NSM ขับเคลื่อนนโยบาย 'ศุภมาส' ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์-แหล่งเรียนรู้-นักสื่อสารวิทย์ ประกาศเจตจำนงสร้างพลังวิทยาศาสตร์ระดับชาติครั้งแรกของไทย

27 กรกฎาคม 2567 / นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีประกาศเจตจำนงเครือข่ายพลังสื่อสารวิทยาศาสตร์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย ในงาน “Empowering Science Communication and Science Museums” โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM และผู้บริหารหน่วยงานเครือข่ายสื่อสารวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เข้าร่วม เพื่อผนึกกำลังขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ของไทยให้เติบโตแข็งแกร่ง และสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ นับเป็นก้าวสำคัญที่สร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมไปสู่ระดับโลกในอนาคต ตามนโยบาย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ห้องประชุม 208 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

นายเพิ่มสุข กล่าวว่า “การสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึงประโยชน์ของการวิจัยและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคต การรวมพลังของเครือข่ายพลังสื่อสารวิทยาศาสตร์และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของประเทศไทยในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับวงการวิทยาศาสตร์ไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศและสร้างสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์ การรวมพลังครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นเครือข่าย   ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของสังคมไทยต่อไป”

“โดยโครงการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายของ รมว.อว. มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรในแต่ละพื้นที่เพื่อให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อปลูกฝังให้เกิดความสนใจและความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น” ปลัด อว. กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.รวิน เผยว่า “NSM ดำเนินการจัดโครงการ Empowering Science Communication and Science Museums เครือข่ายพลังสื่อสารวิทยาศาสตร์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประเทศไทย ขึ้น เพื่อร่วมประกาศเจตจำนงความร่วมมือในการรวมพลังเป็นเครือข่ายในการร่วมสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนกว่า 47 หน่วยงาน ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการนี้ คือ สร้างความรู้และทักษะให้กับบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพื่อจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน โรงเรียน และครอบครัว ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการคิด และความคิดสร้างสรรค์ให้กับบุคลากรในประเทศ เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเปิดเวทีในการแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ ในประเด็นของกรณีศึกษา แนวทางการดำเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางความร่วมมือในอนาคตในการส่งเสริมความเข้มแข็งของแต่ละเครือข่ายต่อไป”

นอกจากนี้ ในงาน “Empowering Science Communication and Science Museums” ยังจัดกิจกรรมการเสวนาพิเศษแลกเปลี่ยนมุมมองและองค์ความรู้ ในประเด็นของกรณีศึกษา แนวทางการดำเนินงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ กับ Special Report “เหลียวมองทิศทางการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ในจีน เกาหลี ญี่ปุ่น” โดย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ NSM และการเสวนาในหัวข้อ “ทิศทางและโอกาสของการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย” โดยมี ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่วิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ผศ.ดร.ป๋วย อุ่นใจ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), ดร.สุขุม เรืองไชย ผู้ช่วยคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นางสาวจิตต์สุภา ฉิน (ซู่ชิง) Content creator/ Influencer Channel SPIN9 และวิทยากรจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในการเสวนา

ทั้งนี้ กิจกรรมในวันที่ 28 ก.ค. พบกับการเสวนาในหัวข้อ “แหล่งเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม” โดย นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย, ผศ.ดร.ไชยพงษ์  เรืองสุวรรณ รองผู้อำนวยการศูนย์พิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการ NSM, ดร.บัลลังก์ เนื่องแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา, รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.ณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกสตูล สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมและรับของที่ระลึก limited edition ภายในงาน พร้อมลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/C4Hm18NFi8bf5wNE8.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” จัดเต็ม ! ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขนทัพมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศรวมไว้ในที่เดียว พร้อมเปิดงาน One Stop Open House 2024 มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่

วันที่ 27 พ.ย.67 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024”

เดินหน้าต่อเนื่อง! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อความสำเร็จของ "อว.แฟร์"

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวประกาศความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของการจัด งาน "อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมประกาศการเตรียมจัดงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด "อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่:

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง