ยื่นอุทธรณ์เพื่อกลั่นแกล้ง ปัญหาใหม่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

5 มี.ค.2566-ดร. มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) โพะสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ยื่นอุทธรณ์เพื่อกลั่นแกล้ง ปัญหาใหม่การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระบุว่า  เพียงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้ยื่นอุทธรณ์การจัดซื้อฯ มากถึง 2,046 เรื่องและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี สิ่งที่น่ากังวลคือ มีเพียง 415 เรื่องหรือ 1 ใน 5 เท่านั้นที่อุทธรณ์แล้วชนะหรือมีเหตุผลฟังขึ้น นอกนั้นเป็นการเข้าใจผิดหรือมีเจตนาไม่สุจริต สร้างความเสียหายต่อรัฐ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานของหน่วยงาน จัดซื้อฯ ไม่ทันต่อความจำเป็นเพื่อบริการประชาชน ใช้เงินไม่ทันปีงบประมาณ ผู้ชนะการจัดซื้อฯ ไม่สามารถเริ่มงานได้ ฯลฯ ทำให้กรมบัญชีกลางต้องเร่งแก้ไข 

ทำไมต้องเปิดกว้างให้มีการอุทธรณ์..พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฯ ได้วางหลักเกณฑ์ให้ผู้ยื่นเสนอทุกรายในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการนั้นๆ มีสิทธิ์อุทธรณ์ โดยกำหนดให้มี “คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน” ที่มีตัวแทนของภาคประชาชนร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อสร้างหลักประกันว่า การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐได้เปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม ผู้ประกอบการทุกรายจะได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่อย่างเปิดเผยและเท่าเทียม

ปัจจัยที่ทำให้มีการยื่นอุทธรณ์.. 1. ผู้อุทธรณ์เห็นว่า หน่วยงานไม่ปฏิบัติตามทีโออาร์ หรือมีการตีความไม่เป็นธรรม 2. ผู้อุทธรณ์มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ ต้องการกลั่นแกล้งผู้ชนะการประมูลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ  3. มีการทุจริต การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องในการประมูล 4. ผู้อุทธรณ์ข้องใจว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน กฎ/ระเบียบ ในช่วงใดช่วงหนึ่งของการประมูล การแก้ไข..

ปัจจัยข้อที่ 1 กรมบัญชีกลางระบุว่า “เกิดจากหน่วยงานของรัฐที่ทำการจัดซื้อจัดจ้างแจ้งเหตุผลในการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาผลไม่ชัดเจน ซึ่งหากเป็นกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอผ่านการพิจารณา แต่ไม่ได้รับการคัดเลือกหน่วยงานของรัฐก็จะไม่มีการแจ้งเหตุผลเพิ่มเติมแต่อย่างใด ทำให้ผู้ยื่นข้อเสนอเกิดข้อสงสัยว่าหน่วยงานของรัฐพิจารณาโดยไม่โปร่งใส ไม่สุจริต หรือเอื้อประโยชน์ต่อผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่น เป็นเหตุให้ตนไม่ได้รับการประกาศผลเป็นผู้ชนะหรือไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ”

เพื่อลดปัญหานี้ “คณะกรรมการนโยบายจัดซื้อจัดจ้าง” “คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อฯ” และกรมบัญชีกลาง จึงได้จัดทำ “การกำหนดแนวทางการร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR)” ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางเพื่อความชัดเจน

ส่วนเรื่องเจตนาไม่สุจริตของผู้อุทธรณ์ในข้อที่ 2 อาจเกิดจากแรงจูงใจได้หลายอย่าง เช่น ขี้แพ้แล้วชวนตี กลั่นแกล้งเพราะพวกตนพยายามล็อกสเปกหรือจัดฮั้วประมูลแต่ฮั้วแตก หรือผู้ชนะการประมูลไม่ใช่พวกของตน เพื่อลดปัญหานี้ทางกรมบัญชีกลางเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. จัดซื้อฯ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกัน เช่น ให้ผู้อุทธรณ์ต้องวางเงินประกันจำนวนหนึ่ง เป็นต้น  

บทส่งท้าย..ในระยะยาว ภาครัฐต้องสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้อำนาจตรงไปตรงมา มีกลไกเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้ทุกคนเข้าถึงและตรวจสอบย้อนหลังได้โดยง่าย เชื่อว่าปัญหาและภาระจะลดลง ผลงานตลอด 6 ปีของการใช้ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างฯ ขอแสดงความชื่นชมต่อ “ผู้บริหารและข้าราชการกรมบัญชีกลาง” ที่ทุ่มเทอำนวยความสะดวก สร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องกับทุกฝ่าย พร้อมรับฟังและเปิดกว้างเพื่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สามารถพัฒนาระบบให้ทันการณ์ ดูแลกติกาในภาพรวมเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเป็นอย่างดี 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลอาญาฯ สั่งจำคุก 8 ปี 'อดีตผู้ว่าฯยะลา' คดีจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด GT200

นายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่าได้รับรายงานคดีสำคัญจาก นายชัยวัฒน์ สุวรรณยอด อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริตภาค 9 ว่า วันนี้ศาลอาญา

เปิด10ปี68นักการเมืองโกง

"องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" รวบรวมข้อมูล นักการเมืองโกงในรอบ 10 ปี พบ 61 คดี นักการเมืองกระทำผิด 68 คน

เปิดข้อมูล 10 ปี คดีโกง 'จำนำข้าว' นำโด่งสร้างความเสียหายสูงสุด 1.3 แสนล้านบาท

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) รวบรวมข้อมูลคดีคอร์รัปชันของนักการเมืองในรอบ 10 ปี พบ 61 คดี และมีนักการเมืองกระทำผิด 68 คนซึ่งมีลักษณะการกระทำความผิด 10 แบบทั้งจากพรรคใหญ่

3 เหตุผลที่ทำให้ ‘นักธุรกิจต่างชาติ’ เบื่อหน่ายราชการไทย

การจ่ายสินบนเงินใต้โต๊ะแลกกับความสะดวก อาจเป็นเรื่องเข้าใจง่าย แต่การคุกคามด้วยกฎหมายเป็นเรื่องน่ากลัวเกินจะรับได้

ดร.มานะ ชี้ 4 ปัญหาใหญ่ เหตุ ตร.บริการ VVIP นักท่องเที่ยวต่างชาติ

กรณีตำรวจท่องเที่ยวให้บริการ VVIP นักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากเรื่องไร้ศักดิ์ศรี คอร์รัปชันและมีผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่แล้ว กรณีนี้ยังแสดงให้เห็นปัญหาที่ใหญ่กว่า

นั่งไม่ติด! ป.ป.ช.จอดป้ายสถานีบางซื่อ 33 ล้าน คุ้ยปมจัดซื้อจัดจ้าง

ป.ป.ช.นั่งไม่ติด ลุยสอบป้ายสถานีกลาง 33 ล้าน  เน้นปมตั้งงบ-จัดซื้อจัดจ้าง ประสานขอข้อมูล รฟท. พร้อมสัญญา ระบุต้องรวบรวมข้อมูลว่ามีความผิดสำเร็จแล้วหรือไม่