ลุ้น! ศาลรธน.นัดวินิจฉัย 18 พค.นี้ เลื่อนการบังคับใช้พรบ.ป้องกันอุ้มหาย 4 มาตราหรือไม่

17 พ.ค. 2566- นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการ ได้ยื่นหนังสือความเห็นทางวิชาการกฎหมายต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตามการร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและเครือข่ายญาติผู้สูญหายและผู้ถูกซ้อมทรมาน กรณีการออกพระราชกำหนดเลื่อนการบังคับใช้มาตราของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จำนวน 4 มาตรา ว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือและลงมติวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.30 น.

ความเห็นทางวิชาการกฎหมายของศูนย์นิติศาสตร์ ระบุหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลื่อนการบังคับใช้ บทบัญญัติ 4 มาตรา โดยพระราชกำหนดของรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญยินยอมให้ฝ่ายบริหารยกเลิกมาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยสาธารณะที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ซี่งขัดต่อเจตนารมณ์ของพ.ร.บ. ฉบับนี้โดยทันที และจะเป็นบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการยินยอมให้คณะรัฐมนตรีตรากฎหมายที่มีผลบังคับเทียบเท่าพ.ร.บ.ได้ตามอำเภอใจ โดยไร้ซึ่งเหตุจำเป็น และไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และมีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตัดอำนาจของรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบการออกพระราชกำหนดของรัฐบาลอีกด้วย

นอกจากนี้ความเห็นทางวิชาการยังระบุด้วยว่า “การเลื่อนการบังคับใช้ 4 มาตรา ทำให้หากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ปฏิบัติตามมาตรา 22,23,24, และ 25 จะไม่มีบทลงโทษแต่อย่างใด จึงเท่ากับเป็นการยอมให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบในการควบคุมตัวประชาชน อุ้มหาย หรือซ้อมทรมาน เฉกเช่นที่ทำอย่างเคยต่อไป ดังนั้นพ.ร.ก.ฉบับนี้จึงไม่ใช่กรณี ความปลอดภัยสาธารณะ แต่คือการเลื่อนออกไปของการบังคับใช้ต่างหากที่ทำให้ไม่ปลอดภัย”

เดิมพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 หนึ่งอาทิตย์ก่อนพ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ ออกพระราชกำหนดแก้ไขโดยเลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22,23,24, และ 25 ไปเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2566

ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร รัฐบาลจะต้องนำพ.ร.ก.ฉบับนี้ให้รัฐสภาเพื่อพิจารณาว่าจะรับรองหรือไม่โดยทันที โดยสภาผู้แทนราษฎร มีกำหนดพิจารณาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ในวันเดียวกัน สส.ของฝ่ายรัฐบาลจำนวน 1 ใน 5 ของจำนวนส.ส.ในวันดังกล่าว ได้อ้างอำนาจตามมาตรา 173 แห่งรัฐธรรมนูญ ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การตราพ.ร.ก.เลื่อน 4 มาตรา ของพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ของรัฐบาลนั้นขัดบทบัญญัติมาตรา 172 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ปริญญา' เปิด 4 กรอบนโยบาย ชิงเก้าอี้อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ความในเฟซบุ๊ก เรื่อง ธรรมศาสตร์จะไปทางไหน และ ใครจะเป็นอธิการบดีคนต่อไป 2 มีเนื้อหาดังนี้

ศาลฎีกาพบข้อพิรุธอื้อ คดี 'ชัยภูมิ ป่าแส' พิพากษากลับสั่งกองทัพบก ชดใช้ 2 ล้าน

6 ปี กับการต่อสู้ของครอบครัว 'ชัยภูมิ ป่าแส' ไม่สูญเปล่า สุดท้ายแล้วความยุติธรรมที่รอคอยก็มาถึง เมื่อศาลฎีกาสั่งกองทัพบกจ่ายเงิน 2 ล้านกว่า ให้กับครอบครัวฯ เผยจำเลยมีข้อพิรุธเพียบ

'อ.ปริญญา' โต้แย้งคำพิพากษา ไม่ควรตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง 'ช่อ' ตลอดชีวิต

'อ.ปริญญา'โต้แย้งคำพิพากษาตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง'ช่อ' ชี้เป็นการตีความรัฐธรรมนูญของผู้มีอำนาจหน้าที่ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นก่อน ไม่ใช่เกิดขึ้นหลังมาตรฐานจริยธรรมประกาศใช้ จึงไม่ควรตัดสิทธิตลอดชีวิต

จวกรัฐละเมิดสิทธิการศึกษา พระ-สามเณรไร้สัญชาติ เจ้าอาวาสแบกภาระหารายได้ส่งเสีย

กรณีที่พบว่าการศึกษาของสามเณร โดยเฉพาะสามเณรไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนมากประสบปัญหาเนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ไม่ออกรหัส G สำหรับสามเณรที่ไม่มีเอกสารทางทะเบียนราษฎรแตกต่างจากเด็กนักเรียนในระบบการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนไม่มีเอกสารใดๆ สามารถขอรหัสตัว G และได้รับงบสนับสนุนจากรัฐบาล