PMAC 2025: สสส. ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย ยกระดับสุขภาวะทางปัญญา รับมือวิกฤตโลก ภัยเงียบจากความเหงา-โดดเดี่ยว เทียบเท่าสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน ดื่มเหล้า 6 แก้ว

ที่ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ บางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์ความรู้และประสานงานสุขภาวะทางปัญญา ภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์สุขภาวะทางปัญญา ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และ 7 องค์กร คือ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPF) ธนาคารจิตอาสา IDG Oneness Thailand สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป จัดประชุม Complete Well-being in the Age of AI: The Crucial Role of Spiritual Health and Practical Strategies ความเป็นอยู่ที่ดีอย่างสมบูรณ์ในยุคของ AI: บทบาทสำคัญของสุขภาวะทางปัญญา และกลยุทธ์การปฏิบัติ ภายใต้การประชุม Prince Mahidol Award Conference (PMAC) 2025 การประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันผู้คนใช้เวลาอยู่กับ
โลกโซเชียลและสื่อออนไลน์ มากขึ้น แต่กลับ สื่อสารกับครอบครัวและคนรอบข้างน้อยลง ทำให้เกิดปัญหาทางใจ เช่น ความเหงา ความโดดเดี่ยว และการขาดความเชื่อมโยงทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะโดยตรงงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ทางสังคมกับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดย J. Holt-Lunstad และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสาร PLOS Medicine ระบุว่า อันตรายจากความเหงาเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน หรือการดื่มแอลกอฮอล์วันละ 6 แก้ว นอกจากนี้ ภาวะขาดการสัมพันธ์เชื่อมโยง (Lack of Social Connection) อาจนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การเสพติดสุราและบุหรี่ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรควิตกกังวล ซึมเศร้า และสมองเสื่อม การเผชิญกับ วิกฤตความเหงาและความโดดเดี่ยว กลายเป็นความท้าทายสำคัญของยุคปัจจุบัน ซึ่งจำเป็นต้องเร่งหาแนวทางรับมือและพัฒนางานสุขภาวะทางปัญญาให้แก่สังคม

“ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของ สสส.
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนากลยุทธ์และนโยบายที่เชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุขและการพัฒนาสังคม เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกมิติ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน และสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะทางปัญญาได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยตรวจสอบและวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึก การใช้ AI ในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น การพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการบำบัดและดูแลจิตใจในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงแอปพลิเคชันสำหรับการฝึกสมาธิและเจริญสติ ซึ่งช่วยสนับสนุนกระบวนการเยียวยาและพัฒนาตนเองในระยะยาวอย่างไรก็ตาม แม้ AI จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญา แต่ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงมิติทางอารมณ์และความเป็นมนุษย์ที่ลึกซึ้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ดร.เฟรดริก ลินเดนโครนา หัวหน้าฝ่ายร่วมสร้างสรรค์งานวิจัย เป้าหมายการพัฒนาภายใน (Inner Development Goals: IDG) ประเทศสวีเดน กล่าวว่า การพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและการพัฒนาด้านในเป็นความท้าทายระดับโลก ดร.เฟรดริก ลินเดนโครนา หัวหน้าฝ่ายร่วมสร้างสรรค์งานวิจัย เป้าหมายการพัฒนาภายใน (Inner Development Goals: IDG) ประเทศสวีเดน กล่าวว่าการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและการเติบโตภายในกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญ เช่น ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ IDG มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะสำคัญ เช่น ความเห็นอกเห็นใจ การเข้าสังคม และการสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่าร่วมกัน เพื่อสนับสนุน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างสังคมที่สมดุลและยั่งยืน ตัวอย่างหนึ่งคือ โครงการวิจัยที่พัฒนากลยุทธ์เชื่อมโยงผู้คนผ่านเครือข่ายระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนจาก การแข่งขันเป็นความร่วมมือ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในยุคปัจจุบันการพัฒนาในระดับบุคคลและชุมชนที่ยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ เน้นการมีส่วนร่วมและการเชื่อมโยงในระดับโลก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของโลกยุคใหม่

ดร.กาบอร์ การ์ไซ กรรมการผู้จัดการ Mind and Life Europe กล่าวว่า ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับ Polycrisis หรือ วิกฤตโลกที่ซับซ้อนหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความไม่มั่นคงทางจิตใจ และภาวะโลกร้อน การมี สุขภาวะทางปัญญาที่ดี กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจร่วมกัน และพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมทั้งด้านจิตใจและสังคมในฐานะตัวแทนของ Mind and Life Europe องค์กรที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงการปฏิบัติสมาธิและจิตวิญญาณเข้ากับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา แนวทางการผสมผสานนี้ ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตส่วนบุคคล แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับปัญหาซับซ้อนของโลก การนำสุขภาวะทางปัญญากลับคืนสู่ชีวิตครอบครัวและชุมชน ไม่ได้เป็นเพียงการตอบสนองต่อความโดดเดี่ยวหรือภาวะซึมเศร้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความหวังให้กับคนรุ่นใหม่ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายของยุคสมัย เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวและรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีสติและสมดุล

น.ส. อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้ก่อตั้งศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความเป็นธรรม (International Women’s Partnership for Peace and Justice) กล่าวว่า สุขภาวะทางปัญญาคือพลังขับเคลื่อนความยุติธรรมทางสังคมและการลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สุขภาวะทางปัญญาไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของปัจเจกบุคคล แต่ยังเป็น เครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะในบริบทของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ การค้นพบสันติสุขในจิตใจและความเมตตาผ่านการฝึกสมาธิและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยให้ฉันมีพลังใจต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ในฐานะนักเคลื่อนไหวที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ฉันได้พัฒนากระบวนการที่ผสมผสานแนวคิด สตรีนิยมและจิตวิญญาณ โดยให้ความสำคัญกับ การฟังอย่างลึกซึ้ง การเยียวยาจากภายใน และการสร้างพลังให้กับผู้หญิงในชุมชนที่เผชิญความยากลำบาก สุขภาวะทางปัญญาจึงเป็น หัวใจสำคัญของการเคลื่อนไหวทางสังคม ไม่เพียงช่วยให้เราตระหนักถึง ความทุกข์และการสูญเสีย แต่ยังช่วยสร้างพลังใจในการก้าวไปข้างหน้าเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีสติและยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รองนายกฯ ประเสริฐ มอบ สสส. ทำงานคู่ขนานรัฐ สื่อสารอันตรายบุหรี่ไฟฟ้า เตือนเสี่ยงป่วยซึมเศร้า-กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สูงกว่าคนปกติ 2 เท่า และแจ้งเบาะแสแหล่งขาย

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประธานการประชุมกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 3/2568 เผยมติที่ประชุมเห็นชอบโครงการสร้างเสริมสมรรถนะและขยายเครือข่ายเพื่อพัฒนางานควบคุมการบริโภคยาสูบทุกระดับ เป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่ระบาดหนักในกลุ่มเด็กและเยาวชนทุกพื้นที่ควบคู่ไปกับการทำงานของรัฐบาลอย่างเร่งด่วน

อึ้ง! โรค Stroke คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง สสส. สานพลัง อบจ.ขอนแก่น ปักหมุด ชุมชนบ้านกุดโง้ง แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 17 มี.ค. 2568 ที่วัดเหนือสำโรง ชุมชนบ้านกุดโง้ง ต.หนองโน อ.กระนวน จ.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สสส. ร่วมกับ จุฬาฯ ร่วมรณรงค์ World Kidney Day สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

“วันไตโลก ปี 68” คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน สูญเสียปีสุขภาวะเร็วขึ้น 3.14 เท่า! เหตุบริโภคเค็ม-ใช้ยาไม่ถูกต้อง-เกินความจำเป็น เผยประชาชนเข้าใจเรื่องการใช้ยาที่ถูกต้องแค่ 64.9% สสส. สานพลัง จุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต

รวมพลังชุมชน ขับเคลื่อนการจัดการป่า ลดฝุ่นควัน สร้างสุขภาวะที่ดี

กรุงเทพฯ/12 มีนาคม 68 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)หรือ พอช. จับมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนการจัดการป่าชุมชนเพื่อลดฝุ่นตวันและสร้างสุข

สสส.-พอช. ผนึกกำลัง 16 จังหวัด เดินหน้าป่าชุมชน ลดเผา-แก้ PM2.5 อย่างยั่งยืน

สสส. จับมือ พอช. และภาคีเครือข่าย เดินหน้าบริหารจัดการป่าชุมชน 60 แห่งใน 16 จังหวัดทั่วประเทศ เร่งแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 เสริมศักยภาพชุมชนลดการเผา พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการป่าอย่างยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพประชาชน

เปิด 'ยะลาโมเดล' ชวนฟังเคล็ดลับสร้างเมืองสุขภาพดี จากนายกฯ พงษ์ศักดิ์ ที่งาน Active City Forum

“ยะลา” เป็นพื้นที่พหุสังคม ที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา ทั้งยังเป็นพื้นที่ซึ่งเคยเผชิญกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทว่าเมืองยะลาก็สามารถพัฒนาสู่เมืองสุขภาวะ