NASA เปิดตัวยุคใหม่แห่งการสำรวจ ปล่อย 'สเปซลอนช์ซิสเต็ม' สู่ดวงจันทร์แล้ว

นาซาปล่อยจรวด "สเปซลอนช์ซิสเต็ม (เอสแอลเอส)" สู่ดวงจันทร์สำเร็จแล้ว หลังเลื่อนมาหลายรอบ ท่ามกลางความตื่นเต้นของโครงการอวกาศยุคใหม่ที่ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ผู้ชมร่วมลุ้นการปล่อยจรวด"สเปซลอนช์ซิสเต็ม (เอสแอลเอส)" สู่ดวงจันทร์ หลังพุ่งทะยานออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดีของนาซา ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน (Photo by Jim WATSON / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2565 กล่าวว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ปล่อยจรวด "สเปซลอนช์ซิสเต็ม (เอสแอลเอส)" สู่ดวงจันทร์สำเร็จแล้วเมื่อวันพุธ ภายหลังเลื่อนจากกำหนดเดิมมา 2 ครั้งเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค

นาซาปล่อยจรวดที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาในการเดินทางไปยังดวงจันทร์ ท่ามกลางแสงและเสียงอันน่าตื่นตาตื่นใจ พร้อมสักขีพยานที่ร่วมยินดีกับความก้าวหน้าอีกขั้นในโครงการอาร์เทมิส (Artemis) ซึ่งเป็นโครงการเรือธงยุคใหม่ของหน่วยงานอวกาศสหรัฐฯ

จรวดยักษ์ขนาดความสูงเท่าตึก 32 ชั้น ถูกปล่อยออกจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 01.47 น. ตามเวลาท้องถิ่น (13.47 น. ตามเวลาประเทศไทย) ด้วยแรงขับจรวดสูงสุดเป็นสถิติใหม่ที่ 39.1 เมกะนิวตัน

สองชั่วโมงหลังปล่อยจรวด นาซาทำการอัพเดทข้อมูลว่า จรวดยักษ์กำลังอยู่ระหว่างการต้านแรงโน้มถ่วงของโลกและมุ่งหน้าบนเส้นทางสู่ดวงจันทร์

สหรัฐอเมริกาส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายในยุคโครงการอพอลโล ช่วงปี 2512-2515
และการเริ่มต้นนับหนึ่งโครงการอาร์เทมิสในคราวนี้ ได้รับการคาดหวังให้เกิดความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการสร้างสถานีอวกาศบนดวงจันทร์ เพื่อช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจสุดท้ายสู่ดาวอังคารในช่วงหนึ่งทศวรรษต่อจากนี้

มีรายงานว่า ผู้คนกว่า 100,000 คนมารวมตัวกันตามแนวชายฝั่งเพื่อเป็นสักขีพยานในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นาซา' นำเครื่องบินเก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย แก้ฝุ่นพิษในระยะยาว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)(NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วม NASA ศึกษาปัญหามลภาวะอากาศในไทย ภายใต้โครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality หรือ ASIA-AQ เก็บตัวอย่างอากาศเหนือน่านฟ้าไทย

ครั้งแรกกับหนังอวกาศไทย 'ยูเรนัส2324' ทุ่มทุนสร้างยาน-สถานีอวกาศเท่าของจริง!

เรียกเสียงฮือฮาให้กับแวดวงอุตสาหกรรมหนังไทยไม่น้อย เมื่อได้เห็นภาพยานอวกาศและสถานีอวกาศขนาดเสมือนจริงของภาพยนตร์ “URANUS2324” (ยูเรนัส2324) ที่นำแสดงโดย 2 นักแสดงหญิงสุดฮอต “ฟรีน-สโรชา จันทร์กิมฮะ” และ “เบคกี้-รีเบคก้า แพทริเซีย อาร์มสตรอง” ผลงานมาสเตอร์พีซโดยบริษัท เวลเคิร์ฟ สตูดิโอ กับการทุ่มทุนสร้างโปรดักชันฟอร์มยักษ์ที่สุดแห่งปี เพื่อถ่ายทำซีนบนยานอวกาศและสถานีอวกาศอย่างสมจริง