'ไชยันต์' ยกกฎหมายฝรั่งเศสเทียบไทย ชี้แทรกแซงสถาบันมีโทษยุบพรรคตามกฎหมาย

15 ก.ย. 2567 – นายไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มารู้เรื่องการเมืองฝรั่งเศสกันครับ”

“พรรคหรือกลุ่มการเมืองในฝรั่งเศสจะถูกยุบ หากละเมิดกฎหมายข้อใด ?“

จากที่คุณณิเชลได้กรุณาอธิบายการยุบพรรคการเมืองในฝรั่งเศส (ดู #ณิเชลการเมืองฝรั่งเศส) โดยกล่าวว่า หากพรรคหรือกลุ่มการเมืองใดในฝรั่งเศสละเมิดมาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญ หรือ มาตรา 3 ในกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม

ในตอนนี้ ผมจะขอนำข้อความในมาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญ และ มาตรา 3 ในกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม มาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ

ในฝรั่งเศส พรรคการเมืองจะเป็นพรรคตามกฎหมายได้ จะต้องจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับสมาคม และจะต้องไม่ละเมิดมาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญหรือมาตรา 3 ในกฎหมายเกี่ยวกับสมาคม

มาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มีข้อความดังนี้:

Article 4
Political parties and groups shall contribute to the exercise of suffrage. They shall be formed and carry on their activities freely. They shall respect the principles of national sovereignty and democracy.
They shall contribute to the implementation of the principle set out in the second paragraph of article 1 as provided for by statute.

Statutes guarantee the pluralistic expression of opinions and the equitable participation of political parties and groups in the democratic life of the Nation.

ให้พรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองต่างๆ มีสิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้งได้ โดยมีการรวมตัวกันและดำเนินกิจกรรมได้อย่างเสรี ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยเคารพต่อหลักอำนาจ อธิปไตยของชาติและหลักประชาธิปไตย

พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองจะต้องสนับสนุนการดำเนินการตามหลักการที่กำหนดไว้ในวรรคสองของมาตรา 1 ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

กฎหมาย (พระราชบัญญัติ) ต่างๆให้หลักประกันการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่หลากหลายและการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ ในชีวิตอย่างประชาธิปไตยของชาติ

วรรคสองของมาตรา 1 มีข้อความดังนี้:
Statutes shall promote equal access by women and men to elective offices and posts as well as to professional and social positions.

กฎหมาย (พระราชบัญญัติ) ต่างๆ จะส่งเสริมการเข้าถึงตำแหน่งต่างๆและตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ตลอดจนตำแหน่งทางวิชาชีพและทางสังคมของสตรีและบุรุษ

มาตรา 3 ของกฎหมายเกี่ยวกับสมาคมของฝรั่งเศส (la loi du 1er juillet 1901) มีข้อความดังนี้:
Article 3: Any association founded on a cause or with unlawful objectives, contrary to the law, morality, or which aims to interfere with the interests of national territory and the republican form of Government, is null and void.

มาตรา 3 สมาคมใดๆ ที่ก่อตั้งขึ้นด้วยสาเหตุหรือวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม หรือมีจุดมุ่งหมายที่จะแทรกแซง/ขัดขวางผลประโยชน์ต่างๆของดินแดนแห่งชาติและรูปแบบของการปกครองแบบสาธารณรัฐ ถือเป็นโมฆะ

จะเห็นได้ว่า ประเทศฝรั่งเศสก็มีบทลงโทษยุบพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่แทรกแซง/ขัดขวางผลประโยชน์ของชาติฝรั่งเศสและรูปแบบการปกครองของฝรั่งเศส

แต่ละประเทศมีรูปแบบการปกครองของตน และมีรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกป้องรูปแบบการปกครองของตน
ในกรณีของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็มีกฎหมายปกป้องรูปแบบการปกครองที่ว่านี้ โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นสถาบันสำคัญสถาบันหนึ่งที่ขาดมิได้ของรูปแบบการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ดังนั้น พรรคหรือกลุ่มการเมืองใดที่แทรกแซง/ขัดขวางการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ถือว่าแทรกแซง/ขัดขวางการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ก็มีโทษยุบพรรคตามกฎหมาย

แต่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญมีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าระบอบสาธารณรัฐที่เป็นรูปแบบการปกครองที่ไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์

เพราะระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญมีทั้งการให้ความสำคัญต่อหลักและคุณค่าประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐที่ดำรงอยู่สืบเนื่องมายาวนานก่อนที่จะเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย
การธำรงไว้ซึ่งระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องปกป้องประคับประคองทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาให้เหมาะสมพอดี มิให้เทเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งจนทำให้ระบอบไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้

ไม่ว่าจะเป็นการเอียงไปทางสถาบันพระมหากษัตริย์มากจนเกินไปจนไม่มีความเป็นประชาธิปไตย

หรือเอียงไปทางประชาธิปไตยและระบบรัฐสภาสุดโต่งมากจนเกินไปจนกลายเป็นระบอบสาธารณรัฐ

ป.ล.
ผมได้เคยกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติ “การห้ามพรรคการเมืองกระทำการบางอย่าง และ การยุบพรรคการเมือง” ภายใต้อนุสัญญายุโรปไปแล้วใน FB วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ผู้สนใจโปรดดู #ยุบพรรคในยุโรป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน

ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี

'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ

ยุ่งแล้ว! ‘สนธิญา’ ชี้ ‘ทักษิณ’ รับเองแกนนำพรรคร่วมหม่ำมาม่า เข้าทางร้องยุบ พท.

‘สนธิญา’ ชี้ ทักษิณรับเองแกนนำพรรคร่วมหม่ำมาม่า มัดตัวเข้าหายอมให้ครอบงำ ชี้นำเข้าทางคนร้องเรียนยุบพรรคเพื่อไทย เห็นใจนายกฯอิ๊งค์ ปัญหารุมเร้า เชื่อหาก แม้ว หยุดจ้อ-รัฐบาลพูดน้อย เน้นทำงานน่าจะดีกว่า  

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย