ประชาชนมอง 'ดินเนอร์' พรรครัฐบาลไม่เหมาะสมมัวแต่ต่อรองอำนาจไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

สรุปผลการสำรวจ : การเมืองไทย…วุ่นวายจริงหรือ?

20 มีนาคม 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,127 คน ระหว่างวันที่ 14-17 มีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง ณ วันนี้สะท้อนให้เห็นถึงการต่อรองอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง ร้อยละ 68.90 โดยมองว่าการนัดรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคการเมืองในช่วงนี้ไม่เหมาะสม ร้อยละ 61.67 อยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาบ้านเมืองโดยเฉพาะน้ำมันแพง สินค้าแพง ร้อยละ 91.44 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หนี้สิน ร้อยละ 71.81 คิดว่านักการเมืองไทย (ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน) ไม่ค่อยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ร้อยละ 52.19 ทั้งนี้ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 45.12 ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 32.77 มองว่ารัฐบาลไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ร้อยละ 50.94 และในภาพรวมมองการเมืองไทย ณ วันนี้ ค่อนข้างวุ่นวาย ร้อยละ 49.69

เมื่อทำโพลเกี่ยวกับปัญหาที่ประชาชนต้องการให้แก้ครั้งใดก็จะมีปัญหาของแพงเข้ามาในผลโพลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ดูเหมือนเน้นประโยชน์ของนักการเมืองกันเองมากกว่าดูแลทุกข์สุขประชาชน ประชาชนจึงมองภาพการเมืองไทย ณ วันนี้ว่าค่อนไปทาง “วุ่นวาย” อยู่ไม่น้อย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาวินี รอดประเสริฐ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคำตอบแต่ละข้อมีความเกี่ยวข้องโยงเชื่อมกัน เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองจากอดีตจนถึงปัจจุบันมีมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจรวมถึงโรคระบาด ซึ่งทุกปัญหายังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างลุล่วง จึงส่งผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลจากเดิมที่ไม่ค่อยพึงพอใจจึงยิ่งเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีข่าวที่ปรากฏว่ามีการนัดรับประทานอาหารร่วมกันของพรรคการเมืองทั้งพรรคเล็กและพรรคใหญ่ จึงเป็นอีกประเด็นที่ทำให้ประชาชนมองว่าอาจมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ จากผลสำรวจที่ออกมาไม่ค่อยเป็นผลบวกกับรัฐบาลเท่าไร เพราะความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสภาพความเป็นอยู่ยังไม่เห็นผลชัดเจน ทำให้ความวุ่นวายทางการเมืองคงไม่สามารถจบได้ง่ายนัก แม้แต่รัฐบาลในอนาคตเชื่อว่าคงทำงานลำบาก หากต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นต้องมองทั้งความวุ่นวายที่เกิดจากนักการเมือง และเร่งแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จึงจะสามารถช่วยบรรเทาเรื่องของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นให้น้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'เสรี' เผยมี 27 สว. อภิปรายรัฐบาล รับอาจไม่ดุเดือดเพราะไม่มีการลงมติ

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. กล่าวถึงการเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153 ของ ส.ว. ในวันที่ 25 มี.ค.ว่า จะมีผู้อภิปราย 27 คน ส่วนประเด็นที่จะอภิปราย จะยึดตามกรอบญัตติที่เคยยื่นไป