สิงคโปร์แขวนคอนักโทษลักลอบขนกัญชากว่า 1 กิโลกรัม

สิงคโปร์ประหารชีวิตนักโทษด้วยการแขวนคอ จากข้อหาลักลอบขนกัญชาเข้าประเทศน้ำหนักกว่า 1 กิโลกรัม ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนทักท้วงข้อบกพร่องในกระบวนการยุติธรรม

บริเวณหน้าศาลสูงในสิงคโปร์ (Photo by Roslan RAHMAN / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2566 กล่าวว่า ศาลสิงคโปร์ตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอต่อผู้ต้องหาในคดีลักลอบขนกัญชาน้ำหนักกว่า 1 กิโลกรัม เข้าประเทศ

"ทังการาจู ซุปเปียห์ ชาวสิงคโปร์ วัย 46 ปี ได้รับโทษแขวนคอเรียบร้อยแล้วในวันนี้ ที่เรือนจำชางงี" โฆษกของเรือนจำสิงคโปร์บอกกับเอเอฟพี

"ทังการาจูถูกศาลตัดสินโทษในปี 2560 ด้วยข้อหาสนับสนุนและสมรู้ร่วมคิดกับการลักลอบขนกัญชาน้ำหนัก 1,017.9 กรัม ซึ่งมากเป็นสองเท่าของปริมาณขั้นต่ำสำหรับโทษประหารชีวิตในสิงคโปร์" โฆษกฯกล่าวเสริม

ในปี 2561 ทังการาจูยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลก็ยังคงยืนคำตัดสินเดิมให้มีการประหารชีวิต ขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนอ้างว่าพบเห็นจุดบกพร่องหลายอย่างในกระบวนการยุติธรรมของคดีนี้

สิงคโปร์ปฏิเสธคำร้องขอของสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ต้องการให้พิจารณาโทษใหม่อย่างเร่งด่วน

ทางการสิงคโปร์ยืนยันว่าคดีของผู้ต้องหารายนี้ได้รับการพิจารณาด้วยความยุติธรรมตามหลักสากล และความผิดของเขาได้รับการพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยอันสมเหตุสมผล

กระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์กล่าวว่า "หลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเขาเป็นผู้ประสานงานในการส่งยาเสพติดเพื่อวัตถุประสงค์ในการค้า"

ประเทศศูนย์กลางการเงินแห่งเอเชียแห่งนี้มีกฎหมายปราบปรามยาเสพติดที่เข้มงวดที่สุดในโลก และยืนยันว่าโทษประหารชีวิตยังคงเป็นมาตรการยับยั้งการลักลอบค้ายาเสพติดอย่างได้ผล

ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เฝ้าติดตามตรวจสอบคดีนี้มาตลอดเผยว่า หลักฐานที่กระบวนการยุติธรรมสิงคโปร์ใช้ดำเนินการกับผู้ต้องหานั้นยังห่างไกลจากความชัดเจน เนื่องจากผู้ต้องหาไม่เคยแตะต้องกัญชาที่เป็นของกลาง นอกจากนี้เขายังถูกตำรวจสอบสวนโดยไม่มีทนายความ และถูกปฏิเสธการร้องขอล่ามภาษาทมิฬ

ฮิวแมนไรต์วอตช์และแอมเนสตี้แถลงว่า โทษประหารด้วยการการแขวนคอสร้างความกังวลอย่างมากว่าสิงคโปร์กำลังสนุกสนานกับกระบวนการยุติธรรมในทางที่ผิด

กลุ่มสิทธิมนุษยชนกดดันสิงคโปร์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต และองค์การสหประชาชาติระบุว่า การกระทำดังกล่าวไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นการยับยั้งอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพในโลกสากล และไม่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

สิงคโปร์กลับมาใช้โทษประหารชีวิตอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2565 หลังห่างหายไป 2 ปี ขณะที่โทษประหารด้วยการแขวนคอล่าสุดถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และเป็นครั้งที่ 12 นับตั้งแต่ปีที่แล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แอมเนสตี้ ชี้ออกหมายจับนักข่าวและช่างภาพสั่นคลอนเสรีภาพสื่อ

จากกรณีที่ผู้สื่อข่าวประชาไท-ช่างภาพอิสระถูกจับกุม วันที่ 12 ก.พ. 2567 เนื่องจากการรายงานข่าวนักกิจกรรมพ่นสีกำแพงวัง เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566

'ชาดา' ทุบ แอมเนสตี้ฯ

นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีแอมเนสตี้ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายอานนท์ นำพา นักกิจกรรมและทนายความ ถือว่า

แอมเนสตี้ เรียกร้องหยุดปิดกั้นเด็กใช้เสรีภาพแสดงออก ชุมนุมประท้วงโดยสงบ

‘วันเด็กแห่งชาติ (Children’s Day)’ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์

ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯคุมพฤติกรรม 'แอมเนสตี้' หยุดก้าวก่ายกิจการภายในไทย

ที่รัฐสภา ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัลลังก์ นำโดย นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส