'สมาคมทนาย' ยันไทยต้องมี 112 คุ้มครองสถาบันฯ แนะตั้ง กก.กลั่นกรอง

‘นายกสมาคมทนายความ’ ยันไทยต้องมีมาตรา 112 คุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ชงตั้งคกก.กลั่นกรองความผิด ไม่ควรใช้สำนักพระราชวัง ศาลต้องกล้าให้ประกัน

26 พ.ค. 2566 – นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ความว่า ตามที่เกิดประเด็นถกเถียงกรณีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่เห็นว่า ควรมีการยกเลิก ควรมีการแก้ไข และไม่ควรแตะต้องเลย นั้น

สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย เห็นว่า ไทยจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อปกป้องสถาบันหลักของประเทศ ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาได้มีบัญญัติเพื่อการปกป้องสถาบันหลักทั้ง 3 แล้ว ดังนี้

1.การปกป้องสถาบันชาติ ได้แก่ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา 116 มีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

2.การปกป้องสถาบันศาสนา ได้แก่ ความผิดต่อศาสนาตามมาตรา 206 มีโทษจำคุกหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

3.การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ความผิดตามมาตรา 112 มีโทษจำคุกสามปีถึงสิบห้าปี

ดังนั้น การที่พรรคการเมืองบางพรรคเสนอให้มีการยกเลิกมาตรา 112 นั้น เห็นว่า เป็นข้อเสนอที่มีอคติและไม่มีเหตุผลรองรับ เพราะประเทศมีกฎหมายปกป้องสถาบัน ชาติและศาสนา แล้ว

เหตุใดจึงจะยกเลิกการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนที่เสนอให้แก้เป็นความผิดที่ยอมความได้ และมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปียิ่งขาดเหตุผล เพราะมาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มีหลักการเดียวกับมาตรา 116 และ 206 จึงต้องเป็นความผิดต่อรัฐที่ยอมความไม่ได้และมีอัตราโทษเช่นเดียวกัน ส่วนที่บางฝ่ายเห็นว่าควรมีการแก้ไขอัตราโทษให้สอดคล้องกับมาตรา 116 และ 206 ก็เป็นเรื่องที่รัฐสภาจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม

ปัญหาที่แท้จริงของมาตรา 112 ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากประชาชนทั่วไปสามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ จึงเกิดการกลั่นแกล้งโดยใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือทำร้ายอีกฝ่าย ส่วนที่เสนอให้สำนักพระราชวังเป็นผู้เสียหายยิ่งไม่บังควร เพราะจะเป็นการดึงเอาสถาบันมาเป็นคู่กรณีกับประชาชน

สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรมีการตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณากลั่นกรองว่าการกระทำใดเป็นความผิดต่อมาตรา 112 หรือไม่ เพื่อให้ตำรวจและอัยการถือปฏิบัติไม่ให้เกิดกรณีฟ้องไว้ก่อนเพื่อเอาตัวรอด ส่วนศาลก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้เป็นเช่นเดียวกับความผิดฐานอื่น หาไม่แล้วจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดต่อสถาบัน เพราะความขลาดกลัวและการใช้ดุลพินิจที่เลือกปฏิบัติของศาล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผงะ! พบศพเหลือแต่โครงกระดูก เกยซอกหินริมทะเล

ร.ต.ท.ณัฐธนน ลิ่มประจวบพงษ์ รอง สว.(สอบสวน) แจ้งว่า ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุ สภ.ปากพนังว่า พบโครงกระดูกมนุษย์ ริมแนวกั้นคลื่นริมชายทะเล ม.9 ต.ท่าพยา อ.ปากพนัง

ตำรวจไซเบอร์บุกทลาย 'แก๊งคอลเซ็นเตอร์' ชาวจีน กลางโรงแรมดัง

พ.ต.อ.ฐาปกรณ์ หนุมาศ ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผกก.3 สอท.5) สืบทราบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดีลนายใหญ่! 'จักรภพ' นำร่องพาบริวารกลับบ้าน

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จักรภพกลับไทย โครงการนำร่องของทักษิณ นำบริวารกลับบ้าน

สำนักพระราชวัง เชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร กรมสมเด็จพระเทพฯ 1-3 เม.ย.67

เว็บไซต์ สำนักพระราชวัง เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน

คดีถึงที่สุด! อัยการสูงสุดไม่ยื่นฎีกา หลัง 2 ศาลยกฟ้องพันธมิตรฯปิดล้อมสภาปี 51

นายประยุทธ เพชรคุณ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า สำนักงานอัยการสูงสุดมีความคืบหน้าคดีสำคัญที่สังคมและสื่อมวลชนให้ความสนใจโดยเป็นคดีที่อัยการสูงสุดไม่รับรองให้ฎีกาคดีฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับพวก เป็นผลให้คดีถึงที่สุด

นายกฯ กำชับตำรวจก้าวข้าม 'ต่อ-โจ๊ก' ลั่นไม่ขอยุ่งแล้ว ให้เป็นหน้าที่คกก.ตรวจสอบ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 2/2567 ว่า ในที่ประชุมได้กำชับเรื่องความขัดแย้งระหว่าง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ