ชี้ 'ซิโนแวค' 2 เข็มแล้วบูสต์ด้วยวัคซีนต่างชนิดกระตุ้นภูมิได้มากขึ้น

ผลการศึกษาจากบราซิลและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเผยเมื่อวันจันทร์ว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายของซิโนแวค 2 โดส แล้วบูสต์ด้วยวัคซีนต่างชนิด เช่นของแอสตร้าเซนเนก้าหรือไฟเซอร์ สามารถเพิ่มระดับสารภูมิต้านทานในร่างกายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Getty Images

รายงานรอยเตอร์เมื่อวันจันทร์ที่ 24 มกราคม 2565 อ้างผลการศึกษาของนักวิจัยจากบราซิลและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจากอังกฤษที่รวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัคร 1,240 คนในเมืองเซาเปาลูและซัลวาดอร์ของบราซิล ที่พบว่า วัคซีนโคโรนาแวคของบริษัท ซิโนแวค จากจีน สร้างสารภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นได้ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงภูมิต้านทานไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน เมื่อได้รับการฉีดโดสกระตุ้นภูมิโดสที่ 3 โดยใช้วัคซีนที่เป็นชนิดที่่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ เช่นแอสตร้าเซนเนก้าและจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ เช่น ไฟเซอร์-ไบออนเทคและโมเดอร์นา

วัคซีนซิโนแวคนั้นใช้ไวรัสเชื้อตายหรือไวรัสที่หมดฤทธิ์แล้ว ซึ่งได้จากผู้ป่วยโควิด-19 ในจีน วัคซีนชนิดนี้ได้รับการอนุมัติในมากกว่า 50 ประเทศ อาทิ บราซิล, จีน, อาร์เจนตินา, แอฟริกาใต้, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ตุรกี และรวมถึงไทย

แอนดรูว์ พอลลาร์ด ผู้อำนวยการออกซ์ฟอร์ดวัคซีนกรุ๊ป และเป็นผู้นำการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ให้ทางเลือกที่สำคัญสำหรับผู้ที่กำหนดนโยบายของหลายประเทศที่ใช้วัคซีนเชื้อตาย

อย่างไรก็ดี รอยเตอร์กล่าวว่า มีผลการศึกษาอีกชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคมที่พบว่า การฉีดซิโนแวค 2 โดส แล้วฉีดกระตุ้นภูมิด้วยวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์โอมิครอนได้ต่ำกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

การศึกษาล่าสุดพบด้วยว่า การฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยซิโนแวคเป็นโดสที่ 3 เพิ่มสารภูมิต้านทานในร่างกายด้วยเช่นกัน แต่การใช้วัคซีนต่างชนิดให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk

กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

เครือ BDMS นำร่อง รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จับมือ แอสตร้าเซนเนก้า ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19