
รัฐบาลพร้อมรับมือแนวโน้มฝนตกเพิ่ม และมรสุมปลายเดือน ก.ย.-ต.ค. ทุ่งรับน้ำลุ่มเจ้าพระยาเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 90%
22 ก.ย.2565 - น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำช่วงปลายเดือน ก.ย. - ต.ค.2565 ในการประชุมคณะทำงานด้านการอำนวยการน้ำ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เมื่อวานนี้ พบว่า มีแนวโน้มทั้งปริมาณฝนที่จะเพิ่มขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ส่งผลให้ปริมาณน้ำในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจมีพายุ จำนวน 1-2 ลูก จะเข้ามาประเทศไทยในช่วงต้นเดือน ต.ค.2565 อย่างไรก็ตามจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันกำหนดเกณฑ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
น.ส.รัชดากล่าวว่า ในที่ประชุม มีการกำหนดเกณฑ์ระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่ขณะนี้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีประมาณ 2,200 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ในขณะที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำในอัตราประมาณ 1,980 ลบ.ม. ต่อวินาที กรณีหากมีปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 2,500 ลบ.ม. ต่อวินาที จะบริหารจัดการน้ำลงมายังท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และระบายออกทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของเขื่อนเจ้าพระยา โดยพิจารณาปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำป่าสักที่จะไหลเข้ามาสมทบด้วย เบื้องต้นกำหนดให้มีปริมาณน้ำ ณ สถานี อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 3,000 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งปรับลดลงจากเกณฑ์เดิมซึ่งอยู่ในอัตรา 3,500 ลบ.ม. ต่อวินาที เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงกรณีมีฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้ลำน้ำเจ้าพระยามีศักยภาพในการระบายน้ำได้ดี สามารถรองรับการระบายน้ำออกจากชุมชนเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ จะมีการบริหารจัดการน้ำโดยใช้ทุ่งรับน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งปัจจุบันการเก็บเกี่ยวข้าวในพื้นที่รับน้ำได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 90% คาดว่าจะสิ้นสุดประมาณช่วงปลายเดือน ก.ย. และจะมีการรับน้ำเข้าทุ่งในปริมาณที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเสียหายแก่ประชาชน ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณาเรื่องการปล่อยปลาเพื่อใช้สำหรับเป็นอาหารและสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชนในช่วงระหว่างการรับน้ำเข้าทุ่ง และจะมีการเร่งระบายน้ำออกจากทุ่งเมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว โดยจะเหลือปริมาณน้ำไว้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้สำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งที่มีความเหมาะสมต่อไป
"รัฐบาลมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ กอนช. ประเมินสถานการณ์น้ำของประเทศไทยพบว่าอยู่ในช่วงลานีญา ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 20% ของค่าปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงานเชิงรุกล่วงหน้า เช่น การเตรียมพร่องน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ฯลฯ โดยสถานการณ์ปริมาณน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ยังสามารถรองรับน้ำได้มาก โดยเฉพาะเขื่อนขนาดใหญ่ทางภาคเหนือ สามารถรองรับน้ำได้หากมีพายุจรเข้ามา รวมทั้งสามารถกักเก็บไว้ใช้น้ำต้นทุนสำหรับเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้ด้วย อย่างไรก็ กรณีเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กบางแห่ง ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ทางกรมชลประทานได้ปรับเกณฑ์เพิ่มการระบายน้ำและต้องเฝ้าระวังหากมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้งจะมีการประเมินพื้นที่เสี่ยงและแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์" น.ส.รัชดากล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลห่วง 5 โรคฮิต หลังเล่นน้ำสงกรานต์
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่ออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ อาจเป็นสาเหตุทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ
รัฐบาลปลื้ม 'มหกรรมสงกรานต์' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน พลังซอฟต์พาวเวอร์ไทย
'Maha Songkran World Water Festival 2025' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน สะท้อนพลังซอฟต์พาวเวอร์ รัฐบาลเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยก้าวสู่เวทีโลก ดันเศรษฐกิจโตทั่วประเทศ
รัฐบาลกำชับห้ามย่อนหยานดูแลประชาชนเดินทางกลับเที่ยวสงกรานต์
รัฐบาลสั่งดูแลประชาชนเดินทางกลับ ตรวจเข้มความปลอดภัยทุกเที่ยว เสริมจุดต่อเชื่อมขนส่งสาธารณะ อำนวยความสะดวกครบวงจร
รบ.ฟุ้งสงกรานต์ดึงนักท่อเที่ยวต่างชาติเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน!
รัฐบาลเผยสงกรานต์สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุเฉลี่ยวันละกว่าแสนคน เพิ่มขึ้นกว่า 10% ยืนยันเดินหน้าหนุนท่องเที่ยวไทยตลอดปี 2568
ชวน 'ร้านอาหารไทย' สมัครรับตรา 'Thai SELECT' ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก
รัฐบาลชวนผู้ประกอบการ 'ร้านอาหารไทย' สมัครรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT การันตีมาตรฐานสากล สร้างความมั่นใจผู้บริโภค-นักท่องเที่ยวทั่วโลก
รัฐบาลเตือนโทษหนัก! ขาย-กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกม. คุก 5 ปี ปรับ 5 แสน
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การเดินทางกลับภูมิลำเนาของประชาชนในช่วงสงกรานต์ มักจะรับประทานอาหารประจำถิ่น โดยอาจจะมีการนำเนื้อสัตว์ป่าหายาก