21 พ.ย.2565 - มีรายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 24 พ.ย.นี้ ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) นำโดยนายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศปปส. พร้อมด้วยกลุ่มนักรบองค์ดำ และศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) เตรียมเดินทางไปยังกระทรวงมหาดไทย เตรียมยื่นหนังสือต่อนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเพิกถอนสัญญาแอมเนสตี้ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทยยุยงปลุกปั่นให้ประชาชน คิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศปปส. เผยว่าสืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ทางศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) ได้รับหนังสือตอบกลับจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร.0105.04/43146 โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประสานส่งเรื่องให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาแล้ว ทางศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน กลุ่มนักรบองค์ดำและศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) ซึ่งได้ติดตามความคืบหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2565 โดยมีนางนลินี มหาขันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน ปฏิบัติราชการแทนปลัดสำนักนาย กรัฐมนตรีได้เซ็นลงนามในหนังสือตอบกลับดังกล่าว
แต่ผลปรากฏว่าทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้แจ้งว่าทางพม.ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงกับเรื่องที่ร้องมาและชี้แจงว่าให้ไปที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งในวันดังกล่าวทางผู้ร้อง ก็ได้เดินทางต่อไปยังกระทรวงมหาดไทยซึ่งทางกระทรวงมหาดไทย ก็แจ้งมาว่าเรื่องที่ผู้ร้อง ร้องนั้นกระทรวงมหาดไทยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง โดยชี้แจงว่าต้องไปที่กระทรวงแรงงาน
ดังนั้นศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) กลุ่มนักรบองค์ดำและศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) จึงทำหนังสือมายังนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรง งานตามคำชี้แจงของกระทรวงมหาดไทย
อนึ่งศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) กลุ่มนักรบองค์ดำและศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) ได้ติดตามความเคลื่อนไหวขององค์กรไม่แสวงหากำไรหรือ amnesty มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันก็ยังเห็นว่าองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ amnesty เคลื่อนไหวยุยงปลุกปั่น และแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยอยู่เป็นเนืองนิจ ซึ่งล่าสุดผู้จัดการออนไลน์ได้เสนอข่าวที่น่าเชื่อถือตามลิงค์ข่าวนี้
“เพจดัง” แฉเอกสาร “แอมเนสตี้” หนุน “ทุกม็อบ” ป่วน “เอเปก” แทรกแซง “กม.” ไทย “จรัล” ต้อนรับ “ธนาธร”
https://mgronline.com/politics/detail/9650000108015
ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) กลุ่มนักรบองค์ดำและศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกละเมิด buly ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) จึงอยากนำเรียนให้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้พิจารณาและเพิกถอนสัญญาแอมเนสตี้ในประเทศไทย เนื่องจากแทรกแซงกิจการภายในของประเทศไทยยุยงปลุกปั่น ให้ประชาชนคิดล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
"โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางกระทรวงแรงงานจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติและเล็งเห็นว่าองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ amnesty เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ที่เห็นสมควรพิจารณากับพ้นประเทศไทยไปเสียโดยเร็ว" ประธานศปปส. ระบุ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้ายประเทศกันเถอะ 'เอ็ดดี้ ' เบิกเนตรคนไทยเรื่องอเมริกา ชำแหละระบบเศรษฐกิจและสังคมล้มเหลว
'อัษฎางค์' เบิกเนตรคนไทยเรื่องอเมริกา ชี้มีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ล้มเหลว คนไร้บ้านแตะ 6 แสนคน ยังมีการเหยียดผิว ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาด้านสุขภาพ เอาเปรียบเรื่องค่าแรง ล้วนเป็นสิทธิมนุษยชนหลักขั้นพื้นฐาน เหน็บย้ายประเทศกันเถอะ
สภาฯ เบรกถก พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย หลังรัฐบาลยื่นศาลรธน.ตีความ ฝ่ายค้านโวยเตะถ่วง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผล พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานฯ ว่า เมื่อการทำงานเกิดข้อขัดข้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย
'แอมเนสตี้' ยื่นหนังสือให้ฝ่ายค้าน เรียกร้องยุติการใช้เลื่อน พ.ร.ก. อุ้มหาย
ที่รัฐสภา แอมเนสตี้ ประเทศไทย ตัวแทนนักกิจกรรมและญาติผู้เสียหายจากการทรมานและอุ้มหาย ยื่นข้อเรียกร้องต่อหัวหน้าพรรคการเมืองให้ยุติการ
แอมเนสตี้ เรียกร้อง พ.ร.บ.ทรมานและอุ้มหาย ต้องเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ทั้งฉบับ
แอมเนสตี้ ประเทศไทย ตัวแทนนักกิจกรรมและญาติผู้เสียหายจากการทรมานและอุ้มหายยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้ยุติการเลื่อนหรือขยายระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและอุ้มหายในบางมาตรา
แอมเนสตี้เฮลั่น! ศาลฯ ชี้ 'มท.1-อธิบดีกรมปค.' ใช้อำนาจขัดรธน.
ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ รมว.มหาดไทย ลงวันที่ 13 ส.ค. 2562 ที่ยกอุทธรณ์ของสมาคมแอมเนสตี้ อินเตอร์
ครม.เห็นชอบแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับ 5 คุ้มครองสิทธิ 11 กลุ่ม
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า ที่ประชุมครม. มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ