'นิด้าโพล' ชี้คนไทยค้านแนวคิด 'ซื้อเสียงถูกกฎหมาย?'

20 มีนาคม 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ซื้อเสียงถูกกฎหมาย?” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,329 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 76.75 ระบุว่า เชื่อมาก รองลงมา ร้อยละ 16.33 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 3.46 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 3.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.15 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความเชื่อว่า “ปัญหาการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” จะสามารถแก้ไขได้ ตัวอย่างที่ระบุว่าเชื่อมาก ค่อนข้างเชื่อ และเฉย ๆ ไม่ตอบ/ไม่สนใจว่า “ประเทศไทยมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ (จำนวน 1,239 หน่วยตัวอย่าง) พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 63.92 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 17.76 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 11.46 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.62 ระบุว่า เชื่อมาก
และร้อยละ 0.24 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การซื้อเสียงในการเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 71.93 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 12.27 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 8.50 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 6.77 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดเลี้ยงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 59.44 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 14.52 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 13.02 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 11.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 1.13 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอที่จะให้ “การจัดมโหรสพ กิจกรรมบันเทิงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง” เป็นการกระทำที่ถูกกฎหมาย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 61.17 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 13.54 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 12.27 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.83 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการไม่อนุญาตให้เปิดเผยผลโพลการเลือกตั้ง ในระหว่างเจ็ดวันก่อนการเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.06 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 28.97 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 15.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 10.99 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 2.18 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หรือจะเหนื่อยฟรี! โพลชี้ ‘ทักษิณ’ เคลื่อนไหว ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม ‘เพื่อไทย’ ครั้งหน้าก็ยังแพ้

ถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย

'แม้ว' หักหลังเสื้อแดง ฟันธงเลือกตั้ง 'เพื่อไทย' แพ้ 'ก้าวไกล'

ความพยายามของคุณทักษิณ ชินวัตร ที่ออกมาปฏิเสธภาพลักษณ์ของพรรคเพื่อไทยว่า ไม่ใช่พรรคอนุรักษ์นิยมใหม่ แต่เป็นพรรครีฟอร์มมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลัง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

‘เศรษฐา’ โอ่ 3 ปีครึ่ง นำความเป็นอยู่ที่ดีให้ ปชช. ฉุด ‘พท.’ ชนะเลือกตั้งครั้งหน้า

นายกฯ โอ่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนดีขึ้น และหวังว่าผลที่จะตามมาคือ ทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง