ชาวญี่ปุ่นร่วมรำลึกครบรอบ 12 ปี เหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

ประชาชนชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศร่วมยืนสงบนิ่งเพื่อระลึกถึงเหตุภัยพิบัติฟุกุชิมะเนื่องในวันครบรอบ 12 ปี ท่ามกลางกระแสเรียกร้องให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพิ่มขึ้น

ชาวญี่ปุ่นร่วมยืนสงบนิ่ง 1 นาที เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในวันครบรอบ 12 ปีของเหตุแผ่นดินไหว, สึนามิ และภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2554 บริเวณย่านช้อปปิ้งกินซ่า กลางกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม (Photo by STR / JIJI PRESS / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 กล่าวว่า ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศร่วมยืนสงบนิ่ง 1 นาที ในเวลา 14.46 น. ตามเวลาท้องถิ่น (12.46 น. ตามเวลาประเทศไทย) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ซึ่งรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ของโลก และแรงสั่นสะเทือนได้ทำลายล้างพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเมื่อ 12 ปีก่อน

แผ่นดินไหวที่เกิดใต้ทะเลทำให้เกิดสึนามิครั้งใหญ่ นำมาซึ่งการเสียชีวิตและสูญหายของผู้คนประมาณ 18,500 คน รวมทั้งน้ำท่วมใหญ่ถล่มโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิ จนระบบระบายความร้อนพังเสียหาย กลายเป็นหายนะนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์เชอร์โนบิล

ไม่มีการระบุผู้เสียชีวิตโดยตรงจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ ซึ่งหลังจากนั้นมีประชาชนประมาณ 165,000 คนย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่ภัยพิบัติไม่ว่าจะโดยสมัครใจหรือภายใต้คำสั่งอพยพ

แม้ในภายหลังพื้นที่ส่วนใหญ่รอบโรงไฟฟ้าได้รับการประกาศความปลอดภัยหลังจากดำเนินการกำจัดสิ่งปนเปื้อนอย่างเต็มรูปแบบ แต่ผู้อยู่อาศัยเดิมจำนวนมากเลือกที่จะไม่กลับไปอีก

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดของญี่ปุ่นหยุดทำงานหลังจากเกิดภัยพิบัติ และส่วนใหญ่ยังคงใช้งานไม่ได้ในปัจจุบัน

แต่วิกฤตพลังงานทั่วโลกที่จุดประกายจากสงครามในยูเครน และญี่ปุ่นกำลังเผชิญวิกฤติด้านพลังงานที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ทำให้ค่าไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นในประเทศ กระตุ้นให้รัฐบาลหวนกลับมาเร่งการฟื้นฟูอุตสาหกรรมนิวเคลียร์อีกครั้ง พร้อมพิจารณาสร้างเครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่ ขณะที่ผลสำรวจชี้ว่าความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์กำลังเอนเอียงไปในทิศทางเห็นด้วยกับรัฐบาล

นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกร้องให้หน่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นทำการตรวจสอบและอนุมัติให้เครื่องปฏิกรณ์ 7 เครื่องกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง พร้อมแนะนำให้ประเทศต่างๆ พิจารณาสร้างเครื่องปฏิกรณ์ "รุ่นต่อไป" ที่มีกลไกด้านความปลอดภัยแบบใหม่

การสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดยหนังสือพิมพ์รายใหญ่ อาซาฮี ชิมบุนและโยมิอูริ ชิมบุน แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนการรีสตาร์ทเครื่องปฏิกรณ์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2554

"รัฐบาลจะยังคงเป็นหัวหอกในการรื้อถอนโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิอย่างปลอดภัยและมั่นคง ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟู และถือเป็นความรับผิดชอบของเราในการส่งเสริมความพยายามในการสร้างประเทศที่ปลอดภัยพิบัติ" คิชิดะกล่าวในพิธีไว้อาลัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ข้องใจ! 'โชกุน' ทำตามออร์เดอร์ 'พญาอินทรีย์'

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุข้อความว่า น่าแปลใจไหมครับ ญี่ปุ่นให้รางวัลนี้กับ อ.ธงชัย ทั้งที่ญี่ปุ่นนี้ โค-ตะ-ร

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์