการทางการแพทย์ เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศ ตามกระบวนการทำความเข้าใจเรื่อง ICD-11 ช่วยให้คนข้ามเพศเข้าถึงกระบวนการทางการแพทย์เพื่อยืนยันเพศสภาพ และการดูแลสุขภาพองค์รวม รวมถึงลดอคติ การเหยียดเพศ และเกิดการยอมรับของคนในสังคมเพิ่มขึ้น

นพ.เบญทวิช สุรศาสตร์พิศาล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว Pride Clinic โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ สมาคมเพื่อการพัฒนาสุขภาพบุคคลข้ามเพศและเพศหลากหลาย (ประเทศไทย) (ThaiPATH) เป็นแพทย์ไทย 1 ใน 20 คนที่จบมาทางด้านแพทย์เฉพาะทาง ในการใช้องค์ความรู้ที่เรียนมาจาก รพ.รามาธิบดีและประเทศสหรัฐฯ เพื่อรักษากลุ่ม LGBTQ+ พร้อมยืนยันด้วยว่า กลุ่มหลากหลายทางเพศไม่ได้มีความผิดปกติทางจิต คนกลุ่มนี้ควรเข้าถึงการให้บริการด้านสุขภาพตามที่เขาต้องการ เพื่อสนองความต้องการทางเพศ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่คนข้ามเพศทุกคนที่ต้องการจะผ่าตัดใช้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเพศตัวเอง บางคนพึงพอใจที่จะใช้ชีวิตตัวเองตามเพศสภาพ แต่งตัวตามความพอใจ.


รู้จัก..ICD-10 ICD-11

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 10, 11

ICD-11 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ความไม่สอดคล้องทางเพศสภาวะ (Gender Incongruence) ในบทที่ 17 ภาวะที่สัมพันธ์กับสุขภาพทางเพศ

ปี 2562 ICD-11 ถอนภาวการณ์มีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม ปี พ.ศ.2561 องค์การอนามัยโลกประกาศใช้ ICD-11 

ปี 2555 กระทรวงกลาโหมกำหนดหลักเกณฑ์ ข้อยกเว้นการคัดเลือกเข้ารับราชการทหารของคนข้ามเพศให้เป็นบุคคลจำพวก 2 “ภาวะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด (Gender Identity Disorder)”  

ปี 2554 ศาลปกครองกลาง ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนข้อความระบุว่า “เป็นโรคจิตถาวร” ในแบบ สด.5แบบ สด.9 และแบบ สด.43

ปี 2553 ถอดเรื่องความหลากหลายทางเพศสภาพ (Gender Diversity) ออกจากการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยทางจิต

ปี 2549 กลุ่มคนข้ามเพศยื่นฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนการระบุข้อความว่า “เป็นโรคจิตถาวร”

ปี 2540 เอกสารผลการตรวจเลือด (แบบ สด.43)ระบุข้อความว่า “เป็นโรคจิตถาวร”

ปี 2537 ประกาศใช้ ICD-10 และกำหนดให้บุคคลข้ามเพศเป็นความผิดปกติของอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity Disorders : GID)

ปี 2533 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้บุคคลรักเพศเดียวกันจัดอยู่ในกลุ่มของโรคความผิดปกติทางจิต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน

ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร

อึ้ง! ชาวโลกเผชิญความอดอยาก เกือบ 300 ล้านคน ขาดสารอาหาร 2 ใน 3 อยู่ในเอเชีย น่าห่วง 1 ใน 10 ของเด็กไทยผอมโซ เนื่องในวันอาหารโลก 2567

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี

รณรงค์เปิดพื้นที่..เข้าใจวัยรุ่น ลดปัจจัยเสี่ยงทำร้ายสุขภาวะ

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบเยาวชน อายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่อยู่ที่ 12.7% แม้จะลดจากปี 2560 ที่อยู่ที่ 15.4% แต่ก็ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

“อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” ได้รับรางวัล “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM”

สุดปัง! สสส. คว้ารางวัลสุดยอดอาคารประหยัดพลังงาน “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM” จากการไฟฟ้านครหลวง รับรองเป็นต้นแบบอาคารสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะ

เด็ก3จังหวัดชายแดนใต้สุดรันทด เผชิญทุพโภชนาการเหลื่อมล้ำสูงสุด

เชื่อหรือไม่? เมืองไทยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศ และติดอันดับการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยกินข้าวคนละ 195 กก./ปี