เปิดโพลวันวิสาขบูชาปี 2565

วธ.เผยผลโพล’วันวิสาขบูชา ปี 65′ ประชาชนรู้ความสำคัญ เป็นวันประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน พบสนใจตักบาตร-ทำบุญ-เวียนเทียน น้อมนำศีล 5 เป็นหลักชีวิต พ่อแม่ใช้วิธีพาเข้าวัดจูงใจร่วมกิจกรรมส่งเสริมพุทธศาสนา

13 พ.ค.2565 – นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชน และประชาชน (โพล) ที่มีต่อ “วันวิสาขบูชา ปี 2565” ปีนี้ตรงกับวันที่15 พฤษภาคม 2565 จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 7,865 คน ครอบคลุมทุกอาชีพและทุกภูมิภาค  ผลสำรวจพบว่า เด็ก เยาวชน และประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.28 คิดว่าวันวิสาขบูชามีความสำคัญ คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประสูติ รองลงมา  ร้อยละ 67.15 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ร้อยละ 63.55 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และร้อยละ 49.26 เป็นวันสำคัญสากลของโลก และผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 51.46 สนใจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชาในปีนี้
         ขณะเดียวกันเมื่อถามถึงปัจจุบันอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องการให้จัดกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชารูปแบบใด พบว่า ส่วนใหญ่อยากให้จัดกิจกรรมรูปแบบปกติและรูปแบบออนไลน์ควบคู่กัน  ส่วนกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) ที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สนใจเข้าร่วม 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ตักบาตรพระสงฆ์ อันดับ 2 ทำบุญ ทำทาน อันดับ 3 ลด ละ เลิก อบายมุข  อันดับ 4 เวียนเทียน และอันดับ 5 ฟังพระธรรมเทศนา
        รมว.วธ กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามเด็ก เยาวชนและประชาชนในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนจะนำหลักธรรมใดมายึดถือปฏิบัติและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า  “ศีล 5”เป็นศีลพื้นฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธทุกคนยึดถือปฏิบัติเป็นหลักของชีวิต  รองลงมา “สติ” ความรู้สึกตัว ความระลึกได้ ความรับรู้ การเอาจิตไปรับรู้ ในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือปรากฏขึ้น ในปัจจุบัน  “อริยสัจ 4”  (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) คุณธรรมแห่งความสำเร็จและหลักการครองงาน และท้ายสุดความกตัญญูกตเวที ความรู้และตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้
         นอกจากนี้ ผลสำรวจได้สอบถามถึงวิธีการจูงใจให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชา มากขึ้น 5 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 พ่อ แม่/ปู่ย่า ตายาย/ญาติพี่น้อง พาลูกหลานเข้าร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชา อันดับ 2 เปิดแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมหรือเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีออนไลน์ อันดับ 3 ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมผ่านโซเชียลมีเดีย อันดับ 4 หน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคประชาชนและคณะสงฆ์ ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในมิติทางศาสนา ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอันดับ 5 นำศิลปินดารา บุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์/เชิญชวนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 

ส่วนกิจกรรม/ประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า ควรสืบสาน รักษาไว้ให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป เช่น ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ ประเพณีพิธีสมโภช น้ำสรงพระบรมธาตุดอยสุเทพ (เตียวขึ้นดอย)  รวมทั้งงานวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (ตรงกับเดือน 6 ของไทย) เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ทั้งนี้ วธ.โดยกรมการศาสนา ขอเชิญชวนเด็ก เยาวชนและประชาชน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันวิสาขบูชา ปี 2565 ในกิจกรรมตามรอย Buddha ตอบปัญหาธรรมะที่เวบไซต์ www.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.com วันที่ 15  พฤษภาคม 2565 เวลา 08.30 – 16.30 น. ผู้ตอบปัญหาธรรมะผ่าน 5 ข้อขึ้นไป 100 คนแรก จะได้รับของที่ระลึกจากกรมการศาสนา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

บวงสรวงเทพยดางาน'ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์'

19 เม.ย.2567 - เวลา 08.19 น.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเทพยดางาน “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมี พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

20 ชุมชนชิงต้นแบบ'เที่ยวชุมชน ยลวิถี'

ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนั้นกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย แต่ละชุมชนมีความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ วิถีชีวิต เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวตามบริบทของชุมชน เพื่อคัดเลือกชุมชนต้นแบบ”เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ