12 ก.พ.2565 - น.ส.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม.เขตบางซื่อ-ดุสิต พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้ครม.นำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่.. ) พ.ศ. …หรือที่เรารู้จักในนามร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ไปพิจารณาก่อนรับหลักการเป็นเวลา 60 วัน ว่า ส่วนตัวได้ปรึกษานอกรอบกับ ส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมทั้งผู้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน เพราะอยากสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมที่รับรองโดยกฎหมายอย่างถูกต้อง แต่เจอประเด็นที่ยังมีการถกเถียงโต้แย้งใหญ่ๆ 2 ประเด็น คือ
1.ผลกระทบต่อ พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะยังไม่มีการขึ้นทะเบียนผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ ทำให้รัฐไม่รู้จำนวนแน่ชัด ส่งผลให้การจัดทำงบประมาณฯ ที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ผลักดันให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ จัดทำงบที่คำนึงถึงความเท่าเทียมทางเพศ นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมัติคู่มือในการจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงมิติทางเพศ หรือ Gender Responsive Budgeting #GRB เพื่อสนับสนุนความเสมอภาคยิ่งขึ้น สวัสดิการรัฐที่ต้องให้แก่คู่สมรสเพศเดียวกัน แต่กระทรวงการคลัง ยังไม่สามารถกำหนดเพื่อจัดสรรงบประมาณได้
2. ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 นอกจากจะส่งผลให้การสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 นั้นยังคงทำได้เฉพาะระหว่างชายกับหญิงอยู่ต่อไป ผลของคำวินิจฉัยดังกล่าว ยังอาจนำไปสู่การตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศในอนาคต อย่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้กล่าวไว้ชัดแจ้งพอสมควรในหน้าที่ 9 ของคำวินิจฉัย ว่า"ความเสมอภาคในการจัดตั้งครอบครัวนั้นสามารถดำเนินการได้ โดยบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นมาใหม่เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนถึงกฎหมายหลักที่ได้วางรากฐานความเป็นสถานบันครอบครัวมาตั้งแต่อดีตกาล”
น.ส.ธณิกานต์ ระบุว่า โดย 2 ประเด็นหลักนี้ คงต้องใช้เวลาในการหาฉันทมติและแนวทางการปลดล็อก เพื่อให้เกิด การสมรสเท่าเทียม เช่น อาจต้องจัดการพิจารณาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายลูกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจมีกระบวนการล่าช้า แต่ด้วยกระแสและความตื่นตัวของสังคมไทยต่อ การสมรสเท่าเทียม อาจช่วยผลักดันให้สิทธิเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงการสมรสเท่าเทียมด้วยนั้น เกิดสำเร็จผลได้จริงและรวดเร็วขึ้น มาร่วมผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมทางกฎหมายแก่คนทุกเพศ และให้เกิดสังคมที่ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เด็กผู้หญิง และผู้มีความหลากหลายทางเพศ #genderequality
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วู้ดดี้' ปลื้ม! สมรสเท่าเทียมไทยดังไกลทั่วโลก
เดือนมกราคมนี้ในประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในเอเชียที่ยอมรับความเท่าเทียมทางเพศ เป็นประเทศแรกในอาเซียนและประเทศที่ 2 ในเอเชียที่ผ่านร่างกฎหมายสมรสของเพศเดียวกัน ทำให้ทั่วโลกต่างจับตามอง และสื่อยักษ์ใหญ่จากประเทศอังกฤษอย่าง The Sunday Times ก็เช่นกัน โดยวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ The Sunday Times ได้เผยข่าวใหญ่ว่า "วู้ดดี้ วุฒิธร" เตรียมจูงมือคู่ชีวิตเข้าสู่พิธีวิวาห์อย่างเป็นทางการ หลังไทยเตรียมประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียม
'อิ๊งค์' เปิดทำเนียบฯ ร่วมถ่ายภาพประวัติศาสตร์คู่รัก LGBTQ
ที่บริเวณสนามหญ้า หน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมบันทึกภาพประวัติศาสตร์เพื่อประชาสัมพันธ์ เนื่อง
'บิ๊กป้อม' ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบาย พปชร. ในสภาฯ
นางกาญจนา จังหวะ สส.ชัยภูมิ รองเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไดัลงนามคำสั่งพรรคพลังประชารัฐ ที่ 2 /2568 เรื่อง
พปชร.จี้รัฐบาลเคลียร์ให้ชัด เมียนมาไม่ปล่อย 4 ลูกเรือประมงไทยตามกำหนด
ที่รัฐสภา สส.พรรคพลังประชารัฐ นำโดย นายฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ สส.พังงา และรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ, นายชัย
'จักรภพ' จูงมือคู่ชีวิต พบ 'ทักษิณ' เชิญเป็นสักขีพยานจดทะเบียน 'สมรสเท่าเทียม'
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก และ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ (3 มกราคม) ตนพร้อมด้วย นายสุไพรพล ช่วยชู หรือ ป๊อบ คู่ชีวิต เดินทางเข้าพบ ดร.ทักษิณ ชินวัต
23ม.ค.สำนักทะเบียนทั่วประเทศ พร้อมให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
โฆษกมหาดไทย ยืนยัน 23 ม.ค. 68 นี้ สำนักทะเบียนทั่วประเทศพร้อมให้บริการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม