พลังงานนิวเคลียร์ จะกลับเข้าสู่นโยบายหลักของสหภาพยุโรปอีกครั้ง

AFP

เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การเริ่มต้นของยุคนิวเคลียร์ใหม่ได้รับการประกาศในปารีส รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของฝรั่งเศสระดมพันธมิตรนิวเคลียร์ในยุโรป ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมารัฐมนตรีของประเทศที่สนใจเรื่องนี้ได้เจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรอบนอกการประชุมของสหภาพยุโรป และตอนนี้มีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 15 ประเทศไปรวมตัวกันที่ปารีส ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชาคมร่วม

ในบรรดาประเทศเหล่านั้นมีอิตาลีรวมอยู่ด้วย ทั้งที่ความจริงแล้วอิตาลีได้บอกลาพลังงานนิวเคลียร์ไปนานแล้ว อันเป็นผลจากการลงประชามติในทศวรรษ 1980 ยามนี้รัฐมนตรีบางคนกำลังชงเรื่องให้อิตาลีหวนกลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง ซึ่งประเด็นนี้ยังคงสร้างความแตกแยกในชนชั้นนำทางการเมือง ทว่านับตั้งแต่ราคาพลังงานพุ่งสูงขึ้นเมื่อปีที่แล้ว นักการเมืองประชานิยมฝ่ายขวาอย่าง มัตเตโอ ซัลวินี ก็กลับมาเปิดประเด็นเรื่องนิวเคลียร์อีกครั้ง

ฝรั่งเศส-ซึ่งใช้ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 70 จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ-เป็นแกนนำ สหราชอาณาจักรเองก็กำลังมุ่งเน้นไปที่การขยายตัวของพลังงานนิวเคลียร์ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเยอรมนีที่เพิ่งปิดสวิตช์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เพิ่งมีทีท่าว่าจะนำมันกลับมาทบทวนใหม่ หรือประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกพลังงานลมและไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเดนมาร์ก ก็เริ่มมีการถกเถียงกันถึงเรื่องนิวเคลียร์ ในขณะที่ลักเซมเบิร์กและออสเตรีย เป็นสองประเทศพันธมิตรที่คัดค้านการสนับสนุนเพิ่มเติมสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ในสภายุโรป

วันนี้พลังงานนิวเคลียร์กำลังถูกผลักดันเพื่อกลับเข้าสู่กระแสหลักของการอภิปรายด้านโยบายพลังงานของยุโรป แม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมีบทบาทสำคัญในการผลิตไฟฟ้า แต่อุตสาหกรรมก็เป็นฝ่ายตั้งรับมาตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาเหตุของการกลับมานั้นเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นเป้าหมายของสหภาพยุโรปในปี 2030-2050 รวมถึงสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุขึ้นมาในปี 2022

หากไม่มีพลังงานนิวเคลียร์ สหภาพยุโรปจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายปี 2030 ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิร้อยละ 55 และทำให้เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งใหม่ด้วยเช่นกัน

แถลงการณ์ร่วมในปารีสระบุถึงข้อกำหนดแผนการใหญ่ที่ยังคลุมเครือสำหรับอนาคตของพลังงานนิวเคลียร์ ภายในปี 2050 กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของสหภาพยุโรปอาจเพิ่มขึ้นเป็น 150 กิกะวัตต์ จาก 100 กิกะวัตต์ในปัจจุบัน แต่เพื่อให้เป็นไปตามเป้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างปลอดภัย จะต้องออกแบบสร้างเครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่เพิ่มอีก 30-45 เครื่อง และเครื่องปฏิกรณ์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็กจะต้องได้รับการพัฒนาในสหภาพยุโรป

ทุกวันนี้สหภาพยุโรปได้ลดสัดส่วนการนำเข้านั้น ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินจากรัสเซียอย่างรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังต้องพึ่งพาแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อยู่ดี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลแนะผู้ประกอบการไทยปรับตัว ปฏิบัติตามกฎตลาดโลก

รัฐบาลเสริมความเข้มแข็งสินค้าไทย ให้เท่าทันกฎระเบียบของทุกตลาด แนะผู้ประกอบการปรับตัว หลังสเปนจ่อออกกฎใหม่ เครื่องดื่มพสาสติกต้องใช้ฝาแแบยึดกับขวด

'เศรษฐา' ปาฐกถาพิเศษ จ่อหารือ 'มาครง' ดูโรงงานนิวเคลียร์ ลั่น ต้องมองหาโอกาส

'เศรษฐา' ปาฐกถาพิเศษ รัฐบาลมีอำนาจ แต่ทำคนเดียวไม่ได้ ทุกหน่วยงาน ไม่เว้นองค์กรอิสระต้องช่วยกัน เผย เตรียมหารือทวีภาคี 'มาครง' ไปดูโรงงานนิวเคลียร์ ลั่น ต้องมองหาโอกาส สร้างอนาคตที่สดใสให้ภาคอุตสาหกรรมไทย

'มาม่า' สยายปีกบุกยุโรปเต็มสูบ

ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ สยายปีกต่างประเทศ ทุ่มงบขยายกำลังการผลิต จ่อบุกตลาดยุโรปเต็มสูบ เร่งดันสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 40% ภายใน 2 ปี ชี้การปรับราคาขายส่งผลความสามารถทำกำไร 7-8%