จัดหนักอาชญากรข้ามชาติ 'อสส.' ตามติดริบทรัพย์คืน วางเครือข่ายคลุม 28 ประเทศ

แฟ้มภาพ

อสส.ยกระดับกฎหมายผนึก 28 ประเทศเครือข่ายภูมิภาคแปซิฟิก ตามติดริบทรัพย์อาชญากรข้ามชาติ กระทำความผิดข้ามแดน

3 ธ.ค.2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. – 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ โรงแรมเรเนอร์ซองส์ ราชประสงค์กรุงเทพมหานคร ทางสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญประจำปีของเครือข่ายประสานงานด้านการติดตามทรัพย์สินคืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asset Recovery Interagency Network Asia Pacific (ARIN-AP)) ครั้งที่ 8  ซึ่งเครือข่าย ARIN-AP นี้ประเทศไทยได้ร่วมกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2556

โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดในการตรวจสอบ ติดตาม และริบทรัพย์สินของอาชญากรข้ามชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ บรูไน ศรีลังกา กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน อินเดีย หมู่เกาะคุ๊ก ปากีสถาน เมียนมา  มองโกเลีย คาซัคสถาน เวียดนาม เกาหลีใต้ ปาปัวนิวกินี ปาเลา เนปาล เตอร์กิสถาน ตองกา ฟิลิปปินส์ ตูวาลู มัลดิฟส์ และประเทศไทย และมีสมาชิกผู้สังเกตการณ์จากภูมิภาคอื่นจำนวนหนึ่ง 

ในการประชุมครั้งนี้นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะบริหารของ ARIN-AP และประธานการประชุมสามัญประจำปี คณะผู้บริหารของ ARIN-AP ได้มีมติกำหนดแผนงานการจัดกิจกรรมต่างๆของเครือข่าย การฝึกอบรมสัมมนาด้านการติดตามทรัพย์สิน การหาสมาชิกเพิ่ม และการรับเป็นเจ้าภาพการประชุมสามัญประจำปีสมัยต่อไปของออสเตรเลียและมองโกเลียตามลำดับ

การประชุมสามัญประจำปีและประชุมเชิงปฏิบัติการปีนี้ ได้ประชุมในหัวข้อ Synergy for Effective Confiscation of the Proceeds of Crime 

โดยสมาชิกของเครือข่ายและผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) และธนาคารโลก ได้นำเสนอพัฒนาการปรับปรุงกฎหมายด้านการฟอกเงินและการติดตามคืนทรัพย์สินของประเทศตนเอง บทเรียนความสำเร็จจากการดำเนินคดีต่างๆ การเก็บรักษาและจำหน่ายทรัพย์สินที่ริบได้ การตรวจสอบติดตามยึดทรัพย์สินดิจิตอล cryptocurrency การแบ่งปันทรัพย์สินระหว่างประเทศที่ร่วมมือกันในการติดตามทรัพย์สินนอกจากนั้นสมาชิกบางประเทศได้ใช้โอกาสประชุมทวิภาคีเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือในการหาพยานหลักฐานในต่างประเทศ และแนวทางการดำเนินคดีติดตามริบทรัพย์สินข้ามแดนที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน

ในวันสุดท้ายของการประชุม นายจุมพล พันธุ์สัมฤทธิ์ รองอัยการสูงสุด ได้เป็นผู้แทนประเทศไทยทำพิธีส่งมอบการเป็นประธานการประชุมครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2567 ให้แก่ผู้แทนของประเทศออสเตรเลีย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อัยการคดีพิเศษ' จ่อยื่นศาลสั่งริบทรัพย์ STARK อีก 3 พันล้านบาท

'วิรุฬห์' อธ.อัยการคดีพิเศษ เตรียมยื่นศาลขอริบทรัพย์อดีตผู้บริหาร STARK อีก 3 พันล้านบาท เยียวยาผู้เสียหาย 'อัยการ-ศาล-ปปง.' จับมือเชื่อมโยงข้อมูลคดีฟอกเงิน เพิ่มประสิทธิภาพทำงาน

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

เฮ!รัฐบาลจัดเชื่อเงินด่วนให้ 'อสม.-อสส.' กู้รายละไม่เกิน 2 หมื่นบาท

รัฐบาลจัดโครงการสินเชื่อเงินด่วนคนดี ให้สมาชิก อสม. - อสส. รายละไม่เกิน 20,000 บาท ยื่นกู้ได้ ณ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2568

คุกอ่วม! แก๊งนำเข้า-ส่งออกตัวอ่อนให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ที่ห้องพิจารณาคดี 902 ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีอุ้มบุญข้ามชาติ หมายเลขดำ อ.1172/2563 ที่พนักงานอัยการฝ่าย

ยังมีเวลายกเลิก ดีลลับ”ยิ่งลักษณ์”กลับไทย

กระแสข่าวความเป็นไปได้ที่”ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี”จะเดินทางกลับประเทศไทยในปีนี้ เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ หลังชนักติดหลังคดีความต่างๆ

อัยการเรียก 'เรืองไกร' ให้ถ้อยคำ คดีร้อง 'เพื่อไทย' ล้มล้างปกครองหรือไม่

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือเชิญจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานอัยการสูงสุด