'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

10 เม.ย.2567- นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

วันนี้ผู้ใหญ่บ้าน ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)เรียบร้อยแล้วค่ะ เลขที่รับ ๔๑๐

หนังสืออุทธรณ์
เขียนที่ .......
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๗
เรื่อง อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
เรียน ประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้าพเจ้า นาง วิรังรอง ทัพพะรังสี อยู่บ้านเลขที่ โทรศัพท์ มีความประสงค์ขออุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้วยเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ข้าพเจ้าได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ขอดูเอกสารจำนวน ๔ รายการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังมีรายละเอียดตามสำเนาคำขอที่แนบมาพร้อมนี้ ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๗ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งปฏิเสธไม่อนุญาตให้สำเนาเอกสารดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของแก่บุคคลได้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือปฏิเสของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่แนบมาพร้อมนี้
เรื่องที่ข้าพเจ้าขอให้เปิดเผย ๔​ ข้อนั้น

ข้อ ๑ ข้าพเจ้าขอให้จุฬาฯ เปิดเผยมติการสอบสวน วิทยานิพนธ์ดุฏฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง เนื่องด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเรื่องร้องเรียนว่าวิทยานิพนธ์ดังกล่าวใช้ข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญและเป็นกลางขึ้นมาตรวจสอบประเด็นดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ บัดนี้คณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการสอบสวนจนเสร็จสิ้นแล้ว และสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้มีมติรับรองผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์ของคณะกรรมการสอบสวนฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน มติผลการสอบสวนจึงควรเปิดเผยได้

การที่จุฬาฯ ปฏิเสธว่าไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากกระบวนการพิจารณาได้เสร็จสิ้นแล้ว และไม่มีขั้นตอนใด ๆ ที่จะต้องวินิจฉัยวิทยานิพนธ์ต่อไปอีก

ข้อ ๒ ขอทราบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการ อย่างไรแล้วบ้างหลังจากที่ได้รับรองมติผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์ดังกล่าว หากจุฬาฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว ก็เป็นเรื่องที่สมควรเปิดเผย
ข้อ ๓ ถ้าจุฬาฯ ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ข้าพเจ้าขอทราบว่าจะดำเนินการเมื่อใด และอย่างไร
ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และเป็นประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปปท.) จึงมีความรักและผูกพันกับสถาบันที่ให้การศึกษา และปรารถนาที่จะเห็นการบริหารงานการดำเนินการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปโดยเปิดเผยโปร่งใส

นอกจากนี้เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญที่สาธารณชนให้ความสนใจ การที่จุฬาฯ เก็บเรื่องนี้เงียบไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่เป็นผลดีต่อชื่อเสียงความน่าเชื่อถือด้านวิชาการของจุฬาฯ จุฬาฯ มิใช่มหาวิทยาลัยของเอกชน แต่เป็นมหาวิทยลัยในกำกับของรัฐ สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่ได้รับงบประมาณจากภาษีอากรของประชาชนปีละประมาณเกือบแปดพันล้านบาท และมีรายได้รวมปีละประมาณ สองหมื่นสี่พันล้านบาท การที่จุฬาฯ ไม่เปิดเผยแสดงความชัดเจนเร่งดำเนินการลงโทษและแก้ไขปัญหา ทำให้ยังมีการใช้วิทยานิพนธ์ที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ต่อไป เยาวชนรุ่นหลังจะหลงเชื่อในข้อมูลที่ผิด เรื่องนี้ข้าพเจ้าจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพียงคนเดียว แต่ยังมีประชาชนผู้เสียภาษี พ่อแม่ผู้ปกครอง นิสิต นักศึกษา เยาวชนชองชาติ สถานศึกษาที่จ้างนายณัฐพล ใจจริง ไปสอน ต่างได้รับผลเสียกันมาแล้วหลายรุ่น หลายปี ตั้งแต่จุฬาฯ อนุมัติวิทยานิพนธ์นั้น จนถึงวันนี้

ข้าพเจ้าจึงมีสิทธิที่จะขอให้จุฬาฯ ตอบ การปฏิเสธไม่ตอบทั้ง ๓ ข้อข้างต้น และปล่อยให้เรื่องดังกล่าวคลุมเครือคาราคาซังมาเป็นเวลาหลายปีโดยเก็บเรื่องเงียบไม่ชี้แจงทั้งที่เป็นเรื่องที่ควรชี้แจงได้ เป็นบทพิสูจน์ความไม่โปร่งใสของจุฬาฯ และแสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคม
ข้อ ๔-๕ ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารฯ

ข้อ ๖ ขอทราบนามอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนาย ณัฐพล ใจจริง
หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ส่งหนังสือร้องเรียนดังกล่าวให้จุฬาฯ และโพสต์ประกาศไว้ใน Facebook ก็มีผู้ส่งรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนาย ณัฐพล ใจจริง มาให้ข้าพเจ้า และสื่อต่างๆ ก็ยังได้แชร์รายชื่อกันอย่างกว้างขวางเช่นกัน แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่อาจมั่นใจได้ว่ารายชื่อดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ จึงต้องการทราบข้อมูลโดยตรงจากจุฬาฯ
การที่จุฬาฯ ปฏิเสธคำขอให้เปิดเผยชื่อของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง โดยอ้างว่าเป็นคำขอที่รุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องที่เปิดเผยได้เป็นปกติ ไม่เคยเป็นเรื่องที่ต้องปกปิดมาก่อน ไม่มีระบียบข้อห้ามใดๆ ที่จะเปิดเผยไม่ได้ ทั้งยังเป็นเรื่องจริยธรรม ข้าพเจ้ามีสิทธิที่จะทราบและเลือกได้ว่าลูกหลานควรเข้ารับการศึกษากับอาจารย์ท่านใดที่จะสอนลูกหลานได้อย่างถูกต้อง และอาจารย์ท่านใดที่ควรหลีกเลี่ยงเพราะสนับสนุนข้อมูลที่บิดเบือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็คิดเช่นเดียวกับข้าพเจ้า

ส่วนการอ้างว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลดังกล่าวได้นั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างเกินความเป็นจริง เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์หรือให้คุณให้โทษต่อผู้มีอำนาจหรือผู้มีอิทธิพลในสังคมที่หากทราบชื่ออาจารย์แล้วต้องถึงกับลงมือทำร้ายอาจารย์หรือฆ่าแกงกันแบบละครหลังข่าว ถ้าอันตรายขนาดนั้นจริง บรรดาอาจารย์ที่มีรายชื่อตามที่สื่อโซเชียลแชร์กันมาเป็นเดือน ๆ ก็ควรต้องบาดเจ็บล้มตายไปหลายคนแล้ว

จากเหตุผลข้างต้นที่ได้กล่าวมา เพื่อประโยชน์สาธารณะ ข้าพเจ้าจึงขอใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ได้โปรดพิจารณาให้จุฬาฯ เปิดเผยข้อมูลดังนี้

๑. ขอสำเนารายงานการสอบสวนวิทยานิพนธ์ดังกล่าว
ของคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์
อุวรรณโณ เป็นประธาน ตลอดจนสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน
๒. ขอสำเนาผลการวินิจฉัยว่ามีความผิดหรือไม่อย่างไร
๓. ขอสำเนามติสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าได้รับรองผลสอบสวนวิทยานิพนธ์แล้วหรือไม่ เมื่อใด
๔ ขอสำเนาหลักฐานการดำเนินการของจุฬาฯ ตามมติของสภาจุฬาฯ ในข้อ ๓
๕. หากจุฬาฯ ยังไม่ได้ดำเนินการในข้อ ๔ ขอให้จุฬาฯ เปิดเผยให้ทราบว่าจะดำเนินการเมื่อใด และอย่างไร
๖. ขอทราบรายนามอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนาย ณัฐพล ใจจริง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(ลงชื่อ) วิรังรอง ทัพพะรังสี
(นางวิรังรอง ทัพพะรังสี)

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตา ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ '1ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์' ผ่าน THACCA

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า

'อดีตบิ๊กศรภ.' จับผิดอีกจุด 'ขุนศึก ศักดินา กับ ความล้มเหลวของการปฏิวัติ 2475'

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ขุนศึก ศักดินา กับ “ความล้มเหลวของการปฏิวัติ 2475” มีเนื้่อหาดังนี้

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า