'ทนายนกเขา' ผ่าแผนทักษิณ ผ่าน 'ส.เสือตัวใหญ่'

นิติธร6 ก.พ. 2566 - นายนิติธร ล้ำเหลือ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ประเทศไทยต้องมาก่อน ตอน "สุดลิ่ม ทิ่มประตู" ระบุว่า การเปิดชื่อย่อ “ส.เสือตัวใหญ่” เป็นแคนดิเดตนายกฯ เพื่อไทย แสดงถึงเชื่อมใจกับความสัมพันธ์สถาบัน และใช้เสื้อแดงเป็นมวลชนผลักดันให้กลับบ้านสำเร็จ พร้อมเชื่อว่า รอบนี้ทักษิณกลับแน่

นายนิติธร หรือทนายนกเขา กล้าวถึงนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ เปิดโปงเพื่อจัดการแต่ละเรื่อง มักสุดลิ่มทิ่มประตูกับปัญหาที่เป็นด้านลบของสังคม แล้วเรื่องใหม่ออกมาเรื่อยๆ จึงเป็นคำตอบในตัวว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ และยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้น แล้วองค์กรตรวจสอบยังทำหน้าที่น้อยลง ดังนั้น ต้องใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนมาแก้ปัญหา จัดกฎกติกากันใหม่อีกครั้งหนึ่งจึจะเดินหน้าประเทศต่อไปได้

ส่วนสถานการณ์การเมืองขณะนี้ นายนิติธร กล่าวว่า มาถึงขั้นพูดถึงชื่อหัวหน้าพรรคการเมือง โดยไม่ใส่ใจผลงานกัน กรณีอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร ที่ถูกยกเป็นแคนดิเดตนายกฯ อันดับต้น ประชาชนไม่สงสัยชีวิตที่เติบโตมาอย่างไร ทำอะไร และจะทำงานการเมืองตามนโยบายได้จริงหรือไม่ แต่การทำงานการเมืองแสดงถึงการสู้สุดตัวของระบอบทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพ่อ ที่ทำลายประเทศมากว่า 20 ปี จึงถึงเวลาต้องจัดการให้เสร็จสิ้นเสียที ไม่เช่นนั้น ระบอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ตามมาอีก ประเทศไม่จบสิ้นความขัดแย้งไปได้ ซึ่งทุกฝ่ายต้องคิดในกรณีให้หนักขึ้น

นอกจากนี้ กรณียิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวทักษิณ เกิดปรากฎการณ์จำนำข้าว แม้เป็นโครงการดี แต่เงินที่ไปถึงชาวนายังมีน้อยกว่าเงินทุจริตมากมาย จึงทำให้ประเทศและประชาชนเสียประโยชน์ ทั้งที่มีการเตือนด้วยดี กลับละโมบโลภมากจนถูกจับได้ แต่น่าแปลกคนพวกนี้ยังมีที่ยืนในสังคม และวุ่นวายกับประเทศไม่รู้จบ แล้วยังขอมีส่วนร่วมจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมคดีทุจริตด้วย

"เมื่อยิ่งลักษณ์ ไปอยู่ใต้ชายคาพี่ชายอย่างทักษิณ การดำเนินการออกกฎหมายสุดซอยก็เหมือนกับสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าไม่ได้สุดซอย ประเทศนี้ก็ไม่ต้องโต พร้อมอ้างจำนำข้าวไม่สำเร็จก็เพราะเกิดรัฐประหาร"

นายนิติธร ตั้งข้อสังเกตุ พล.อ.ประยุทธ์ เข้าบริหารประเทศ ซึ่งไม่แตกต่างกันว่า พล.อ.ประยุทธ์ อ้างถึงความแตกแยกทางสังคมที่สูงขึ้น แต่ประชาชนไม่ได้เคลื่อนตัวเผชิญหน้ากันตาม พล.อ.ประยุทธ์ อ้าง อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าประชาชนร่วมตัวกันได้จะเกิดการต่อต้านรัฐประหารขึ้นได้เหมือนกัน พร้อมกับจัดการนักการเมืองชั่วร้ายที่เอาประชาชนเป็นเครื่องมือไปในคราวเดียวกัน

ดังนั้น จึงไม่แปลก พล.อ.ประยุทธ์ จึงต้องทำรัฐประหาร ตัดตอนการรวมตัวของประชาชน แล้วสัญญาถึงการปฎิรูปประเทศ สัญญาสร้างความสงบ แล้วธาตุแท้ของผู้อยากมีอำนาจก็ไปเขียน รธน. 2560 ปกป้องอำนาจเอาไว้ ไม่สนใจเสียงต่อต้านของประชาชน โดยจับเข้าคุก จึงเป็นการใช้อำนาจนิยิมแบบเบ็ดเสร็จ

นายนิติธร กล่าวว่า เมื่อมาถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะมีขึ้น ผลงานที่ผ่านมาของประยุทธ์ถูกนำมาวิเคราะห์ จนได้ผลไม่พึงพอใจและไม่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ดังนั้นการเมืองจึงไปสู่วิธีการรักษาอำนาจเอาไว้ต่อไป และติดขัดประยุทธ์ อยู่ได้แค่ 2 ปี แต่ ส.ว.อยู่ได้ปีเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นแตกตัวพรรคพลังประชารัฐมาเป็นรวมไทยสร้างชาติเพื่อกุมเสียงให้ใกล้เคียงกันไว้ เพียงเพื่อจะได้อยู่ในอำนาจต่ออีก

"มีสิ่งสงสัยว่า ประยุทธ์ ต้องการเป็นนายกฯอีก 2 ปีจริงหรือไม่ ด้วยเงื่อนไขนี้ตามมว่า จะปฏิรูปประเทศหรือไม่ และ 2 ปีทำให้เกิดความสงบได้จริงหรือไม่ แล้ว 2 ปีนั้นจะแก้ไข รธน.ให้ ส.ว. มีอำนาจเลือกนายกฯ ต่อหรือไม่ จึงเป็นการเล่นเกมอำนาจแบบสุดตัว สุดลิ่มทิ่มประตู แล้วยังเปิดช่องเผื่อโอกาสให้ถึงประวิตรด้วย"

นายนิติธร กล่าวว่า การปรากฎข่าวเพื่อไทยจะตกลงร่วมมือกับประวิตร แม้ประชาชนจะถามถึงความชัดเจน แต่เชื่อว่า เพื่อไทยจะไม่ตอบ เพราะถ้าตอบจะสร้างความรวนในคะแนนเสียงทันที สิ่งนี้เป็นกระบวนการของกลุ่มอำนาจที่เชื่อมต่อกันหมด เพื่อให้อำนาจได้ดำรงอยู่ แต่จัดการปัญหาของประเทศไม่ได้ และยังเชิดหน้าชูตาอีก ซึ่งสังคมไทยก็เป็นเช่นนี้

"ดังนั้น หลังจากนี้ถ้าเพื่อไทยมีคะแนนเสียงมาก กลุ่มทุนจะต้องจัดการแน่ เพราะจะไม่ยอมให้ตัวเองไปอยู่ภายใต้ระบอบทักษิณเด็ดขาด เนื่องจากการเติบโตของกลุ่มทุน ผมว่าระบอบ 3 ป.ให้เป็นระบบและให้ได้มากกว่าระบอบทักษิณ ทั้งให้ต่อเนื่องจึงทำให้สะสมทุนโตขึ้น ขณะที่ทักษิณเข้ามาทุนจะเดือดร้อนเพราะต้องจัดระเบียบใหม่"

นายนิติธร เชื่อว่า เครื่องมือไปสู่อำนาจเพื่อรักษาอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังมีอีกมหาศาล และเพียงพอต่อการได้ 25 เสียงเพื่อคว้าสิทธิ์เข้าแข่งชิงนายกฯ หากไม่ถึงแล้ว กลุ่มทุนหนี้หายจาก พล.อ.ประยุทธ์ แน่นอน

นอกจากนี้ ยังประเมินทักษิณแบบกังขาว่า จะมีเครื่งมือทางการเมืองอะไรมาสุดลิ่มทิ่มประตูหรือไม่ ทั้งนี้เคยลักหลับกฎหมายสุดซอยมาแล้ว ถัดมาเกิดปรากฎการณ์แคนดิเดตนายกฯ เมื่อปี 2562 ซึ่งไม่มีใครนึกถึงจะเล่นเกมสุดลิ่มทิ่มประตูเช่นนั้น เพราะกระเทือนถึงสถาบันกษัตริย์โดยตรง

อีกทั้ง ระบุว่า ปรากฎการณ์สุดลิ่มทิ่มประตูกับแคนดิเดตนายกฯ ครั้งนั้น แม้หักกฎหมายทิ้งทั้งหมด แต่สะท้อนถึงการปรับตัวของระบอบทักษิณและเพื่อไทยไปสู่จุดมุ่งหมายใหม่ด้วยอำนาจแข็งแรงขึ้น ดังจะเห็นจากปี 2562 เป็นต้นมา ทักษิณลดการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ลง พร้อมย้อนกลับมาร่วมทำงานกับคนเสื้อแดงอีกครั้ง ทั้งที่ทอดทิ้งไปเมื่อปี 2562 แต่ในขณะนี้กลับมาหาคนเสื้อแดงเป็นฐานมวลชนดันแคนดิเดตนายกฯ ใหม่ และฟอกขาวพรรคเพื่อไทยไปด้วย ด้วยการตัดทิ้งคนเสื้อแดงมาลง ส.ส.ให้มากที่สุด

"เหตุนี้จึงเกิดปัญหาคนเสื้อแดงไม่ได้ลง ส.ส.ในหลายพื้นที่ จึงเป็นการปรับตัวใหม่ และเชื่อว่า หลังจากนี้จะมีการทิ้งประชาชนครั้งใหญ่ตามมาอีก โดยสังเกตุจากนโยบายเพื่อไทย ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่มีนโยบายมา เพราะไม่ได้จูงใจประชาชน ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือนในแนวทางประชานิยมแบบสุดโต่งเช่นเคย จึงแสดงถึงไม่ให้ความสำคัญด้วย เพราะคนไปสนใจการกลับบ้านของทักษิณแทน"

นายนิติธร กังขาว่า เมื่อทักษิณสร้างเสื้อแดงขึ้นแล้วทำไมไม่ต้องการแบบสุดๆ ซึ่งคำตอบส่วนหนึ่งแสดงถึงการนำไปสู่การใช้เสื้อแดงแบบใหม่ ให้เป็นเครื่องมือไปสู่ความสัมพันธ์กับสถาบันกษัตริย์ โดยเห็นได้จากการนำคน กปปส. เข้าเพื่อไทย แต่ลดคนเสื้อแดงลงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นทิศทางใหม่ จึงเกิดแรงสะวิงโต้กลับทันทีในหลายพื้นที่เลือกตั้ง

อีกทั้ง กล่าวถึง “ส.เสือตัวใหญ่”จะเป็นแคนดิเดตนายกฯ ว่า สะท้อนถึงทิศทางการใช้ใจเป็นเครื่องมือนำกลับบ้าน โดยไม่ใช้กฎหมายมานำทาง เมื่อเปิดชื่อเป็น “ส.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” จึงเห็นร่องรอยการเชื่อมใจต่อความสัมพันธ์พิเศษกับสถาบันกษัตริย์ที่จะทำให้ทักษิณกลับบ้านได้

"ทิศทางรอบนี้ได้มีการปูทางไปถึงสมาชิกแล้วว่า กลับแน่ๆ แต่มี 2 ช่วงคือ ก่อนเลือกตั้งและหลังเลือกตั้ง หากยังใช้วิธีการไม่เหมาะสมกับรัชทายาท เชื่อพระวงศ์ และพระมหากษัตริย์ คุณใช้วิธีการหลากหลายได้ ผมก็ใช้วิธีการหลากหลายได้ ผมบอกคุณไว้เลย และบอกด้วยว่า ถ้าคุณเดินแบบนี้ ผมจะบอกว่า พอกันทีกับชินวัตรในประเทศนี้ ผมว่ามากเกินไป พอได้แล้ว"

นายนิติธร กล่าวถึงทุกพรรคเสนอนโยบายแบบประชานิยมมาล่อคะแนนเสียงว่า แนวทางประชานิยม ควรใช้ในยามบ้านเมืองเจอวิกฤตกันจริงเท่านั้น เมื่อแนวทางนี้ใช้พร่ำเพรื่อจึงสร้าปัญหากับประเทศมาต่อเนื่องกว่า 20 ปีที่ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก แล้วยังเกิดช่องว่างการทุจริตมหาศาลและตรวจสอบยาก

ตลอดจนเมื่อเป็นประชานิยมมากๆ ทำให้กลุ่มธุรกิจเติบโตยยิ่งขึ้น รัฐก็เอื้อทุนได้มากขึ้น ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ 3 ป.เทงบประมาณทุกอย่างไปที่ทุน แล้วเอาตัวแทนทุนมานั่งในองค์กรประชารัฐ จนวันนี้ ไม่เหลือทรัพยากรสร้างรายได้ให้ประเทศ เพราะกฎหมายเปิดช่องส่งผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนหมด ราวกับประเทศกลายเป็นระบบเมืองขึ้นของกลุ่มทุนแต่ละสาขา

ขณะที่ ทักษิณ ก็พยายามชิงเอาพื้นที่ความนิยมไปเป็นเมืองขึ้นของตัวเองเช่นกัน แล้วใครจะแก้ปัญหา เมื่อการเลือกตั้งแก้ไม่ได้ คงมีแต่อำนาจอธิปไตยของประชาชนต้องมาปลดล็อกทุกอย่างที่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของกลุ่มทุนและฝ่ายการเมืองกันหมดแล้วให้กลับคืนสู่ประเทศใหม่

"ดังนั้น ประชาชนอย่าพลัดหลงไปเป็นเครื่องมือการเมือง และต้องถอยหลังออกมาสร้างพลังของตัวเอง เพื่อปลดปล่อยการเป็นเมืองขึ้นจากทหาร นักการเมืองและกลุ่มทุน แล้วมาสร้างประเทศไทยให้เป็นไท"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรม' ตั้งกระทู้ถาม 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์

ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุม นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ตั้งกระทู้ถามสด พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รม

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'อุ๊งอิ๊ง-รัฐมนตรีเพื่อไทย' แห่รับ 'ทักษิณ' ​เข้าพรรค

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตึก OAI ซึ่งเป็นที่ตั้งของพรรคเพื่อไทย ว่าในวันนี้ (26 มี.ค.) ที่มีกำหนดการว่านายทักษิณ​ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางเข้าพรรค ทำให้บรรยากาศที่พรรคเพื่อไทยเป็นไปอย่างคึกคัก มีผู้สนับสนุนเดินทางมารอรับนายทักษิณตั้งแต่ช่วงเช้า เช่นเดียวกับบรรดาสส.

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 3)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490