'ศิริวร แก้วกาญจน์'คว้าซีไรต์ปี 64 จากนิยาย'เดฟั่น'

นวนิยายเรื่อง”เดฟั่น” โดยศิริวร แก้วกาญจน์ คว้ารางวัลซีไรต์ ปี 2564 คณะกรรมการชี้เป็นเสมือนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เขียนตอบโต้ประวัติศาสตร์กระแสหลัก เดินเรื่องสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เล่าเรื่องอย่างมีวรรณศิลป์

10 ม.ค. 2565 – งานประกาศผลการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประเภท”นวนิยาย” ประจำปี 2564  คณะกรรมการดำเนินงานรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์)   ปรับเป็นรูปแบบออนไลน์ทางเพจสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ  @penthailand  เพจสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย @thaiwriterassociation  ตามรัฐบาลได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยโรคโควิด-19 เป็นระดับ 4

คณะกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์พิจารณาจากนวนิยาย 10 เรื่องที่เข้ารอบสุดท้าย ดังนี้  1.24-7/1 โดยภูกระดาษ สำนักพิมพ์มติชน 2.เกิดในฤดูหนาวที่แดดส่องถึง โดยนทธี ศศิวิมล แพรวสำนักพิมพ์  3.ดำดิ่งสู่เบื้องบน โดยวัฒน์ ยวงแก้ว ผจญภัยสำนักพิมพ์ 4.เดฟั่น  โดยศิริวร แก้วกาญจน์ ผจญภัยสำนักพิมพ์ 5.ภูเขาน้ำตา โดยอนุสรณ์ มาราสา สำนักพิมพ์บลูเบิร์ด

 6.รอยสนธยา โดยทรงศีล ทิวสมบุญ Songsin Things 7.วรรณกรรมที่แท้จริงน่ะ ต้องใช้คอมพิวเตอร์เขียนเท่านั้นไม่รู้เหรอ โดย ร เรือในมหาสมุท  บริษัท พะโล้ พับลิชชิ่ง จำกัด 8.วายัง อมฤต โดยอนุสรณ์ ติปยานนท์ สำนักพิมพ์ Din-Dan Book 9.สุสานสยาม โดยปราปต์ แพรวสำนักพิมพ์  และ 10. อาณาเขต โดยนิธิ นิธิวีรกุล สำนักพิมพ์สมมติ

คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้นวนิยายเรื่องเดฟั่น ของศิริวร แก้วกาญจน์ ได้รับรางวัลซีไรต์ปี 2564 นวนิยายเล่าเรื่องราวการก่อตั้งชุมชนท้องถิ่นในอดีต เชื่อมโยงกับการตั้งถิ่นฐานของคนภาคใต้ในบริเวณเทือกเขาบรรทัดและลุ่มทะเลสาบ   แสดงให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คน  ส่งสาระสำคัญว่าด้วยความทรงจำบาดแผลที่ถูกลบเลือน เป็นเสมือนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เขียนตอบโตประวัติศาสตร์กระแสหลัก

เดฟั่นใช้ตำนานวีรบุรุษที่เล่ากันในท้องถิ่นภาคใต้เป็นตัวเดินเรื่องให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เล่าเรื่องในลีลาวรรณกรรมแนวสัจนิยมมหัศจรรย์อย่างมีวรรณศิลป์ ผ่านตัวละครเอก คือ “เดฟั่น” ซึ่งสูญเสียคงฃวามทรงจำและหลงอยู่ในมิติของห้วงคำนึงที่แหว่งวิ่น นวนิยายเรื่องนี้เดินเรื่องโดยใช้วิธีตัดต่ออย่างกระชับฉับไว เอื้อให้ผู้อ่านต่อเติมจินตนาการและทาบเทียบประสบการณ์ของตนเข้ากับการล่มสลายของชุมชนท้องถิ่นที่เกิดจากโครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจต่อชะตากรรมของมนุษยชาติ

เดฟั่นแสดงให้เห็นพลังของวรรณกรรมในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ที่เล่าไม่ได้และไม่ได้เล่า    

สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยจัดกิจกรรมวันพบนักเขียนซีไรต์ วันที่ 15 มกราคม  2565 เวลา 15.00 น.  เป็นรูปแบบออนไลน์ทางเพจสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

20 ชุมชนชิงต้นแบบ'เที่ยวชุมชน ยลวิถี'

ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนั้นกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย แต่ละชุมชนมีความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ วิถีชีวิต เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวตามบริบทของชุมชน เพื่อคัดเลือกชุมชนต้นแบบ”เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ

ภาพถ่าย'Show Me Your Korea' ประตูสู่เกาหลี

ชวนคนไทยร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวเกาหลีผ่านนิทรรศการภาพถ่าย “Show Me Your Korea” เนื่องในโอกาสเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี - ไทย ปี 2023-2024   จัดโดยศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย นิทรรศการล่าสุดนี้ดึงดูดผู้ชมด้วยผลงานภาพถ่ายที่ผ่านการคัดสรรจากเวทีการประกวดภาพถ่าย

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

สงกรานต์ริมคลองรอบกรุง 'คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน-วัดบพิตรพิมุข'

สงกรานต์นี้เปิดเส้นทาง “คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร” เลาะเลียบคลอง ชมสตรีทอาร์ต เรียนรู้ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมให้เย็นฉ่ำชื่นใจ ถือเป็นพื้นที่น้องใหม่งาน Water Festival 2024 พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมมงคล ย้อนวันวานตักบาตรริมคลองยามเช้า

อัญเชิญ12พระพุทธรูปมงคลให้สักการะสงกรานต์

13 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานพิธีเปิด “งานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย” (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม