'ลูกชายสหายภูชนะ' ร้อง กมธ.กฎหมายสอบข้อเท็จจริงพ่อถูกบังคับสูญหาย!

'ลูกชาย สหายภูชนะ-มูลนิธิผสานวัฒนธรรม' ร้อง ปธ.กมธ.กฎหมาย สอบข้อเท็จจริงบังคับสูญหายที่ลาวเมื่อปี 2561

13 มี.ค. 2567 - ที่รัฐสภา นายก่อการ บุปผาวัฏฏ์ บุตรชายของนายชัชชาญ บุปผาวัลย์ (สหายภูชนะ) พร้อมด้วยทนายความจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เข้ายื่นหนังสือต่อ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส.นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ขอให้สอบข้อเท็จจริงและค้นหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับให้สูญหายของนายชัชชาญ ที่ประเทศลาว เมื่อปี 2561

ทั้งนี้ได้ขอให้คณะ กมธ.ฯ ดำเนินงานในสองประเด็นหลัก คือ 1. ขอให้ กมธ.ฯตรวจสอบข้อเท็จจริง และสืบสวน เกี่ยวกับเหตุการณ์การลักพาตัวของนายชัชชาญ และการสืบสวน สอบสวนเพื่อค้นหามูลเหตุ ของการลักพาตัว และพยานหลักฐาน จากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการขัดแย้งทางการเมือง การละเลยในการติดตามและความล้มเหลวในการเยียวยาผู้เสียหาย โดยมีการแจ้งให้ญาติ และครอบครัวของนายชัชชาญทราบถึงความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และ 2.ขอให้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการข่มขู่และคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐไทยที่เกิดในสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลักพาตัวของนายชัชชาญ และการสั่งการเข้าออกชายแดนไทย-ลาว และขอให้มีการดำเนินการ เพื่อความยุติธรรมแก่นายชัชชาญและครอบครัว รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดังกล่าว และชดใช้เยียวยาต่อไป

ทั้งนี้ เป็นคดีที่สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2561 นายชัชชาญถูกบังคับให้สูญหาย ไปพร้อมกับนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือด่านวัฒนานุสรณ์ จนกระทั่งวันที่ 27 ธ.ค.2561 เวลาเช้า มีคนพบศพนายชัชชาญถูกฆ่า และกระทำอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ลอยแม่น้ำโขง มาขึ้นฝั่งที่จังหวัดนครพนม จนกระทั่งปัจจุบันการดำเนินการสืบสวนสอบสวนยังไม่คืบหน้า และไม่ทราบตัวผู้กระทำความผิด โดยหลังจากพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2566 บังคับใช้ นายก่อการได้เดินทางมาร้องทุกข์กับศูนย์ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2566 เป็นครั้งแรก ซึ่งในเบื้องต้นพนักงานอัยการผู้รับเรื่องร้องทุกข์แจ้งว่า หลังจากนี้อาจมีการแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ให้ไว้ เพื่อพิจารณาว่ากรณีเข้าองค์ประกอบที่จะใช้กลไกคุ้มครองและเยียวยาตาม พ.ร.บ.ทรมาน-อุ้มหาย หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงไม่มีความคืบหน้า

ด้านนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ สส.ยะลา พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า กมธ.ฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลในครั้งแรก ซึ่งปรากฏว่า ไม่ทราบว่าสำนวนอยู่ที่ไหน แต่ในท้ายที่สุดจึงได้ข้อมูลว่า มีการให้ความเห็นว่าการตายของทั้ง 85 คนนั้น ไม่ได้เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญา และเมื่อประชาชนได้ทราบข่าวก็เกิดความต้องการจะทราบว่า กระบวนการยุติธรรมของสังคมไทยเป็นอย่างไร และอยากให้ผู้เสียหายได้ฟ้องร้องเอง โดยผู้เสียหายได้มีการรวบรวมเอกสารที่ใช้ยื่นฟ้องให้กับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมดังกล่าวด้วย แต่กลับถูกข่มขู่

นายกมลศักดิ์ กล่าวว่า ได้มีการเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงกว่า 2 เดือนแล้ว เพื่อสอบถามความคืบหน้าของคดี แม้ผู้เสียหายจะได้รับการเยียวยาไปแล้ว แต่ในทางกฎหมายหน่วยงานที่เข้ามาชี้แจง เมื่อดูในบันทึกข้อตกลง ทุกคนมีความเห็นว่า เป็นบันทึกข้อตกลงที่ไม่ทำให้คดีอาญาระงับ นั่นหมายความว่า เมื่อศาลได้มีการไต่สวนแล้ว ว่าผู้ตายขาดการหายใจ พนักงานสืบสวนสอบสวนต้องดำเนินคดีต่อ ว่าใครเป็นผู้ทำให้ขาดอากาศหายใจ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้มีการขอขยายเวลาส่งสำนวนดำเนินคดี แต่กลับไม่มีการดำเนินการอะไรเลย จึงถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลฎีกาพบข้อพิรุธอื้อ คดี 'ชัยภูมิ ป่าแส' พิพากษากลับสั่งกองทัพบก ชดใช้ 2 ล้าน

6 ปี กับการต่อสู้ของครอบครัว 'ชัยภูมิ ป่าแส' ไม่สูญเปล่า สุดท้ายแล้วความยุติธรรมที่รอคอยก็มาถึง เมื่อศาลฎีกาสั่งกองทัพบกจ่ายเงิน 2 ล้านกว่า ให้กับครอบครัวฯ เผยจำเลยมีข้อพิรุธเพียบ

เอ็นจีโอกว่า10องค์กร ปลุกทุกภาคส่วนร่วมยื่นจม.ถึงปธ.ศาลฎีกา เร่งคลี่คลายวิกฤตศรัทธา

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมฯ ร่วมกับองค์กรประชาชนกว่า 10องค์กร ชวนทุกภาคส่วนร่วมแสดงพลัง ยื่นจม.ปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา จี้แก้ไขคำสั่งเกี่ยวกับการประกันตัวนักกิจกรรม เร่งคลี่คลายวิกฤตศรัทธา โดยด่วน

ลุ้น! ศาลฎีกาพิพากษาคดี 'ชัยภูมิ ป่าแส' 16 ม.ค.นี้

วันที่ 16 ม.ค. 2566 เวลา 09.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร นัดฟังคำสั่งศาลฎีกา ในคดีที่นางปอย ป่าแส มารดาของนายชัยภูมิ ป่าแส (โจทก์)ฟ้องกองทัพบก (จำเลย)

วันผู้สูญหายสากล เอ็นจีโอ จี้รัฐกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำให้บุคคลสูญหายอีกต่อไป

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการณ์ เนื่องในวันผู้สูญหายสากล จี้รัฐต้องกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐกระทำให้บุคคลสูญหายอีกต่อไป