ศาลเยอรมนีมีคำพิพากษาเมื่อวันพฤหัสบดี ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอดีตพันเอกชาวซีเรียฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ จากประวัติในอดีตที่คุมหน่วยข่าวกรองซีเรียและรับผิดชอบต่อการสังหารเหยื่อในศูนย์กักขังเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก่อนที่เขาจะหนีมาขอลี้ภัยที่เยอรมนี

คดีนี้ได้รับการยกย่องจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนกว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ โดยเป็นคดีแรกในโลกที่อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลประธานาธิบดีบาชาร์ อัลอัสซาด ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
รายงานเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565 กล่าวว่า อันวาร์ รัสลาน อดีตพันเอกวัย 58 ปี ถูกตัดสินว่ามีความผิดจากการเป็นผู้ควบคุมการฆาตกรรม 27 คน ที่ศูนย์คุมขังอัลคาติบในกรุงดามัสกัส ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "สาขา 251" ระหว่างปี 2544-2545
รัสลานหนีมาขอลี้ภัยที่เยอรมนีภายหลังแปรพักตร์จากรัฐบาลซีเรียเมื่อปี 2545 โดยข่าวกล่าวว่า เขาไม่เคยพยายามปิดบังอดีต และเคยเปิดเผยกับตำรวจเยอรมนีเกี่ยวกับชีวิตของเขาในซีเรียเมื่อครั้งที่เขาขอความคุ้มครองจากตำรวจในกรุงเบอร์ลินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548
อัยการเยอรมนีกล่าวหาชายผู้นี้ว่าควบคุมการฆาตกรรมผู้คน 58 คน และทรมานคนอีก 4,000 คน ที่ศูนย์กักขังดังกล่าว แต่ไม่สามารถพิสูจน์การเสียชีวิตของเหยื่อได้ครบทุกราย
อันเนอ แคร์เบอร์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ กล่าวว่า ระบอบของซีเรียใช้ความรุนแรงและใช้อาวุธอย่างหนักเพื่อปราบปรามการประท้วงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2544 เหยื่อที่ถูกคุมขังในศูนย์ต่างๆ ไม่เพียงถูกทรมาน แต่ยังถูกทำให้อดอาหาร ขาดอากาศหายใจในห้องขังที่แออัดไม่ถูกสุขลักขณะ ที่พวกเขาไม่สามารถนั่งหรือนอนได้
เคนเนธ รอธ จากกลุ่มฮิวแมนไรต์วอตช์ ซึ่งมอบหลักฐานบางอย่างในการพิจารณาคดีนี้ด้วย กล่าวที่เจนีวาว่า คำตัดสินคดีนี้เป็นประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง
มีพยานมากกว่า 80 ปาก รวมถึงผู้แปรพักตร์ 12 คน และหญิงชายชาวซีเรียจำนวนมากที่อาศัยอยู่ทั่วยุโรปในปัจจุบัน มาให้การในคดีนี้
รัสลานถูกนำตัวเข้าสู่การพิจารณาคดีเมื่อเดือนเมษายน 2563 พร้อมกับไอยัด อัลการิบ จำเลยอีกคนที่มียศต่ำกว่าเขา และถูกกล่าวหาว่าให้การช่วยเหลือในการจับกุมผู้ประท้วงและส่งตัวเข้าศูนย์คุมขังแห่งนี้ การิบถูกตัดสินจำคุก 4 ปีครึ่งเมื่อปีที่แล้ว ฐานร่วมกระทำความผิดในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งเป็นคำตัดสินคดีแรกในโลกที่เกี่ยวข้องกับการทารุณทรมานโดยรัฐบาลของอัสซาด
เยอรมนีดำเนินคดีกับชาย 2 คนนี้โดยอาศัยหลักกฎหมายเขตอำนาจศาลตามหลักสากล ที่อนุญาตให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแม้พวกเขาจะกระทำไว้ในประเทศอื่น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ซีเรียกลับสู่สันนิบาตอาหรับ ชัยชนะกลับมาเป็นของ 'บาชาร์ อัล-อัสซาด' อีกครั้ง
เมื่อปี 2011 ซีเรียถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับ หลังจากบาชาร์ อัล-อัสซาดปราบปรามกลุ่มประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย จนถึงทุกวันนี้สงครามกลางเมืองในซีเรียยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงอย่างสมบูรณ์
หลังแผ่นดินไหวในซีเรีย ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
เกือบสามเดือนแล้วหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เจ้าหน้าที่พลเรือนรายงานว่าการรื้อถอนและก่อสร้างอาคารบ้านเรือนใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียยังเป็นเรื่องที่ไกลเกินคาดคิด ประชาชนในท้องถิ่นยังจมปรักอยู่กับความทุกข์
เล่นดีจบไม่คม! 'ช้างศึก' ชุดใหญ่ อุ่นเครื่องพ่าย 'ซีเรีย' 1-3
วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 01.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ Shabab al ahli ( al mamzer) การแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทิน ฟีฟ่า เดย์ ทีมชาติไทย ทีมอันดับ 111 ของโลก พบกับ ซีเรีย ทีมอันดับ 90 ของโลก
'มาโน'ยอมรับศูนย์หน้าซีเรียอันตราย เน้นย้ำลูกทีมเล่นตามแท็กติกที่ซ้อม
วันที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ที่ ชะบ๊าบ อัล อาห์ลี (อัล มัมซาร์) สเตเดียม ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฟุตบอลชายทีมชาติไทยชุดใหญ่ ฝึกซ้อมเพื่อครั้งสุดท้ายเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทินฟีฟ่าเดย์ กับทีมชาติซีเรีย
'มาดามแป้ง'เผยช้างศึกไร้ปัญหา พร้อมบู๊ซีเรีย 'ดูไบ'อยู่ดีกินดี มีอาหารไทย
“มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมชาติไทย เปิดเผยว่าทัพช้างศึก ไม่มีปัญหาในเรื่องการปรับตัวใด ๆ ที่ ดูไบ ประเทศยูเออี ทำให้มีความพร้อมเต็มที่ ก่อนพบกับ ซีเรีย ทีมอันดับ 90 ของโลก ในเกมอุ่นเครื่องช่วง ฟีฟ่า เดย์ วันที่ 25 มีนาคมนี้
IRPC สนับสนุนความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวในตุรเคียและซีเรีย
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC โดย คุณอาริสรา สุธาสุทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกิจการองค์กร เป็นผู้แทนบริษัทฯ พร้อมด้วยทีมงานกิจการสัมพันธ์ IRPC