2 สมาคมสื่อ จัดเสวนา สะท้อนปัญหาประเทศไทยแฉ พบ‘ขยะใต้พรม’อื้อ! รัฐบาลใหม่ต้องรีบแก้ไขด่วน

19 พ.ค. 2566 – สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และ สมาคมวารสารศาสตร์ธรรมศาสตร์ ร่วมกันจัดงานเสวนา ภายใต้หัวข้อ “อนาคตประเทศไทยจุดเปลี่ยนที่ท้าทาย” เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566  โดยมีนักการเมือง และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเสวนา ซึ่งนายภูวนารถ ณ สงขลา นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และ นายกสมาคมวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งไปแล้วเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา และผลการเลือกตั้งก็มีความชัดเจนถึงความต้องการของประชาชนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น จึงเชื่อว่าทิศทางในอนาคตของประเทศจากนี้ไป จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นทั้ง 2 สมาคมจึงร่วมมือกันจัดกิจกรรมเสวนาครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนภาพให้รัฐบาลในอนาคตได้รับรู้ถึงมุมมองของการเปลี่ยนแปลงที่แต่ละภาคส่วนต้องการที่จะเห็น

ศาสตราจารย์นพ.กระแสชนะวงษ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน กล่าวปาฐกถาว่า ภายหลังจากที่มีการเลือกตั้งแล้ว ยังมีกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความจำเป็นในการที่ต้องเร่งพัฒนาทั้งในทุกๆด้านๆ โดยเฉพาะในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการสานต่อความสัมพันธ์กับประเทศจีน ถือเป็นความสำคัญอย่างมาก เพราะจีนมีการเติบโต มีพัฒนาการในทุกด้าน และนับวันก็มีบทบาทในระดับโลกเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญจีนมีการพัฒนาด้านการศึกษา และนวัตกรรมอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยควรที่จะสานสัมพันธ์ในเรื่องของการศึกษา และด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีจากจีน ขณะเดียวกันในแง่ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ก็ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันต่อไป แต่ต้องไม่มีลักษณะให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่ามีการเลือกข้าง

น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกทม. พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ความท้าทายของประเทศไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองเท่านั้น แต่มีส่วนสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับหลายเรื่อง ทั้ง คุณภาพชีวิต คุณภาพของสังคมและกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งในสังคมที่ระบบอุปถัมภ์ยังไม่เสื่อมสลาย หรือคลายตัว วันนี้จึงมีโจทย์สำคัญ คือ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่ขยายตัวและกดทับเยาวชน ทำให้เกิดคำถามกับสังคม เช่น การปฏิรูปกระบวนการศึกษา ระบบการเรียน รวมถึงภาวะความผันผวนในประเทศไทย ทำให้คนรุ่นใหม่ต้องการความเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับอนาคตของตนเอง

คนรุ่นใหม่ไม่ได้ชังชาติแต่เขามีจุดหมายเดียวกันคืออยากเห็นประเทศไทยเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะทุกคนเจอภาวะปัญหาที่แตกต่างกันทำให้วิธีเรียกร้องต่างกันส่วนผู้ใหญ่บางคนกลับมองการเรียกร้องของเด็กคือความก้าวร้าวปิดกั้นการรับฟังความเห็นโดยไม่มองแก่นของปัญหาที่เกิดขึ้นน.ส.วทันยา กล่าว

ส่วนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ จีนกับอเมริกา น.ส.วทันยา กล่าวว่า โดยส่วนตัวในฐานะนักการเมืองและคนที่อาสามาทำงาน มองว่าไม่ใช่หน้าที่ของไทยที่จะไปเลือกข้าง แต่ประเทศไทยควรรักษาความสัมพันธ์กับทุกประเทศโดยมุ่งการรักษาประโยชน์ของคนไทยและประเทศเป็นสำคัญ

นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกฯ  กล่าวว่า ในการจัดตั้งรัฐบาลขณะนี้ ยังคงมีความพยายามที่จะตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยแข่งกับเสียงข้างมาก ซึ่งอาจจะสร้างวิกฤตให้ประเทศ ขณะที่ท่าทีของส.ว. ที่มีต่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคก้าวไกล นั้น ยังคงมีประเด็นว่าสุดท้าย การตัดสินใจของ ส.ว.จะเป็นอย่างไร แต่ยังเชื่อว่าก่อนที่จะทำหน้าที่ ส.ว.ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณว่าจะทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศ ดังนั้นหากส.ว.ยึดมั่นในคำถวายสัตย์ปฏิญาณบ้านเมืองจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ได้  

สัญญาณที่เกิดขึ้นผมทราบว่าส..ส่วนหนึ่งรู้ชะตากรรมมีอย่างน้อย 75 คนจะโหวตให้พรรคการเมืองที่รวบรวมเสียงข้างมากได้เพื่อเคารพฉันทามติของประชาชนและเพราะนายพิธามีความชอบธรรมที่จะตั้งรัฐบาลนายไพศาล กล่าว

ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นายไพศาล กล่าวว่า ไทยเรามีหลักวิเทโศบายมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 แล้วว่า ประเทศไทยต้องมี 2 หลักด้วยกัน คือ  1.ประเทศไทยจะต้องไม่เป็นศัตรูกับใครในโลกนี้ 2.ไทยต้องเป็นมิตรกับทุกประเทศ ทั้งนี้จากประวัติศาสตร์ จีนไม่เคยชวนไทยไปรบกับใคร แต่อเมริกาชอบชวนไทยไปรบ ดังนั้น ไทยต้องมีจุดยืนของตนเอง เพราะสหรัฐฯก็มีความสำคัญที่ไทยทิ้งเขาไม่ได้ ทะเลาะกับเขาก็ไม่ได้ แต่ต้องไม่ใช่การยอมอยู่ใต้อาณัติของเขา ดังนั้นการที่ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ไปร่วมลงนามในแถลงการณ์อินโดแปซิฟิก ถือเอาจีนเป็นภัยคุกคามนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง รวมทั้งท่าทีในเรื่องนาโต้ 2 ก็เป็นเรื่องไม่เหมาะสม ถือเป็นการเสียสมดุล จึงเป็นเรื่องผิดพลาดใหญ่หลวงที่รัฐบาลใหม่จะต้องรีบแก้ไข และจำเป็นที่รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ต้องมีความสามารถ จะตั้งรัฐมนตรีที่ผิดพลาดเหมือนที่ผ่านมาไม่ได้อีกแล้ว

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาตร์และนโยบายพรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่า ช่วง 60 วันหลังการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องรับรองผลการเลือกตั้ง ส่วนตัวเชื่อว่า กกต. จะไม่ให้ใบเหลือง หรือ ใบแดง จำนวนมาก เพื่อรับรองส.ส.ให้ครบ 95% เพียงพอจะเปิดประชุมสภาฯ ซึ่งหลังรับรองส.ส.แล้ว จะมีข้อสรุปต่อคุณสมบัติของนายพิธาลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล เชื่อว่า กกต. จะวินิจฉัยหลังจากที่รับรองนายพิธา เป็นส.ส. ก่อนที่จะเสนอชื่อให้รัฐสภา เพื่อให้เรื่องนำไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญ หากคำวินิจฉัยผ่าน ด่านที่ต้องเจอ คือ การโหวตเลือกนายกฯ โดยที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งดูบรรยากาศแล้วไม่ค่อยดี การเสนอชื่อ นายพิธา อาจจะโหวตไม่ถึง 376 เสียง แต่ก็ไม่เชื่อว่าจะมีการตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะมีปัญหาต่อการทำงาน  แค่มติร่างกฎหมายงบประมาณไม่ผ่าน รัฐบาลเสียงข้างน้อยก็อยู่ไม่ได้แล้ว

นายสมชัย กล่าวถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ว่า โดยปกติทุกประเทศล้วนต้องมองผลประโยชน์ของประเทศตนเองเป็นหลัก ไม่ว่าอเมริกาหรือจีน ก็มองเช่นนี้เหมือนกัน ดังนั้นประเทศไทยจะมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างไร ก็เห็นว่าคงต้องมองผลประโยชน์ของประเทศไทยเป็นหลักเช่นกัน ดังนั้นไทยจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ถูกมองหรือถูกตีตราว่าเลือกข้างใดข้างหนึ่ง หรืออย่างกรณีการค้าอาวุธต่างๆ ก็อย่ามองในเรื่องค่านายหน้า หรือรายได้จากการค้าอาวุธเป็นหลัก ส่วนในทางเศรษฐกิจต้องมองทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า ที่เป็นประโยชน์กับประเทศ ซึ่งไทยกับจีนน่าจะมีธุรกิจใกล้ชิดกันมากกว่า ดังนั้นโดยสรุปคือรัฐบาลจากนี้ไปควรมีนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาด รู้จักสร้างดุลอำนาจเพื่อให้ไทยได้ประโยชน์

นายยิ่งยง นิลเสนา นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย มองอนาคตของประเทศไทยว่า ในด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ยังคงมีความท้าทายอยู่อย่างมากสำหรับจุดเปลี่ยนจากนี้ไป เพราะในความเป็นจริงแม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มมีทิศทางของการฟื้นตัวบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวกลับไปถึงจุดเดิมก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิดจนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้นรัฐบาลใหม่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในหลายๆเรื่อง เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจให้กลับคืนมา

อย่างเรื่องที่รัฐบาลที่ผ่านมามีนโยบายที่จะเก็บภาษีขายหุ้นซึ่งตัวเลขคาดการณ์ที่ว่าจะเก็บได้ประมาณหมื่นกว่าล้านบาทนั้นหลายฝ่ายยังมองว่าถึงเวลาจริงๆผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงซึ่งอาจจะทำให้สุดท้ายแล้วเก็บภาษีขายหุ้นได้แค่ไม่กี่พันล้านบาทซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจะเป็นการได้ไม่คุ้มเสียดังนั้นรัฐบาลใหม่ควรจะต้องพิจารณาทบทวนเรื่องนี้ให้รอบคอบ

 นายยิ่งยง มองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ว่า เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็ก ก็ต้องพยายามที่จะอยู่ตรงกลาง ปัญหาคือปัจจุบันจีนกับอเมริกาก็มีเคืองๆกันอยู่ระดับหนึ่ง พอเวลาที่ 2 ขั้วนี้คิดไม่ตรงกัน แล้วไทยควรจะทำอย่างไร ตรงนี้หลายเรื่องที่ไทยควรมีจุดยืนให้ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับได้จากทุกฝ่าย ขณะเดียวกันทิศทางของโลกก็มีความสำคัญ เช่นโลกให้ความสำคัญสภาวะสิ่งแวดล้อม ไทยก็ต้องไม่ทำอะไรที่ทำให้ไปขัดแย้งกับทิศทางนี้ เพราะอาจจะไม่เป็นที่พอใจของขั้วใดขั้วหนึ่งได้ ดังนั้นจึงเห็นด้วยว่าในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น ไทยควรมีรัฐบาลที่ชาญฉลาด

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และอดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย มองว่า อนาคตของประเทศไทยมีจุดเปลี่ยนที่ท้าทายทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพราะที่ผ่านมาหลายๆเรื่องมีความไม่ชัดเจน มีการปกปิดข้อมูล และมีข้อสงสัยในเรื่องของการเอื้อประโยชน์ และไม่มีการชี้แจง อย่างขณะนี้มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ก็มีข่าวว่ามีความพยายามจะแก้ไขสัญญาในลักษณะที่เอกชนเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ หรืออาจจะถึงขั้นยกเลิกสัญญาโดยเอกชนจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากภาครัฐ ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาใต้พรมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่เมื่อไปขอดูสัญญาว่าเป็นอย่างไร หน่วยงานรัฐจะไม่ให้ดู ประชาชนไม่ได้เข้าถึงข้อมูล

เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่รัฐบาลพล..ประยุทธ์มีการไปทำสัญญาไว้แล้วสามารถสร้างได้แค่ 3.5 กิโลเมตรแถมไปอยู่ในกลางป่าซึ่งไม่ใช่จุดที่ควรก่อนสร้างผมพยายามที่จะขอสัญญามาดูหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ไม่ยอมให้ดูเช่นเดียวกับเรื่องของสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้า BTS ที่วันนี้ก็ยังอ้างว่าติดข้อกำหนดเปิดเผยให้ประชาชนดูไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาทั้งเรื่องค่าโดยสารแพงและเรื่องที่พล..ประยุทธ์ไปใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้ BTS วิ่งให้บริการในส่วนต่อขยายและทำให้เกิดภาระหนี้สินจำนวนหลายหมื่นล้านบาทที่วันนี้ยังมีกรณีพิพาททวงถามกันอยู่เลย

นายประภัสร์ กล่าวในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกา ไทย จีน ว่า เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ผ่านมา อย่างกรณีหลังสงครามเวียดนาม เมื่ออเมริกาล่าถอย หากไม่มีจีนยื่นมือเข้ามา ก็ไม่รู้ว่าระหว่างไทยกับเวียดนามจะเป็นอย่างไร เรื่องของประวัติศาสตร์จะสอนให้เรารู้ว่าใครเป็นมิตรที่ดี ใครพึ่งได้ใครพึ่งไม่ได้ ซึ่งวันนี้ ใครก็ดูเหมือนกับเป็นมิตรที่ดีกับเราทั้งนั้น แต่พอถึงเวลาในเรื่องผลประโยชน์ก็ไม่รู้จะอย่างไร ดังนั้นไทยจึงควรต้องมีจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน ว่าควรจะมั่นใจในฝั่งไหนได้อย่างไรบ้าง ซึ่งมิตรแท้นั้นมีค่า และต้องดูในภาวะคับขันว่าใครคือมิตรแท้ อย่างอเมริกาในยุคทรัมป์ ได้ทำให้เห็นแล้วว่าเขาให้ความสำคัญกับอเมริกาเป็นที่ 1 เขาทำสงครามการค้ากับจีน ใครจะเดือดร้อนเขาก็ไม่ได้สนใจ ดังนั้นในการที่ไทยจะอยู่ตรงกลาง พูดง่ายแต่ทำจริงๆไม่ง่าย จึงต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน และอธิบายได้ รัฐบาลต้องบอกความจริงกับประชาชนว่าทำไมมีจุดยืนแบบนั้น

นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาลไม่ว่าแบบไหน ประเทศไปได้ เพราะทุกพรรคบริหารงานในภาครัฐ แต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจคือ เอกชนที่มีความต้องการมั่นคง ราบรื่น ไม่มีความวุ่นวาย ซึ่งมองว่าขณะนี้ไม่มีความวุ่นวาย สำหรับในขั้นตอนหลังเลือกตั้งจะเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย ขณะที่การเสนอนโยบายแก้ไขเรื่องต่าง ๆ ต้องใช้กระบวนการนิติบัญญัติที่ไม่ง่ายและต้องใช้เวลา โดยเห็นด้วยที่จะถึงเวลาจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มในขั้นตอนของการทำประชามติ แต่หากตั้ง ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ไม่อยากให้นักการเมืองชี้นำการทำงาน

นายไพบูลย์ กล่าวถึงกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่า ไทยกับจีนนั้นมีความสัมพันธ์พิเศษมายาวนาน ดังนั้นจึงมีแต่การพัฒนาความแน่นแฟ้นมากขึ้น อย่างในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ ก็จะมีการจัดงานให้นักธุรกิจจีนเข้ามาในไทย รวมกว่า 4,000 คน ซึ่งตรงนี้จะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีนมากขึ้น อีกทั้งมูลค่าการค้าระหว่างไทยจีนในปัจจุบันมีสูงถึง 3.6 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่างบประมาณของไทยด้วย ดังนั้นมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยมีความสำคัญมาก ในขณะที่กับอเมริกาเองก็มีความสำคัญกับไทยเช่นกัน ดังนั้น บทบาทของไทยจึงควรต้องมีความเป็นมิตร และมีความจริงใจกับทั้งสองประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกระดับ ‘รถเมล์ไทย’ โจทย์ยาก...ที่เป็นไปได้! กับ งานเสวนาทอล์ก ออฟ เดอะ ที : รถเมล์ไทยต้องดีกว่าเดิม

งานเสวนาทอล์ก ออฟ เดอะ ที ตอน...รถเมล์ไทยต้องดีกว่าเดิม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 23 เม.ย.67 ที่อาคารสำนักงานไทยโพสต์

มาตามคำเรียกร้อง! เปิดบ้านชวนซุบซิบ จิบน้ำชายามบ่าย ทอล์ก ออฟ เดอะ ที ครั้งที่ 2 ตอน...จากทัณฑ์ทิพย์ สู่ทิศทาง (การเมือง) ไทย

ชวนมองประเทศ หลัง'ทักษิณ'พักโทษ รู้เท่า(ทัณฑ์) กลการเมือง เปิดแผลแผนบริหารโทษ และปิดทางโมเดล 'ทัณฑ์ทิพย์'

'เสนา' ลุ้นนโยบายรัฐบาลใหม่เพิ่มกำลังซื้ออสังหา

“เสนา” ผู้พัฒนาอสังหาฯ รอประเมินนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่ หนุนสร้างกำลังซื้อที่อยู่อาศัย บนปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรค ทั้งดอกเบี้ย รายได้ และภาระหนี้ครัวเรือน หวังรัฐบาลแก้ทั้ง 3 เรื่อง เพื่อให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เตรียมแผนเคลื่อนปี 2567 เพิ่มกลยุทธ์นอกเหนือจากการขายโครงการ เน้นการนำนวัตกรรมการเงิน เพื่อให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยในรูปแบบใหม่

นิพิฏฐ์ เผยลางสังหรณ์ ไม่เกิน 3 เดือน 'ข้าวบูด ปลาเน่า' จะส่งกลิ่นโซยในรัฐบาลชุดใหม่

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ระบุว่า… ข้าวใหม่-ปลามัน

คิวแน่น! นายกฯเศรษฐา เตรียมลงพื้นที่ภาคเหนือ ก่อนประชุมยูเอ็นที่นิวยอร์ก

ภายหลังการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาเสร็จสิ้น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จะเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันพุธที่ 13 ก.ย.

'เศรษฐา' ยืนยันนโยบายรัฐบาล แก้รัฐธรรมนูญโดยไม่แตะหมวดความมั่นคง-สถาบัน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลยืนยันจะปรับแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่แก้หมวด1 ความมั่นคงของรัฐ และหมวด2 สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่สำคัญจะดำรงไว้ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข