17 ต.ค.2567 - น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มด้วยข้ออ้างเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน” ระบุว่า ข้ออ้างรัฐบาลเจรจาพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกันทางทะเลระหว่างไทย -กัมพูชาเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน เป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มโหฬารถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร
ไม่มีประเทศไหนที่จะมีพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกัน ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 26,000 ตารางกิโลเมตรอย่างกรณีนี้เลย
ขอให้ดูแหล่ง JDA พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย มาเลเซียมีขนาดพื้นที่เพียง 7,250 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นหากจะมีพื้นที่ที่ทับซ้อนกันจริงระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็ไม่ควรมีพื้นที่ใหญ่เกินกว่าแหล่ง JDA ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย กับ มาเลเซีย
รัฐบาลที่อ้างว่าสนิทชิดเชื้อกับผู้นำฝ่ายกัมพูชาควรเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมรับการเจรจาแบ่งเขตแดน ตามกฎหมายทะเลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน การจัดการผลประโยชน์ทางทะเล
การเจรจาแบ่งเขตแดน และแบ่งผลประโยชน์ตาม MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ย่อมมีข้อน่าสงสัยในเจตนาและความโปร่งใสของรัฐบาลว่าเป็นเจตนาดีต่อประเทศจริงหรือไม่ หรือสนใจเพียงผลประโยชน์ของนักการเมืองและกลุ่มทุนเท่านั้น ใช่หรือไม่
ใน MOU 2544 มีข้อตกลงว่าพื้นที่เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการแบ่งผลประโยชน์กัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์ไว้แล้ว คือส่วนที่ติดฝั่งไทยไทยได้ 90% กัมพูชาได้ 10% ตรงกลางแบ่งกัน 50:50 ส่วนที่ติดฝั่งกัมพูชา ไทยได้10% กัมพูชาได้90 % (ดูรูป 1))
การกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์เช่นนี้ ย่อมกระทบต่อดินแดนในอธิปไตยของไทยทั้งดินแดนส่วนที่อยู่เหนือ และอยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนืออย่างแน่นอน ใช่หรือไม่
การแบ่งเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์แบบในข้อตกลง MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ที่เส้นเขตแดนทางทะเลต้องลากเส้นกึ่งกลางจากเกาะกูดของไทย และเกาะกงของกัมพูชา (ดูรูป 2)
การแบ่งผลประโยชน์ตามรูปที่1 กัมพูชาจะสามารถอ้างสิทธิเป็นเจ้าของดินแดนเพิ่มขึ้นในภายหลังได้ ดินแดนที่เคยเป็นของไทยตามกฎหมายทะเล จะกลายเป็นดินแดนของกัมพูชา เพราะการมีผลประโยชน์แม้เพียง 10% ก็ย่อมสามารถอ้างสิทธิในดินแดนตรงจุดนั้นได้ ใช่หรือไม่
ข้ออ้างว่าต้องรีบเร่งแบ่งผลประโยชน์กันเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน แท้ที่จริงแล้วเป็นความมั่นคงทางพลังงานของใครกันแน่ ?!?
ต่อให้ได้ก๊าซและน้ำมันจากพื้นที่นี้ คนไทยก็ไม่มีหวังจะได้ค่าไฟที่ถูกลง ค่าน้ำมันที่ถูกลง และค่าก๊าซหุงต้มที่ถูกลง มีแต่นักการเมืองและกลุ่มทุนพลังงานจะรวยขึ้น แต่ประเทศต้องเสี่ยงในการเสียดินแดนเพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เป็นเรื่อง! เพจอาเซียน โชว์หราแผนที่ดินแดนทางทะเล เหมือนของกัมพูชาใน MOU44 เป๊ะ
เพจ ASEAN Megacity ซึ่งมีผู้ติดตามในอาเซียนประมาณ 2 พันคน ได้แชร์ภาพแผนที่ประเทศย่านอาเซียน พร้อมระบุข้อความว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ปลุกรุมบี้ 'รัฐบาลอิ๊งค์' ส่งศาล รธน. ชี้ขาด 'MOU 44'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ท่านที่ได้อ่านโพสต์ที่แล้วของผม คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับที่มาที่ไป
กมธ.พลังงานจับตาตั้งคณะกรรมการ JTC
'กมธ.พลังงาน' ถกพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ห่วงเลิกสัมปทานเสียค่าโง่เอกชน จับตาตั้งคกก. JTC พร้อมแนะเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานร่วมวง
'คำนูณ' เตือนอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย! ชี้ไทยไม่รับอำนาจศาลโลกมา 64 ปีแล้ว
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
'สมชาย' เห็นด้วยอดีตขุนคลังแจกเงินหมื่นเฟสสองเสี่ยงคุก!
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !