'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

“พัชรวาท” กาง 3 ข้อ วางแนวทางแก้ปมพิพาททับลาน ลั่นเซฟผืนป่า- เซฟประชาชน ขึงกฎเหล็ก ตัดวงจรนายทุน นักการเมืองไม่ให้มีเอี่ยว ห้ามล้ำเส้นกินพื้นที่ต้นน้ำ สัตว์ป่าอาศัย 
 
9 ก.ค.2567 - ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จสิ้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น ล่าสุด ได้ให้นโยบายให้กรมอุทยาน แห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดำเนินการเร่งด่วน คือ  1.ให้พิจารณาสิทธิ์ชาวบ้านในการถือครองที่ดิน สปก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุนนักการเมืองถือครองเด็ดขาด พิสูจน์สิทธิ์ให้ชัดเจน 2.ให้ความเป็นธรรมชาวบ้าน ที่อยู่มาดั้งเดิมกว่า 20 ปี เพื่อให้ได้รับสิทธิ์ที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน คาดว่ามีประมาณ 5 หมื่นไร่  3. การจัดสรรพื้นที่ให้ชาวบ้านทำกิน ต้องไม่ตัดผืนป่าอุดมสมบูรณ์ ห้ามตัดพื้นที่ต้นน้ำ หรือที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ ไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไปเพราะต้องรักษาผืนป่าไว้อาจพิจารณาตัดแบ่งเฉพาะที่ประชาชนอาศัยและทำกินอยู่ก่อนแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินการทุกอย่าง ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เป็นเรื่อง! เพจอาเซียน โชว์หราแผนที่ดินแดนทางทะเล เหมือนของกัมพูชาใน MOU44 เป๊ะ

เพจ ASEAN Megacity ซึ่งมีผู้ติดตามในอาเซียนประมาณ 2 พันคน ได้แชร์ภาพแผนที่ประเทศย่านอาเซียน พร้อมระบุข้อความว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป

'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ

เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง

กมธ.พลังงานจับตาตั้งคณะกรรมการ JTC

'กมธ.พลังงาน' ถกพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ห่วงเลิกสัมปทานเสียค่าโง่เอกชน จับตาตั้งคกก. JTC พร้อมแนะเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานร่วมวง

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั