อดีตผู้พิพากษา ซัด ’กกต.’ ปล่อย สส.ไร้คุณภาพ ทำการเมืองไทยเกิดวิกฤต

6 ส.ค.2566-นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่า พรป. การเลือกตั้ง สส. มาตรา 73 ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ตนเองหรือผู้สมัครอื่น ให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร หรือการชักชวนให้ไปลงคะแนนไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

(1) จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

…..การที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียงโดยการประกาศว่าจะแจกเงินแก่ผู้สิทธิเลือกตั้ง เช่น แจกเงินดิจิทอลแก่ประชาชนทุกคนๆ ละ 10,000 บาท เป็นเวลา 6 เดือน จ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้ลูกจ้างวันละ 450 บาท จ่ายเงินให้เด็กแรกเกิด 3,000 บาท เด็กเล็กเดือนละ 1,200 บาท ผู้จบปริญญาตรีต้องได้รับเงินเดือนละ 25,000 บาท และจ่ายเงินให้แก่คนชราเดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

…..การหาเสียงโดยการจะแจกจ่ายเงินดังกล่าวทำให้ประชาชนหลงเชื่อจึงเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. และเลือกพรรคนั้นๆ โดยหวังว่าจะได้ประโยชน์ตามที่พรรคการเมืองต่างๆ หาเสียง อันเป็นผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่หาเสียงดังกล่าวได้รับการเลือกตั้งมาเป็นจำนวนมากทั้งๆ สส.เขต สส. บัญชีรายชื่อ

…..ทั้งๆ ที่การหาเสียงเช่นนั้นย่อมเห็นได้ว่า เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 73(1) อย่างชัดเจน แต่ กกต. กลับให้ความเห็นว่า สามารถทำได้เพราะเป็นเรื่องนโยบายของพรรคการเมือง ตามพรป.พรรคการเมือง อันเป็นกฎหมายคนละฉบับกัน จึงไม่ควรจะเอามาตีความเพื่อยกเว้นการกระความผิดตาม พรป.การเลือกตั้ง สส. ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่ต้องให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม

…..ถ้า กกต. ที่มีหน้าที่จัดการเลือกไม่ปล่อยปละละเลยให้พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งซื้อเสียงกันได้ทั้งที่ กกต.เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายและที่เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ กกต.ก็ไม่ได้ดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่มีการใช้เงินซื้อเสียงกันซึ่งประชาชนต่างก็รู้กันดีดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

…..ไม่ปล่อยให้ผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 สมัครรับเลือกตั้งกันโดยไม่ได้ตรวจสอบ แม้กระทั่งผู้สมัครที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์โดยมีผู้ร้องเรียนแล้ว ซึ่ง กกต.เพียงมีหนังสือสอบถามประวัติอาชญากรไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้รับคำตอบแล้ว

…..หรือเพียงเรียกผู้สมัครคนนั้นมาสอบถามว่า ถูกศาลพิพากษาจำคุกจริงหรือไม่ ที่ศาลไหน ปีใด เชื่อว่า ผู้สมัครคงไม่กล้าโกหก จากนั้นสอบถามไปที่ศาลก็คงได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน แต่ กกต. ก็ไม่กระทำกลับประกาศผลให้ผู้สมัครคนนั้นได้เป็น สส. และรัฐต้องจ่ายเงินเดือนให้แล้วตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566 อันเป็นวันที่บุคคลนั้นลาออกจากเป็น สส. อยากถาม กกต.ว่า จะให้ใครรับผิดชอบเงินจำนวนนี้

…..ถ้า กกต.ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งเคร่งครัดตามบทบัญญัติของกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบดังเช่นที่ กกต. ชุดแรกได้ประพฤติปฏิบัติเชื่อได้ว่า สส. คงมีคุณภาพมากกว่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันและการเมืองของประเทศไทยคงต้องไม่เกิดวิกฤติเละเทะอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลขา กกต.โยนบาปรัฐธรรมนูญ! บอกการคัดเลือก สว.แก้ไขไม่ได้

'เลขา กกต.' มองคงแก้อะไรไม่ได้ แม้ถูกทักท้วง รูปแบบ’คัดเลือก สว. เหตุ รธน.กำหนดไว้ ชี้ไทม์ไลน์ ไม่เหมือน เลือกตั้ง สส. ยันมีมาตรการป้องกันการฮั้วทุกพื้นที่

หน้าที่และอำนาจของ สว. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เผยแพร่สาระน่ารู้การเลือกสมาชิกวุฒิสภา 20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทย ไปพร้อมกัน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ถามสภาฯ-กกต. ปมร้องสอบผู้สมัครสว.เลือกกันเอง ขัดรธน.หรือไม่

พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยเกี่ยวกับกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ร้องเรียนขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 23 (1)

กกต. ชงศาลฎีกา ชี้ขาดใบดำ-ใบแดง 'สมชาย เล่งหลัก' ผู้สมัคร สส.สงขลา

เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ได้เผยแพร่คำวินิจฉัย กกต.มีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายสมชาย เล่งหลัก