เวที “สานพลังภาคีสู่พื้นที่เข้มแข็ง”
จังหวัดพัทลุงเปิดเวทีใหญ่ “สานพลังภาคีสู่พื้นที่เข้มแข็ง” รวมตัวภาคีทั้งภาครัฐ เอกชน วิชาการ และประชาสังคม ระดมสมองวางทิศทางพัฒนาจังหวัด มุ่งสู่เป้าหมาย “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” พร้อมลงพื้นที่เรียนรู้ตำบลต้นแบบ “โคกม่วง” สะท้อนพลังชุมชนสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง
พัทลุง/13 พฤษภาคม 2568 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ 8 ภาคีเครือข่าย จัดเวที “สานพลังภาคีสู่พื้นที่เข้มแข็งจังหวัดพัทลุง” รวมพลังร่วมวางแนวทางเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนพัทลุงบนฐานทุนชุมชนและความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยมี นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานในการกล่าวเปิดเวทีในครั้งนี้ ผุ้เข้าร่วมประกอบไปด้วย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก (สช.) ศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ (นิด้า) นายแพทย์เติมชัย เต็มยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นายธงศักดิ์ชัย สายพระราษฏร์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข นางเข็มเพชร ลีละพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รศ. ดร. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ สมาชิกสภาเมืองลุง สภาองค์กรชุมชน ภาคีเครือข่าย สสส. พอช. หน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น เยาวชน และนักพัฒนา กว่า 400 คน ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
ผู้ว่าฯ พัทลุงชี้จังหวัดมีศักยภาพสูง มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต-ดันหลุดพ้นความจนใน 1-2 ปี
นายรัฐศาสตร์ ชิดชู ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า แม้พัทลุงจะเป็นจังหวัดเล็ก แต่มีศักยภาพสูงทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน วิถีชีวิตของประชาชน และทรัพยากรในพื้นที่ อีกทั้งยังมีปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ท้องถิ่นจำนวนมากที่สามารถเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน “เรามีฐานทุนด้านทรัพยากรและวัฒนธรรมที่สามารถต่อยอดได้อีกมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มาเยือนพัทลุงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากมีการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ทำให้จังหวัดเป็นที่รู้จักมากขึ้น โรงแรมที่พักมีอัตราการเข้าพักสูงขึ้นอย่างชัดเจน”
จังหวัดมีเป้าหมายที่จะทำให้ประชาชนหลุดพ้นจากกับดักความยากจนภายใน 1-2 ปี ผ่านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การสร้างรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ถ้าทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาจังหวัดพัทลุงให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายรัฐศาสตร์ กล่าว
พัทลุงเดินหน้าสร้างมหานครสำหรับทุกคน “สานพลัง” สู่ความหวังในการพัฒนาที่ยั่งยืน
รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานพัฒนาจังหวัดพัทลุงในครั้งนี้ คือการรวมพลังเพื่อสร้าง “พัทลุงมหานคร” เมืองที่เป็นของทุกคน ผ่านแนวคิด soft power movement โดยใช้ความสุขของประชาชนและความเข้มแข็งของชุมชนเป็นเป้าหมายหลัก พื้นที่จังหวัดพัทลุงมีความหลากหลายของหน่วยงาน องค์กร และภาคส่วนต่าง ๆ ที่ล้วนมีอัตลักษณ์เฉพาะตน คำถามสำคัญคือ “จะเชื่อมร้อยพลังเหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร โดยไม่ทำลายตัวตน และสามารถสร้างเรื่องราวร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม”
รศ.ดร.ณฐพงศ์ เน้นย้ำว่า การสานพลังคือหัวใจของการสร้างพื้นที่เข้มแข็ง และเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งต่อพลังจากภายในพื้นที่ออกสู่ภายนอก สร้างการรับรู้ใหม่ ๆ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงเปิดมุมมองใหม่ในการร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
“พื้นที่เป็นตัวตั้ง” การทำงานเชิงพื้นที่ คือคำตอบของการพัฒนา และการสานพลัง คือความหวังที่จะนำไปสู่อนาคตร่วมกันของจังหวัดพัทลุงและประชาชนทุกคน การผลักดันในเชิงนโยบายจากภาคประชาชนในระดับท้องถิ่น ต้องสามารถต่อยอดไปสู่แผนพัฒนาระดับจังหวัดได้จริง และนี่คือความหวังของการสานพลัง รศ.ดร.ณฐพงศ์ กล่าวในตอนท้าย
พอช. ชี้ “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ต้องเริ่มจากชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนลุกขึ้นจัดการตนเอง
นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. กล่าวว่า การพัฒนา “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” จะเกิดขึ้นได้ หากสามารถวางรากฐานให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง และนำจุดแข็งของแต่ละหน่วยงานมาหนุนเสริมซึ่งกันและกัน “การพัฒนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้กำหนด แต่ขึ้นอยู่กับการลุกขึ้นมาร่วมมือกันของภาคประชาชน ซึ่งต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนจังหวัดไปสู่เป้าหมายร่วมกัน”
ทั้งนี้ บทบาทของ พอช. คือการหนุนเสริมองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมให้เข้มแข็ง รวมถึงสนับสนุนให้ประชาชนสามารถลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ทั้งในด้านการหารือ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนเอง
นายกฤษดา เน้นย้ำว่า “เรื่องใดที่ประชาชนสามารถทำเองได้ ต้องลงมือทำเอง” พร้อมระบุว่า การผลักดันพื้นที่เข้มแข็งจะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของกระบวนการพัฒนาอย่างแท้จริง
สภาขับเคลื่อนพัทลุงฯ ชู 3 ความท้าทายสู่มหานครแห่งความสุข จัดการตนเองภายในปี 2575
นายสุวัฒน์ คงแป้น คณะทำงานสภาขับเคลื่อนพัทลุงนครแห่งความสุข กล่าวถึง ความท้าทายสำคัญในการพัฒนา “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ว่ามี 3 ประเด็นหลักที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนภายในปี 2575 ความท้าทายแรกคือ การฟื้นฟูระบบนิเวศและการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยให้ประชาชนมีบทบาทเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางและจัดการทรัพยากรของตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างชีวิตที่มั่นคง ประการที่สองคือ การประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ และการเปิดพื้นที่กลางสำหรับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เช่น “สภาคนเมืองลุง” ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงและบูรณาการพลังจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนพัทลุงสู่เป้าหมาย การสร้าง “รูปธรรม” ที่จับต้องได้ ทั้งในด้านองค์ความรู้ และการจัดการตนเองของประชาชน ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างชัดเจนภายในปี 2575 เพื่อพิสูจน์ว่าคนพัทลุงสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้อย่างแท้จริง
ชี้ “การเรียนรู้ร่วมกัน” คือหัวใจเสริมพลังทุกภาคส่วน หนุนตั้งกองทุนระดับจังหวัด สร้างความมั่นคงยั่งยืน
ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคเนติ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า “การเรียนรู้ร่วมกัน” คือกลไกสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการพัฒนาจากฐานพื้นที่ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันออกแบบกลไกการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ โดยหนึ่งในแนวทางสำคัญคือ การผลักดันให้เกิด “กองทุนระดับจังหวัด” เพื่อสร้างความมั่นคงและความต่อเนื่องในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในระยะยาว
เลขาธิการ สช. หนุนขับเคลื่อน “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ย้ำพัฒนาประชาธิปไตยฐานรากต้องมาจากการมีส่วนร่วม
นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึง แนวทางการพัฒนาพัทลุงสู่มหานครแห่งความสุขว่า การสร้างประชาธิปไตยฐานรากต้องยึดหลัก “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในการจัดทำนโยบายและวางทิศทางการพัฒนา ยืนยันว่า สช. ยินดีร่วมสนับสนุนกระบวนการขับเคลื่อนทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน และร่วมสร้าง “สังคมสุขภาวะ” ที่ทุกคนมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตร่วมกัน
นายก อบจ.พัทลุง หนุนสร้าง “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ดึงคนรุ่นใหม่กลับบ้านพัฒนาท้องถิ่น
นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง กล่าวถึง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนจังหวัดพัทลุงสู่ “มหานครแห่งความสุข” ว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจให้คนในพื้นที่ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ กลับมาทำงานเพื่อบ้านเกิดของตนเอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงพร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับทุกหน่วยงานและภาคีเครือข่าย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่การเป็นเมืองที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข
ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อน “พัทลุงมหานครแห่งความสุข”
เครือข่าย “สภาคนเมืองลุง” ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อน “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” ภายในปี 2575
นายสมภา ใจกล้า ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัดพัทลุง อ่าน “ปฏิญญาเมืองลุง” ในนามของสภาคนเมืองลุง ภาคีสานพลังพัทลุง และภาคีพื้นที่เข้มแข็ง ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันขับเคลื่อนจังหวัดพัทลุงให้เป็นจังหวัดที่สามารถระดมทุน ทรัพยากร และความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาและจัดการตนเองโดยใช้ข้อมูลและบริบทพื้นที่เป็นฐาน ตั้งเป้าหมายให้ “พัทลุง” ก้าวสู่ “มหานครแห่งความสุข” ภายในปี พ.ศ. 2575 พร้อมย้ำเจตจำนงในการสร้าง “รูปธรรมการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง” เพื่อส่งมอบแผ่นดินที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ เศรษฐกิจเติบโต ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และระบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้กับลูกหลานเติบโตและใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและมีความสุขในอนาคต
คำปฎิญญาเมืองลุง
ข้าพเจ้า สภาคนเมืองลุง ภาคีสานพลังพัทลุง และภาคีสานพลังพื้นที่เข็มแข็ง ขอให้ปฎิญญาว่า พวกเราจะร่วมกันทำงาน สนับสนุนให้พัทลุง ก้าวไปสู่จังหวัด ที่มีความสามารถระดมทุน ทรัพยากรและความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดการพัฒนา และจัดการปัญหา โดยใช้ข้อมูล และบริบทของพื้นที่ เป็นฐานในการจัดการตนเอง สู่ “พัทลุงมหานครแห่งความสุข” รวมทั้งจะร่วมกัน สร้างรูปธรรม ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ของการพัฒนาให้สำเร็จ ภายในปี พ.ศ.2575 ทั้งนี้เพื่อส่งมอบแผ่นดิน ที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความแข็งแกร่งแห่งภูมิปัญญา วัฒนธรรม ตลอดจนระบบต่าง ๆ ของคนเมืองลุง ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และของโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อเป็นของขวัญให้กับลูกหลาน ให้มีชีวิตที่มั่นคง เติบโต ดำรงชีพอย่างมีความสุขตลอดไป
คณะผู้บริหาร พอช.
ช่วงบ่าย คณะผู้บริหารภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ศึกษาดูงานที่ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการระหว่างภาคี ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและการจัดการตนเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พอช. แจงข้อเท็จจริง “บ้านมั่นคงเพชรธนา” อุดรธานี – เดินหน้าแก้ปัญหาสหกรณ์ ฟื้นฟูความเชื่อมั่น
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ชี้แจงกรณีร้องเรียนโครงการบ้านมั่นคงเพชรธนา จังหวัดอุดรธานี ย้ำให้ความสำคัญกับความโปร่งใสของกระบวนการ
กาญนะจ๊ะ เดินหน้าระบบจัดการ-ตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชน สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจฐานราก
พอช. จับมือขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี ระดมความคิดวางแนวทางจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชนต้นแบบ พัฒนาเครือข่ายการตลาด สร้างเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน พร้อมหารือโมเดลบริหารจัดการข้อมูลและทุนในพื้นที่
พม. จับมือเครือข่าย จัดกิจกรรม หนุนพลังครอบครัว-ชุมชน ริมคลองเปรมประชากร พัฒนาเด็ก เยาวชนยั่งยืน พร้อมแก้ปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา
นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick off โครงการ “Prem’s Plearn” จุดพลังครอบครัว ชุมชน ร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และการส่งเสริมบทบาทของครอบครัวในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในชุมชนให้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ
‘เชียงรายล้านนาแห่งความสุข’ รวมพลังทุกภาคส่วนพัฒนาจังหวัดเข้มแข็งอย่างยั่งยืน”
เปิดตัว “ภาคีอาสา” จุดประกายการพัฒนาจังหวัดเชียงรายสู่เมืองสุขภาวะ ด้วยการบูรณาการ 9 หน่วยงานหลักร่วมกับภาคประชาชน หนุนสร้างพื้นที่กลาง
“น้ำท่วมแม่สายหนัก! พอช. ลงลุยพื้นที่ เยี่ยมให้กำลังใจ ทุ่มงบเร่งฟื้นฟูชุมชน”
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เร่งเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยแม่สาย อนุมัติงบกว่า 4.9 ล้านบาทช่วยซ่อมบ้าน 318 ครัวเรือน พร้อมเดินหน้า “บ้านมั่นคงภัยพิบัติ”
เชียงรายเดินหน้า “จังหวัดจัดการตนเอง” ผนึกพลังทุกภาคส่วน เปิดศูนย์ประสานงานขบวนองค์กรชุมชน เดินหน้าสู่ “ล้านนาแห่งความสุข”
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ผนึกกำลัง ม.ราชภัฏเชียงราย พร้อมภาคประชาชน เปิดศูนย์ประสานงานขบวนองค์กรชุมชนฯ ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์