70 ปี หอจม.เหตุฯ เดินหน้า 3 โปรเจคพิเศษ

เหตุการณ์สำคัญของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ทั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562  เหตุการณ์สวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ  หรือปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่าในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน มีการบันทึกเหตุการณ์และจัดทำจดหมายเหตุ เพื่อเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเป็นเพียงหน้างานเดียวที่ทำให้คนส่วนใหญ่รู้จักงานจดหมายเหตุแห่งชาติ แต่ยังมีภารกิจอนุรักษ์เอกสารจดหมายต้นฉบับ และประเมินคุณค่าเอกสาร จัดเก็บให้บริการเอกสารทรงคุณค่า เพื่อการศึกษาค้นคว้า    

ในโอกาสครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา กรมศิลปากรจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองและนิทรรศการเรื่อง” 70 ปี  จดหมายเหตุแห่งชาติ” เสนอเรื่องราวความเป็นมาของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จัดแสดงเอกสารชิ้นสำคัญของหอจดหมายเหตุแห่งชาติแต่ละแห่ง เช่น เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม พ.ศ.2411 ถึง 2453  เอกสารชุดนี้ถือว่าสมบูรณ์ครบถ้วนมีความสำคัญระดับโลก ,เอกสารเรื่องการเพาะเลี้ยงปลานิลพระราชทานของสถานีประมง (กว๊านพะเยา) ,ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำโลก และเอกสารสำคัญอีกมากมาน เพื่อสร้างความตื่นตัวเอกสารประวัติศาสตร์เป็นสมบัติของชาติ  สามารถมาชมได้ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ย่านเทเวศร์

กิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กิจการด้านจดหมายเหตุของประเทศไทยมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านกระบวนการดำเนินงานและการให้บริการสู่ประชาชน เป็นที่ยอมรับในด้านวิชาการและการให้บริการมาโดยตลอด งานด้านจดหมายเหตุแห่งชาติ มีบทบาทสำคัญจัดเก็บรวบรวม รักษาไว้ซึ่งเอกสารสำคัญเอกสารประวัติศาสตร์ของชาติ นำไปสู่การให้บริการเผยแพร่ความรู้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
70 ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ อธิบดี ศก. กล่าวว่า เพื่อพัฒนางานจดหมายเหตุของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมจึงเปิด 3 โครงการใหม่   ได้แก่  โครงการ” เพิ่มข้อมูล พูนค่าภาพ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชน และนักวิชาการในสาขาต่างๆ มีส่วนร่วมในการอ่านภาพเก่าในหอจดหมายเหตุ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ ,โครงการขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำของประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบที่ให้ประชาชน หน่วยงาน องค์กร ขอขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำที่สำคัญของตนเอง และนำไปสู่การคัดเลือกเอกสารสำคัญ เพื่อขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก และโครงการระบบการขออนุมัติทำลายเอกสาร ซึ่งเป็นระบบที่หน่วยงานรัฐจะต้องจัดส่งข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุเพื่อขอทำลายและเพื่อให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ สงวนเอกสารจดหมายเหตุ ระบบนี้อำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานภาครัฐในการจัดส่งเอกสารจดหมายเหตุในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์ เอกเซล และสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบเอกสารจดหมายเหตุในรูปแบบ API กับระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย เพิ่มความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น


ด้าน ณิชชา จริยเศรษฐการ ผอ.สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวว่า การดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  บุคลากรได้ศึกษา พัฒนาองค์ความรู้วิชาการจดหมายเหตุจากต่างประเทศ จัดหาเทคนิคและเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละยุคสมัยมาประยุกต์ใช้บริหารจัดการงานจดหมายเหตุ พัฒนาตั้งแต่การรับมอบเอกสารจากหน่วยงานรัฐ บุคคลสำคัญของประเทศ นำมาประเมินคุณค่าเอกสาร จัดหมวดหมู่ จัดทำเครื่องมือช่วยค้น  จัดเก็บ อนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ และให้บริการแก่ผู้ค้นคว้า รวมถึงบันทึกเหตุการณ์สำคัญของประเทศ ขยายงานจดหมายเหตุสู่ภูมิภาค สามารถรวบรวมเอกสารประวัติศาสตร์ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของไทย และรักษาเอกสารมรดกวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังใข้เป็นหลักฐานอ้างอิงประวัติศาสตร์สมบูรณ์ที่สุด

“ การพัฒนางานจดหมายเหตุแห่งชาติ อยากผลักดันให้มีหอจดหมายเหตุระดับจังหวัด แม้มันยังไม่เกิดขึ้นในไทย ปัจจุบับเราเน้นย้ำเอกสารราชการ เอกสารการบริหารงาน เห็นความเปลี่ยนแปลงและแนวคิดแต่ละยุคสมัย อยากให้รวบรวมเก็บรักษา หากไม่มีศักยภาพจัดเก็บ ให้สงวน และส่งมอบสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ก่อนทำลายประวัติศาสตร์ประเทศไทย “ ณิชชา กล่าว

ส่วนโครงการขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำ ณิชชา กล่าวเสริมว่า คนส่วนใหญ่คุ้นมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่เป็นสถานที่ แต่ไม่รู้ว่าการเขียนลงหนังสัตว์ ใบลาน แผ่นศิลา เป็นมรดกความทรงจำ เราค้นหาเอกสารลักษณะนี้เพื่อขึ้นทะเบียน เป็นการแสดงถึงรากเหง้าของประเทศ ครบ 70 ปี เป็นครั้งแรกจัดทำระบบให้ประชาชนขอขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ ไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกแล้ว 5 รายการ ได้แก่ ศิลาจารึก หลักที่ 1 , เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารการปกครองประเทศสยาม ,จารึกวัดโพธิ์ ,บันทึกการประชุมคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรอบ 100 ปี  และฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณขึ้นทะเบียน ขณะนี้ ศก.ขอขึ้นทะเบียนตำนานอุรังคธาตุและเอกสารโบราณนัทโปนันทสูตรคำหลวงเป็นมรดกความทรงจำของโลก รอประกาศผลจากยูเนสโก

ทั้งนี้ นิทรรศการ 70 ปี จดหมายเหตุแห่งชาติ เปิดให้เข้าชมจนถึงวันที่ 16 ก.ย.นี้ ทุกวัน ยกเว้นเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศรีเทพมรดกโลกฉลองใหญ่ ผู้ชมทะลุล้าน

เมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง จ.เพชรบูรณ์ มีชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าชมโบราณสถานอันทรงคุณค่าระดับโลกมากกว่า 1 ล้านคนแล้ว นับตั้งแต่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองยอดผู้เข้าชมทะลุหลักล้าน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 

ไทยส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ'โกลเด้นบอย'ที่สหรัฐ ก่อนส่งคืน

26 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MET) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุประติมากรรมสำริด 2 รายการ ซึ่งมีหลักฐานว่าถูกนำออกจากประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย

อนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน 2 รัชกาล วัดราชประดิษฐฯ

คัมภีร์ใบลานที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตร คัมภีร์โบราณนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับวัด ซึ่งเป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  เป็นคัมภีร์ใบลานที่เคยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมตั้งแต่สมัย ร.  4 ถือว่าเป็นคัมภีร์ใบลานฉบับหลวง

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

สรงน้ำพระธาตุ-เทวดานพเคราะห์ เทศกาลสงกรานต์

เนื่องในเทศกาลสงกรานต์สงกรานต์ กรมศิลปากรขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2567  เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน