พ่อแม่ต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยของครอบครัว เพื่อสุขภาวะ"เยาวชนหลากหลายทางเพศ"

ในสังคมปัจจุบันที่มีความหลากหลายทางเพศเพิ่มมากขึ้น เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+) มักต้องเผชิญกับปัญหาการถูกเลือกปฏิบัติ การตีตรา และการไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสมได้ สิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นในโรงเรียนและครอบครัว ซึ่งเป็นสองพื้นที่สำคัญในการพัฒนาตัวตนและความเป็นมนุษย์ของเด็ก ดังนั้น การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในครอบครัวและโรงเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ประเทศไทยมีประชากรกว่า 3.6 ล้านคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+) ซึ่งคิดเป็น 5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และแม้ว่าสังคมไทยจะมีทัศนคติเชิงบวกและเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติกลุ่มคนเหล่านี้ยังคงประสบปัญหาการเลือกปฏิบัติและการถูกตีตราในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการเข้าถึงบริการสุขภาพ กลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการแสดงออกถึงตัวตนของตนเอง เนื่องจากอาจจะไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวหรือโรงเรียน สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อความสุขและสุขภาพจิตของพวกเขาในระยะยาว

โครงการลูกแก้ว “เริ่มต้นโอบรับทุกความหลากหลายและสร้างการมีส่วนร่วม” ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลนิธิเอ็มพลัส และภาคีเครือข่าย เป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการสร้างโรงเรียนต้นแบบที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างทางเพศ โดยการส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ลดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติในโรงเรียน อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. เปิดเผยว่า สสส.ต้องการคุ้มครองสิทธิกลุ่ม LGBTIQN+ จึงให้ทุนสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ทำงานร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำแบบสำรวจชุดประสบการณ์ เพื่อเจาะตัวเลขกลุ่ม LGBTIQN+ ในสังคมไทยโดยแยกแต่ละประเภทให้ชัดเจน

"เรารู้กันว่ามีกลุ่มเลสเบี้ยนมากที่สุด คาดว่าจะรู้ผลวิจัยกลางปี 2568 ทุกวันนี้ในโรงเรียนต่างๆ เด็กมีความหลากหลายทางเพศ ครูแนะแนวคุยกับผู้ปกครองหารือเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะบางครอบครัวพ่อแม่ไม่เข้าใจลูกมองว่าที่ผิดเพศเป็นความผิดปกติ เด็กเป็นทุกข์ก็ปรึกษาเพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนก็ไม่สามารถแนะนำให้ได้  มีปัญหาเด็กถูกกร้อนผมสั้น เรื่องนี้ก็ต้องเข้าใจกฎกติกาสังคม บางโรงเรียนเพิ่มโอกาสให้เด็กเลือกใช้ห้องน้ำตามสรีระที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่บางโรงเรียนไม่สนับสนุนให้มีพื้นที่จัดเป็นห้องน้ำแยกโดยเฉพาะ เนื่องจากพื้นที่ของโรงเรียนมีจำกัด ทั้งนี้ จะมีการประเมินผลเมื่อผ่านไปแล้ว 1 ปี ว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เมื่อครอบครัวยอมรับก็จะมีการให้ฮฮร์โมนอย่างถูกวิธีไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

“สสส.ดำเนินงานพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ 5 ด้าน ได้แก่ 1.คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.พัฒนาฐานข้อมูลและการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะ 3.สร้างระบบบริการสุขภาวะที่เป็นธรรมและเข้าถึงได้ 4.สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายและชุมชน 5.พัฒนาศักยภาพด้านการเสริมสร้างสุขภาวะ ซึ่งโครงการลูกแก้วมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์นี้ สสส. จึงสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมสุขภาวะที่มีสภาพแวดล้อม เอื้อต่อการสร้างเสริมความเข้มแข็งของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ เช่น จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ให้บริการปรึกษาสุขภาพจิต สร้างพื้นที่ปลอดภัยทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและเยาวชนให้มีสุขภาวะที่ดี และเป็นต้นแบบการสร้างสังคมที่โอบรับความหลากหลายได้อีกด้วย” นางภรณี เปิดเผย

นพ.สุนทร สุนทรชาติ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า โครงการนี้เริ่มต้นจากการนำร่องใน 15 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีการเสริมสร้างศักยภาพของครูและนักเรียนให้สามารถส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และสร้างต้นแบบโรงเรียนที่เปิดกว้างอย่างแท้จริง โดยการส่งเสริมการยอมรับในความแตกต่างทางเพศ และการสร้างความเข้าใจในกลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาวะที่ดี

การที่ครอบครัวและโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสร้างความมั่นใจและความสุขให้แก่เด็กเหล่านี้ พ่อแม่ที่ยอมรับและเข้าใจในความหลากหลายทางเพศของลูก เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ และไม่รู้สึกว่าตัวเองต้องซ่อนการแสดงตัวตน อีกทั้งยังส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่

ในหลายๆ กรณี เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญกับการไม่เข้าใจจากพ่อแม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดและปัญหาด้านสุขภาพจิต ดังนั้น การให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจในครอบครัวเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในโรงเรียน

นายพงศ์ภีระ พัฐภีระพงศ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพลัส ชี้แจงว่า การทำงานด้านความหลากหลายทางเพศ เป็นอีกหนึ่งภารกิจหลักของมูลนิธิเอ็มพลัส ที่ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียม และสะท้อนความหลากหลายทางเพศที่มีในสังคมไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านจิตสังคมของเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ LGBTIQN+ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะชีวิต  สร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ยอมรับในความแตกต่าง และเคารพซึ่งกันและกันในกลุ่มวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงพัฒนาตนเองในทางที่ดีขึ้น สู่การเป็นวัยรุ่นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพและสุขภาวะดีในอนาคต

จึงกล่าวได้ว่า การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีพื้นที่ในการแสดงออกถึงตัวตน และความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสร้างให้สังคมมีความสุขและยุติธรรมได้ ซึ่งการสร้างสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างทางเพศนั้น จะต้องอาศัยการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน ทั้งจากรัฐบาล โรงเรียน ครอบครัว และภาคประชาสังคม

นอกจากนี้ยังต้องมีการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมุ่งเน้นสร้างการยอมรับและการเคารพในความแตกต่างกัน เช่น การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการยอมรับในความหลากหลาย การพัฒนาสื่อเพื่อสร้างความเข้าใจ และการให้บริการที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! โรค Stroke คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง สสส. สานพลัง อบจ.ขอนแก่น ปักหมุด ชุมชนบ้านกุดโง้ง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 มี.ค. 2568 ที่วัดเหนือสำโรง ชุมชนบ้านกุดโง้ง ต.หนองโน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี

กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข

สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน

สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน

เปิด 'ยะลาโมเดล' ชวนฟังเคล็ดลับสร้างเมืองสุขภาพดี จากนายกฯ พงษ์ศักดิ์ ที่งาน Active City Forum

“ยะลา” เป็นพื้นที่พหุสังคม ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา ทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเคยเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทว่าเมืองยะลาก็สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ

ไรเดอร์: ฟันเฟืองของสังคมเมือง ต้องการสิทธิและความปลอดภัย

ทุกวันนี้ "ไรเดอร์" หรือแรงงานสองล้อมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่มีจังหวะชีวิตเร่งรีบและการแข่งขันสูง อาชีพนี้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว