คณะแพทย์แถลงอาการอาพาธ 'หลวงปู่แสง' มีภาวะสมองฝ่อ ทำพฤติกรรมผิดปกติ

14 พ.ค.2565 - เวลา 13.00น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 2 โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี คณะแพทย์ฯ ผู้ได้รับมอบหมายจากศิษยานุศิษย์หลวงปู่แสง ญาณวโร แถลงข่าวอาการอาพาธของ “หลวงปู่แสง ญาณวโร”

โดย นายแพทย์เศวต ศรีศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี แพทย์ผู้เคยทำการรักษาอาการอาพาธ กล่าวว่าทางคณะศิษยานุศิษย์ได้มอบหมายให้คณะแพทย์ผู้ทำการรักษาอาการอาพาธของหลวงปู่แสง มากว่า 20 ปี ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของหลวงปู่แสง โดยทางคณะแพทย์วินิจฉัยว่า มีภาวะอัลไซเมอร์ ระยะที่ 1 มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยบ้าง ถามซ้ำๆพูดซ้ำๆเรื่องเดิม แต่ยังสื่อสารและใช้ชีวิตได้ตามปกติ ส่วนจะเป็นอัลไซเมอร์ ระยะที่ 2 หรือเปล่าแพทย์เฉพาะทางยังต้องวินิจฉัยเพิ่มเติม ขณะเดียวกันจากการตรวจสอบพบว่า หลวงปู่แสง มีประวัติไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ซึ่งในทางการแพทย์ หากการตรวจซิฟิลิส (TPHA Test) อาจพบเชื้อลวงได้ ควรตรวจซ้ำเพื่อยืนยัน หรืออาจเคยติดเชื้อซิฟิลิซมาก่อนก็เป็นได้ หากสงสัยจริงๆอาจใช้วิธีเจาะน้ำไขสันหลังตรวจสอบเพิ่มเติม

นายแพทย์ สมฤทธิ์ เวียงสมุทร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งให้การดูแลรักษาอาการอาพาธหลวงปู่ใกล้ชิด กล่าวว่า ในช่วงเริ่มต้นที่เริ่มเข้าไปดูแลอาการอาพาธของหลวงปู่ มีอาการติดเชื้อที่ปอด (ปอดอักเสบ), อาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง ซึ่งเกิดจากสาเหตุกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท และมีอาการของโรคเก๊าท์ร่วมด้วย การให้การรักษาส่วนใหญ่ แพทย์จะเดินทางไปที่วัดที่หลวงปู่แสงจำพรรษา การให้การรักษา ณ โรงพยาบาลเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะหลวงปู่ไม่ประสงค์เข้ารับการรักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลและไม่ชอบฉันท์โอสถยา

โดยช่วงกลางปี 2561 พระอุปัฏฐากโทรปรึกษาถึงอาการอาพาธของหลวงปู่ที่มีอาการผิดปกติ มีพฤติกรรมแปลกไป คือมีการถูกเนื้อต้องตัวลูกศิษย์ที่เข้าไปกราบ ซึ่งได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ว่า เนื่องจากอายุมากอาจมีภาวะสมองฝ่อได้ตามวัย ซึ่งหากบริเวณที่ฝ่อเกี่ยวข้องกับส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม อาจส่งผลทำให้การแสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์มีความผิดปกติได้ โดยที่ความทรงจำยังเป็นปกติอยู่ เพราะสมองส่วนที่ทำงานนั้นคนละส่วนกัน ต่อมาทางคณะศิษย์ได้นิมนต์ไปโรงพยาบาลเพื่อเข้าเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ที่โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่ามีภาวะของอัลไซเมอร์

ทั้งนี้ช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 กำลังระบาด ทีมลูกศิษย์ที่ดูแลท่านก็ได้มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนเปลี่ยนไป จึงไม่ทราบว่าอาการพฤติกรรมที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นได้รับการรักษาแล้วหรือไม่ แต่เมื่อวาน (13 พ.ค.) คณะแพทย์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมและตรวจอาการอาพาธเป็นที่เรียบร้อย และจะให้การดูแลรักษาอาการอาพาธของท่านต่อไป

สรุปอาการอาพาธของ ‘หลวงปู่แสง ญาณวโร’ จากประวัติการรักษาของคณะแพทย์ ดังนี้

1. การทำงานของทางเดินอาหารผิดปกติ (GI vasculopathy) 2. โรคหัวใจที่เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายผิดปกติ (CHF c Cardiomypathy LVH) 3. โรคความดันโลหิตสูง (HT) 4. โรคต่อมลูกหมากโต (BPH)

5. ปวดหลังเนื่องจากกระดูกสันหลังคด (Low back pain c Scoliosis) 6. ข้อเข่าเสื่อมทั้ง 2 ข้าง (OA both khee) 7. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) 8. โรคนอนหลับยาก (Elderly c Insomnia) 9. สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ระยะที่ 1 (dementia c Alzheimer’s) และ10. ภาวะพฤติกรรมอารมณ์ที่ผิดปกติที่เกี่ยวกับสมองเสื่อม (BPSD = behavioral and psychological symtoms of dementia)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึก! รถบรรทุกน้ำมันไฟไหม้ โชเฟอร์อาการสาหัส

เจ้าหน้าที่ตำรวจพนักงานสอบสวน สภ.เมืองอำนาจเจริญ อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ รับแจ้งเหตุ รถบรรทุกน้ำมันไฟไหม้ ที่ปั๊มน้ำมันพีที สาขาบ้านดอนแดง

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (2) กองบุญไทบ้านสวัสดิการชุมชนตำบลกุดปลาดุก จ.อำนาจเจริญ “สร้างสวัสดิการ อาหาร-สมุนไพรจากป่ามูลค่าปีละ 12 ล้านบาท !!

“การดูแลสุขภาพเท่ากับการดูแลป่า ในป่ามีทรัพยากรต่างๆ มากมาย มีความหลากหลายทางชีวภาพ สมุนไพรทำให้พี่น้องมีสุขภาพดี มีความมั่นคงทางอาหาร”

'หมอธีระวัฒน์' ปลุก สว. เลิก 'เนือยนิ่ง ทอดหุ่ย'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สว. เนือยนิ่ง ทอดหุ่ย กับสมองเสื่อม

'หมอธีระวัฒน์' ยกผลวิจัย พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก"

‘หมอธีระวัฒน์’ ยกหลักฐานผลทดลอง ออกกำลังขจัดโปรตีนพิษอัลไซเมอร์ได้

หลักฐาน ในหนูทดลองที่ปรับแต่งเป็นอัลไซเมอร์ เมื่อให้ขยันออกกำลังปรากฏว่าโปรตีนอมิลอยด์การขยุ้มตัวของตะกรัน plague ลดลงอย่างชัดเจน

ผลวิจัยชี้ 'รอบเดือน' สตรี มีผลต่อสมอง 'หมดระดู' เสี่ยงอัลไซเมอร์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รอบเดือนสตรีมีผลต่อสมอง