ปลัด กทม.ยันความพร้อมรับมือน้ำหนุนสูงวันที่ 29 ต.ค.

กทม.เตรียมพร้อมรับมือน้ำหนุนสูง 29 ต.ค.นี้ ขจิต ตรวจแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา เผยกระสอบทราย 2.5 ล้านใบเพียงพอ พร้อมประสานกรมเจ้าท่ากำชับเรือให้ระมัดระวัง

13 ต.ค.2565 - ที่ท่าเรือใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนพระอาทิตย์ นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยนายณรงค์ เรืองศรี รองปลัด กทม., นายศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ, นายเจษฎา จันทรประภา และนางวาสนา ศิลป์เบ็ญจพร รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ สำนักเทศกิจ สำนักงานเขตในพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในโอกาสนี้ได้ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานบริเวณท่าดินแดง เขตคลองสาน และท่าเรือวัดเทพนารี เขตบางพลัดอีกด้วย

นายขจิต กล่าวว่า วันนี้ลงเรือตรวจสอบแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากท่าเรือใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ท่าราชวรดิฐ ถนนทรงวาด วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ศาลเจ้าโรงเกือก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรมอู่ทหารเรือ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร สะพานพระราม 8 วัดเทพนารี เพื่อตรวจดูระดับแนวเขื่อนที่ต่ำกว่า 3 เมตร ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูง โดยไล่ไปตั้งแต่ปากคลองตลาดลงไปจนถึงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้ววนกลับขึ้นมาจนถึงสะพานกรุงธนบุรี ซึ่งแนวเขื่อนจะอยู่ในระดับ 2.80 เมตร ส่วนด้านบนขึ้นไปจนถึงคลองบางเขนใหม่ แนวเขื่อนจะอยู่ในระดับ 3.50 เมตร ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง

จากการรายงานเรื่องน้ำท่วมได้รับรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ต.ค.มีน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่เขตคลองสาน และเขตบางพลัด ซึ่งน้ำก็ไม่ควรจะไหลเข้าไปได้ วันนี้พร้อมด้วยนายณรงค์ ผู้บริหารสำนักการระบายน้ำและทีมงาน จึงได้มาตรวจดูแนวเขื่อนทั้งหมด ว่าเกิดรอยรั่วได้อย่างไร คาดว่าน่าจะมีจุดรั่วไหลอยู่ จึงทำให้น้ำไหลเข้ามาได้ แต่ทั้งนี้พี่น้องประชาชนไม่ต้องตกใจ เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงน้ำที่เข้ามาก็จะหายไป แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้น้ำเข้ามาได้เลย

นายขจิต กล่าวอีกว่า ในส่วนของแนวฟันหลอได้กำชับสำนักการระบายน้ำวางกระสอบทรายให้สูงเต็มแนวก่อน ป้องกันไม่ให้มีปัญหาเรื่องน้ำล้นแนวเขื่อนเข้ามา ถ้ารอให้น้ำขึ้นแล้วค่อยมาวาง สุดท้ายก็จะมีน้ำล้นเข้ามา กระสอบทรายที่กรุงเทพมหานครเตรียมไว้ 2.5 ล้านใบ มีปริมาณเพียงพอที่จะใช้กั้นระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทั้งในช่วงนี้ปริมาณฝนเริ่มจะน้อยลงแล้ว จะอยู่ในช่วงที่มีน้ำเหนือไหลลงมาประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง จากการคาดการณ์ในวันที่ 29 ต.ค.นี้ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะขึ้นสูงกว่าวันนี้ (13 ต.ค.) อีก 20 ซม. ขณะนี้น้ำเหนือที่ไหลผ่านลงมาประมาณ 3,100 ลบ.ม./วินาที แต่มีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามเราต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน หากวันที่ 29 ต.ค.นี้ ระดับน้ำขึ้นสูงตามที่คาดการณ์ รวมถึงอาจต้องประสานกับกรมเจ้าท่า กำชับผู้ประกอบการเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดคลื่นสูง ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

“การให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนในชุมชนที่อยู่นอกแนวป้องกันน้ำท่วม ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตในพื้นที่ทำสะพานไม้ทางเดิน เสริมแนวกระสอบทราย แจกจ่ายเวชภัณฑ์ ยาป้องกันน้ำกัดเท้า นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะออกประกาศแจ้งเตือนอีกครั้ง ก่อนวันที่ 29 ต.ค.2565 เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมยกสิ่งของขึ้นที่สูง เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้า หากระดับน้ำขึ้นสูงตามที่ได้คาดการณ์ไว้”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)