เรือจำลองสัญชาติสมุทรสาคร ต่อยอดวิสาหกิจชุมชน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) พัฒนาเรือจำลองที่สวยงามหลายแบบ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวสมุทรสาคร เช่น เรือประมงบางหญ้าแพรก เรืออวนลาก เรืออวนล้อม เรือมหาสมบัติ รวมถึงกังหันลมนาเกลือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นที่ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหวังทำเงิน

เรือจำลองที่ผ่านการพัฒนาและออกแบบให้ทันสมัย ปรับจากเดิมที่มีฝาแก้วครอบผลิตภัณฑ์  ทำให้ผลิตภัณฑ์มีปัญหาขนส่งไม่สามารถส่งออกได้  คณะวิทยาการจัดการแนะไอเดียให้ดึงความถนัดงานแกะสลักของชาวบ้านมาใช้ และนำไม้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่มาแกะสลักเป็นกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์เพิ่มความสวยงาม หมดปัญหาเรื่องการขนส่ง

ส่วนเรือมหาสมบัตินั้นออกแบบลวดลายบนเรือใหม่ เพิ่มสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความเป็นสมุทรสาคร ประกอบด้วย อักษร ”ป.” มาจากคำว่า “ประมง” ประดับด้วย“ดอกพญาสัตบรรณ” ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร และ”ดอกหญ้าแพรก” สื่อถึงชุมชนบางหญ้าแพรก  มีการเพิ่มฟังชั่นเรือประมงจำลองเป็นเรือมหาสมบัติ สามารถนำไปใช้งานได้เอนกประสงค์  สามารถเปิดดาดฟ้าของเรือ เพื่อใช้เป็นภาชนะใส่อาหารและอาหารว่างเสิร์ฟเก๋ๆ   หรือใส่เครื่องหอมต่าง ๆ  เรือจำลองนี้สามารถเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว มองเป็นการเพิ่มสีสันให้ธูรกิจร้านอาหาร โรงแรม เปิดช่องทางใหม่ในการจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชนได้

ผศ.ดร.ณุศณี มีแก้วกุญชร คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มบส. เล่าว่า ตนและทีมวิทยากรในโครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น : กิจกรรมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น หรือ University  as Marketplace  ได้ลงพื้นที่ชุมชนใน จ.สมุทรสาคร เป็นพื้นที่เป้าหมายการให้บริการของคณะฯ ที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่  พบว่า ผู้ประกอบการมีปัญหาหลากหลาย  ส่วนชุมชนต้องการการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คณะทำงานทำงานร่วมกับผู้ประกอบการและชุมชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี  

 ปีนี้ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ OTOP เข้าสู่การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 (OTOP Product Champion : OPC) ระดับจังหวัด เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาระดับประเทศ จัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ถ้าต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนสมุทรสาครแล้วผ่านการคัดสรร 5 ดาว จะจำหน่ายได้มากขึ้นและส่งออกต่างประเทศได้ด้วย  

คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ให้ข้อมูลว่า ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในสมุทรสาครที่ทาง มบส.เข้าไปช่วยพัฒนาและส่งเข้ารับการคัดสรร OTOP นอกจากวิสาหกิจชุมชนเรือจำลองบางหญ้าแพรกแล้ว ยังมีวิสาหกิจชุมชนกลิ่นไอตาล 3 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ น้ำตาลปึก น้ำตาลสด และน้ำตาลมะพร้าวชนิดเหลว, วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านกระซ้าขาว 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำปลาหวาน และเคยปรุงรสอบแห้ง

วิสาหกิจชุมชนบ้านเห็ดขวัญวัลย์ฟาร์ม  3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำพริกเห็ดรสปลาทูน่า , บิสกิตผักโขมและลูกชิ้นเห็ดผสมออกไก่ และวิสาหกิจชุมชนสวนปาณิสรา 1 ผลิตภัณฑ์  ได้แก่ กระเป๋าผ้ามัดย้อมใบฝรั่ง ขั้นตอนปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณคัดสรรผลิตภัณฑ์  

“  คณะเข้าไปให้ความรู้ด้านต่างๆ  ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ  ดึงอัตลักษณ์และความโดดเด่นของชุมชนเข้ามาผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ในการดึงดูดลูกค้า และพยายามทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายสินค้าได้ปริมาณมากขึ้น รวมถึงมีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ไม่เฉพาะในชุมชมหรือในจังหวัดเท่านั้น อย่างเรือจำลองดูเก๋ไก๋มากขึ้น ไม่เพียงเป็นของที่ระลึกตั้งโชว์ สามารถใช้ประโยชน์ได้ คุ้มค่า เพิ่มลูกค้าและขยายกลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น เช่น โรงแรมห้าดาว และชาวต่างชาติ แผนพัฒนารวมถึงการให้ความรู้ผู้ประกอบการทำช่องทางการตลาด โดยเฉพาะออนไลน์ ซึ่งมาแรงมาก  ปีนี้มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายทำความร่วมมือกับบริษัทขายออนไลน์ต่อไปเพื่อจะนำสินค้าของชุมชนมาจำหน่ายด้วย  5 วิสาหกิจชุมชนที่คณะช่วยพัฒนาต่างพอใจ เพราะสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพและมีรายได้มากขึ้น  “ ผศ.ดร.ณุศณี  กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

พีระพันธุ์ ลงพื้นที่ ชุมพร-ระนอง สั่งการทุกพื้นที่ต้องเข้าถึงพลังงาน

พีระพันธุ์ ลงพื้นที่ ชุมพร - ระนอง เยี่ยมชมโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชน พร้อมมอบนโยบายให้พลังงานจังหวัด ลั่น ประชาชนต้องเข้าถึงพลังงาน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

รมช.อนุชา ชื่นชม ‘ห้วยทรายโมเดล’ วิสาหกิจชุมชน จ.สุราษฎร์ธานี ต้นแบบแปรรูปสินค้าเกษตรครบวงจร พัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 3 ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เพิ่มขีดความสามารถให้วิสาหกิจชุมชนผ่านแนวทางปฏิบัติทางบัญชีที่ใส่ใจบริบททางวัฒนธรรม

ด้วยประเทศไทยมีชุมชนในระดับรากหญ้าอยู่จำนวนมากที่มีการรวมตัวกันใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นในการประกอบธุรกิจ ซึ่งขนาดธุรกิจยังมีขนาดที่เล็กมากไม่ถึงขนาดวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และด้วยจำนวนชุมชนที่มีอยู่อย่างมากทั่วประเทศ