'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' วิเคราะห์ผลเจรจา 'มะกัน-รัสเซีย' ปมยูเครน

19 ก.พ.2568 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ว้าเหว่” ระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียและอเมริกาพบหารือกันที่ซาอุเรื่องความขัดแย้งยูเครนโดยไม่มียูเครนและอียูเข้าร่วม ใช้เวลาในการประชุม 4 ชั่วโมงกว่า

คณะตัวแทนของทั้งสองฝ่าย มีที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของทรัมป์และที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของปูตินมาร่วมประชุมด้วย ซึ่งกรอบการประชุมน่าจะครอบคลุมทุกเรื่อง

รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียเปิดเผยว่า ผลการหารือเป็นบวก ไม่ใช่ได้ยินแต่เป็นรับฟัง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดกรอบการทำงาน และแต่งตั้งคณะทำงานที่จะทำงานยุติความขัดแย้งยูเครนในอนาคต ประการสำคัญทั้งสองฝ่ายจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตที่ยุติไปตั้งแต่ปี 2022 และวางแผนงานที่จะให้ทรัมป์และปูตินได้พบกัน แต่ยังไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน

รัสเซียน่าจะได้บอกเงื่อนไขสำคัญในการยุติความขัดแย้งและการสู้รบ ยูเครนต้องไม่ได้เข้าร่วมนาโตเพราะเป็นภัยต่อความมั่นคงรัสเซีย และนาโตต้องไม่ขยายตัวมากไปกว่านี้ รวมทั้งต้องไม่มีกำลังทหารของนาโตหรือในนามอียูในยูเครน เพราะรัสเซียถือว่าเป็นการยั่วยุและทำให้กาสู้รบขยายตัว

รัสเซียเรียกร้องให้รื้อฟื้นการตั้งคณะทูตไปประจำทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการยกเลิกการแซงชั่นต่อรัสเซียและคืนทรัพย์สินทางการทูต diplomatic properties และอุปสรรคต่างๆที่ทำให้การทำงานยุ่งยาก

รูบีโอ รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกาได้เปิดเผยผลการหารือว่า ผลประชุมเป็นบวก ทั้งสองฝ่ายหารือถึงปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งรื้อฟื้นการติดต่อทางการทูต อเมริกาสนใจในการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ส่วนการยกเลิกการแซงชั่นรัสเซียคงต้องเป็นส่วนหนึ่งกระบวนการยุติความขัดแย้งยูเครน และต้องได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และอียูคงต้องร่วมด้วยเพราะอียูก็มีการแซงชั่นเช่นกัน การยุติความขัดแย้งต้องยุติธรรม ยั่งยืน และยอมรับได้จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ปฎิกิริยาของเซเลนสกีผู้นำยูเครนออกตัวมาก่อนเลยว่า จะไม่ยอมผลการเจรจาใดๆเรื่องยูเครนโดยที่ยูเครนไม่ได้ร่วมรับรู้ และขอให้นาโตส่งกำลังสองแสนคนเพื่อประกันความมั่นคงให้ยูเครน

ปฎิกิริยาจากอียูมีความเห็นไม่ตรงกัน เยอรมัน อิตาลี โปแลนด์ และสเปน ลังเลใจที่จะส่งทหารเข้าไปในยูเครน ในฐานะกองกำลังรักษาสันติภาพ ตามที่อังกฤษเสนอเพื่อให้มั่นใจว่ารัสเซียจะไม่บุกยูเครนอีก อังกฤษพร้อมและตั้งใจที่จะให้การรับประกันความมั่นคงต่อยูเครนและพร้อมส่งทหารอังกฤษเข้ายูเครน หากไม่มีอเมริการ่วมด้วย จะเป็นสงครามของอียูกับรัสเซีย

ปูตินเคยมีเงื่อนไขว่าจะไม่เจรจากับเซเลสกี เพราะไม่มีฐานะเป็นผู้นำยูเครน เพราะหมดวาระการเป็นประธานาธิบดีไปแล้ว ทรัมป์ก็เหมือนจะรับลูกและเห็นด้วยว่าต้องให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครนใหม่

เซเลนสกีคงเป็นเหมือนพัดลมที่ใครๆก็ส่ายหน้า ขอแต่เงินและอาวุธ ที่ไม่มีโอกาสชนะรัสเซีย

คงต้องหารือกันอีกหลายรอบ แต่ทุกฝ่ายคงอยากเลิกรบ เพราะบอบช้ำทั้งทางทหารและเศรษฐกิจ ตอนนั้คงต้องรอให้อเมริกาทำความเข้าใจกับอียูและยูเครนถึงผลการประชุมสุดยอด ข้อเรียกร้องจากฝั่งอียู

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' ชี้สหรัฐฯไม่อัปเดตข้อมูล ประณามไทยส่งอุยกูร์กลับจีน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่าตกใจ

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีสหรัฐอเมริกาจ่องดออกวีซ่าเจ้าหน้าที่ไทย ตอบโต้ผู้เกี่ยวข้องส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ว่า เรื่องนี้เกิดจากสหรัฐฯ ไม่มีข้อมูลที่อัพเ

นันทิวัฒน์ ชี้ไทยมีอธิปไตย หากอเมริกาไม่ทบทวน รัฐบาลไทยต้องทบทวนท่าที่ต่อสหรัฐบ้าง

การส่งกลับอุยกูร์ 40 กว่าคนในครั้งนี้ ไม่ใช่การบังคับ ส่งกลับ แต่เป็นความสมัครใจ ประการสำคัญ นี่คือกระบวนการของการนำพา และรับจ้างนำทางอุยกูร์ข้ามแดนเพื่อไปชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

'ทวี' ยันส่งอุยกูร์กลับจีน ตัดสินใจถูกต้องยึดประโยชน์ประชาชน เมินโต้ต่างชาติประณาม

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสภายุโรปลงมติประณามไทยส่งกลับอุยกูร์กลับว่า ขอให้รอฟังกระทรวงต่างประเทศชี้แจง ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีเอกราชและอธิปไตย

ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ

"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU