คณะกรรมาธิการอียูคุมเข้ม 'Booking.com' และบริษัทดิจิทัลขนาดใหญ่

AFP

คณะกรรมาธิการอียูในกรุงบรัสเซลส์ต้องการจำกัดอำนาจทางการตลาดของบริษัทดิจิทัลขนาดใหญ่ด้วยกฎหมายสำหรับตลาดดิจิทัล DMA ขณะนี้แพลตฟอร์มการเดินทางอย่าง Booking.com จำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขที่ยุติธรรมมากขึ้นให้กับผู้ใช้บริการ

เนื่องจากอำนาจทางการตลาดที่สูง ในอนาคตแพลตฟอร์ม Booking.com จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นในสหภาพยุโรป ตามมติของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป บริษัทอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการตลาดดิจิทัล DMA (Digital Markets Act) ซึ่งสภายุโรปต้องการจำกัดอำนาจทางการตลาดของบริษัทดิจิทัลขนาดใหญ่ แต่ละพอร์ทัลจะต้องสร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมมากขึ้นสำหรับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการโรงแรมที่พัก

ใครก็ตามที่จองที่พักผ่าน Booking.com ควรมี “ทางเลือกและอิสระมากขึ้น” ในอนาคต คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปยังได้ประกาศด้วยว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวจะต้องมีข้อเสนอที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม ข้อเสนอดังกล่าวหมายถึงการมีอิสระในการเลือกมากขึ้น เมื่อพูดถึงเงื่อนไขการจองและการยกเลิก

ในขณะเดียวกันทาง Booking.com แถลงว่าบริษัทคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วเกี่ยวกับการตัดสินใจของบรัสเซลส์ ดังนั้นแพลตฟอร์มจะ “ทำงานอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปต่อไป เพื่อหาทางออกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ”

เทียร์รี เบรตัน-กรรมาธิการตลาดภายในของสหภาพยุโรปชี้แจงว่า บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในอัมสเตอร์ดัมนับเป็น “ผู้เล่นสำคัญ” ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของยุโรป แต่บรัสเซลส์จะตรวจสอบให้แน่ใจว่า บริษัทปฏิบัติตามพันธกรณีของ DMA อย่างจริงจัง ขณะนี้ Booking.com มีเวลาหกเดือนในการดำเนินการนี้ รวมถึงบริษัทจะต้องส่งรายงานโดยละเอียดไปยังคณะกรรมาธิการฯ

นอกจาก Booking.com แล้ว บรัสเซลส์กำลังตรวจสอบด้วยว่า บริการออนไลน์ X อยู่ภายใต้กฎหมายหรือไม่ บริษัทของอีลอน มัสก์-มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน แย้งว่าบริการดังกล่าวไม่ได้ใช้อำนาจทางการตลาดใดๆ แม้ว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เนื่องจากยังมีทางเลือกอื่นที่เพียงพอ เช่น แพลตฟอร์ม Threads หรือ Mastodon

ด้วยกฎหมายสำหรับตลาดดิจิทัล สหภาพยุโรปยังต้องการจำกัดอำนาจทางการตลาดของ ‘Gatekeeper’ หรือผู้เฝ้าประตูอินเทอร์เน็ตด้วย สมมติฐานพื้นฐานคือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มขนาดใหญ่มีอำนาจมากจนสามารถรักษาตำแหน่งทางการตลาดของตนได้ ดังนั้น DMA ควรจะทำลายกฎนี้ด้วยการสร้างกฎเกณฑ์เพื่อรับประกันการแข่งขันในบริการดิจิทัลที่มากขึ้นและเปิดโอกาสให้กับคู่แข่งขันรายใหม่

กฎเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคมสำหรับบริษัทแม่อย่าง Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance (บริษัทแม่ของ TikTok), Meta และ Microsoft ตัวอย่างเช่น กฎหมายกำหนดให้ Apple อนุญาตให้มีทางเลือกอื่นแทน App Store หรือ Google จะไม่สามารถให้ความสำคัญกับบริการของตนเองในผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหาอีกต่อไป

ระหว่างนี้ Apple, Google และ Meta กำลังถูกฟ้องร้องเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎใหม่ หากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง บริษัทเหล่านี้อาจต้องโทษปรับมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายประจำปีทั่วโลก สำหรับมาตรการขั้นสุดท้าย คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปยังสามารถสั่งให้เลิกกิจการก็ได้. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทนายอานนท์' ชี้เป้า! ร่อนจดหมาย ขอรัฐสภายุโรปงดวีซ่าผู้เกี่ยวข้องบังคับใช้ ม.112

"อานนท์ นำภา" ทนายความและอดีตแกนนำม็อบราษฎร ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 โพสต์ข้อความระบุว่า จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภายุโรป

'ทักษิณ' ชี้สหรัฐฯไม่อัปเดตข้อมูล ประณามไทยส่งอุยกูร์กลับจีน ไม่ใช่เรื่องใหญ่อย่าตกใจ

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีสหรัฐอเมริกาจ่องดออกวีซ่าเจ้าหน้าที่ไทย ตอบโต้ผู้เกี่ยวข้องส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ว่า เรื่องนี้เกิดจากสหรัฐฯ ไม่มีข้อมูลที่อัพเ

'ทวี' ยันส่งอุยกูร์กลับจีน ตัดสินใจถูกต้องยึดประโยชน์ประชาชน เมินโต้ต่างชาติประณาม

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสภายุโรปลงมติประณามไทยส่งกลับอุยกูร์กลับว่า ขอให้รอฟังกระทรวงต่างประเทศชี้แจง ทั้งนี้ประเทศไทยเรามีเอกราชและอธิปไตย

ผู้นำฝ่ายค้าน ห่วงภาพลักษณ์ไทย ชี้ต้องยึดหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนจะพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจ

"เท้ง" ห่วงภาพลักษณ์ไทย หลังสหรัฐฯ คว่ำบาตรจำกัดวีซ่าเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชี้หากยึดหลักสิทธิมนุษยชน ประเทศไหนก็ว่าไทยไม่ได้ เตือนอย่าใช้วิธีเจรจาหลังบ้าน หลัง “ทักษิณ” แนะคุยทูต EU

สั่งรัฐบาลเรียกทูตอียูแจงปมอุยกูร์

“ทวี” เชื่อ กต.มีแผนรับมือหลังอียูประณามไทยปมส่งกลับอุยกูร์ “ปชน.” ได้ทีขย่ม รีบบอกให้รัฐบาลขยับเรื่องมาตรา 112 “นันทนา” จี้อธิบายต่อสังคมโลกให้ดี

พ่อนายกฯ ลั่นต้องเชิญทูต EU มาเคลียร์ ขังชาวอุยกูร์ 10 ปี ไม่มีประเทศไหนขอตัวไป

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภายุโรปประณามการส่งชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน และเตรียมออกมาตรการการกดดันทางการค้า